กฤษฎีกา เชื่อไร้ปัญหาเปลี่ยนสัญญาซื้อเรือดำน้ำ-รัฐบาลยังไม่ได้ถามแจกเงินหมื่น

“ปกรณ์ นิลประพันธ์” ระบุ รัฐบาลยังไม่ได้ถาม ปมใช้เงิน ธ.ก.ส. ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต คาด รอให้เรื่องเรียบร้อยก่อน ยังไม่ส่งตรวจข้อกฎหมายเปลี่ยนสัญญาซื้อเรือดำน้ำ บอก เหมือนการจัดซื้อจัดจ้างปกติ แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ เชื่อ ไม่น่ามีปัญหาอะไร

วันที่ 9 ก.ค. 2567 เมื่อเวลา 08.55 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีรัฐบาลสอบถามเรื่องการใช้งบประมาณ จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือยัง ว่า ยังไม่ได้ส่งเรื่องมา เข้าใจว่าต้องรอให้เรื่องเรียบร้อยก่อน ส่วนที่นายกรัฐมนตรีจะมีการแถลงในวันที่ 24 ก.ค.นี้นั้น ตนไม่ทราบ ต้องไปถามกระทรวงการคลัง ส่วนที่ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ระบุว่ามีแผนสอง แผนสาม หากใช้เงินจาก ธ.ก.ส.ไม่ได้จะต้องมาถามคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่นั้น เรื่องนี้ตนไม่ทราบ 

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นงบประมาณที่ดึงมาจากเงินส่วนอื่น ต้องถามคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า หากเป็นงบประมาณปกติไม่ต้องถามให้บริหารตามปกติไป ส่วนจะใช้งบกลางได้หรือไม่นั้นถ้าเข้าเกณฑ์ก็สามารถใช้ได้ ต้องถามทางสำนักงบประมาณ เมื่อถามย้ำว่า หากจะใช้งบกลางต้องเป็นโครงการฉุกเฉิน โครงการดังกล่าวฉุกเฉินหรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวมีหลักเกณฑ์การใช้ สำนักงบประมาณเป็นผู้ดูแล และหากจะใช้ก็ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องดูเป็นกรณีไป แต่หากจำเป็นต้องใช้งบประมาณของ ธ.ก.ส. ก็ต้องถามมา แต่ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องถาม ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนจะนำเรื่องเข้าสู่พิจารณาการประชุมครม. ในวันที่ 30 ก.ค. จะต้องมีการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนหรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องแล้วแต่ทางอนุกรรมการโครงการดังกล่าวจะมีการสอบถามมาก่อนหรือไม่ ซึ่งเหมือนครั้งก่อนที่คณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ก็มีการถาม

...

นายปกรณ์ ยังกล่าวถึงกรณีเปลี่ยนแปลงสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างเรือดำน้ำ ว่า ขณะนี้ยังไม่มีการส่งคำถามมายังคณะกรรมการกฤษฎีกา ถ้ามีอะไรอยู่ที่ตน ตนก็บอกว่ามี ถ้าไม่มีก็บอกว่าไม่มี ไม่ได้โกหกอะไร ไม่มีความลับ เรือดำน้ำลำใหญ่จะตาย ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาจะดูในเรื่องข้อกฎหมายเท่านั้นใช่หรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า ถ้ามีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายเราก็จะดู ส่วนเรื่องความจำเป็นทางยุทธการก็เป็นเรื่องของทหารเรือ ของกระทรวงกลาโหมและรัฐบาล เมื่อถามว่า กรณีที่ไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงไว้ คณะกรรมการกฤษฎีกาสามารถให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะอะไรกับรัฐบาลได้หรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า ก็เหมือนกับการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขสัญญาก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามันเป็นไปตามหลักการปกติของสัญญา ซึ่งเหมือนกับการซื้อของปกติ ไม่มีปัญหาอะไร เมื่อถามถึงกรณีการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ ที่ห้ามมีการฟ้องร้อง คณะกรรมการกฤษฎีกาจะต้องดูเรื่องกฎหมายให้ละเอียดใช่หรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า ไม่น่ามี ถ้ามีน่าจะเป็นปัญหาใหญ่ คงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร คงจะดูกันเรียบร้อยแล้ว.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...