ดีอีหนุน 'เอ็นที' แบ่งเค้กมูลค่าตลาดคลาวด์ภาครัฐแสนล้านบาท

หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) เข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลักของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลตามหมวด 5

ภายในขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการเฉพาะด้าน เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการวางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยการนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล ทำให้ประชาชนสามารถรับการบริการจากรัฐได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งส่งเสริมการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (National Cloud) ต่อไป

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า บอร์ด Cloud First Policy จะเข้ามากำหนดราคากลางการจัดซื้อจัดจ้างคลาวด์ สำรวจความต้องการใช้งานคลาวด์และการกำหนดราคากลาง

โดยแบ่งตามประเภทการใช้งานคลาวด์ 4 ประเภท ได้แก่

  • 1.คลาวด์เพื่อความมั่นคงของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII)
  • 2.คลาวด์เพื่อเก็บข้อมูลภาครัฐและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลสร้างบริการต่อประชาชนได้
  • 3.คลาวด์เพื่อเก็บข้อมูลแบบสตอเรจ
  • 4. คลาวด์สำหรับข้อมูลที่ต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง

โดยจะเป็นการต่อยอดยกระดับเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ภาครัฐ (GDCC) ที่ให้บริการครบถ้วน สามารถส่งเสริมการทำงานของรัฐบาลดิจิทัลที่เต็มรูปแบบ ครอบคลุมทั้งในด้านบริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) บริการแพลตฟอร์ม (PaaS) และ บริการซอฟต์แวร์ (SaaS) โดยเฉพาะล่าสุดการเปิดบริการ Market place แหล่งรวมบริการซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน และแฟลตฟอร์มที่หลากหลายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งช่วยให้การทำงานสะดวกรวดเร็ว ตลอดจนพัฒนาบริการและแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รวมถึงต่อยอดการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพสอดคล้องกับ Cloud First เพื่อให้เป็นคลาวด์กลางภาครัฐที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ GDCC รัฐบาลได้ลงทุนเบื้องต้นไปแล้วประมาณกว่า 4,000 ล้านบาท และในปี 2567 มีการลงทุนเพิ่มอีก 6,000 ล้านบาท

“ทั้งนี้นโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลักจะช่วยเปิดโอกาสให้เอกชนผู้ให้บริการคลาวด์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น อาลีบาบา , กูเกิล , เอดับบลิวเอส,ไมโครซอฟท์ และ หัวเว่ย เพราะที่ผ่านมาต้องรอให้เอ็นทีจัดหา GDCC เพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เพียงพอ แต่เอ็นทีจะเป็นกำลังหลักในการทำคลาวด์ภาครัฐตรงนี้ เพราะเอ็นทีก็เคยทำ GDCC มาและเป็นหน่วยงานภายใต้ของดีอี”

โดยการทำงานบอร์ด Cloud First Policy จะเป็นการทำงานระบบงานขั้นสูง เพื่อบริการสำหรับการจัดเก็บข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน, เพิ่มบริการจาก GDCC Marketplace พัฒนาการใช้งานในรูปแบบ Hybrid Cloud ที่เหมาะสมสำหรับหน่วยงานจากเดิมที่บริการคลาวด์ออกเป็น 3 ระดับหลัก ๆ คือ คลาวด์ระดับกระทรวง หรือ Ministry Cloud คลาวด์ระดับกรม หรือ Agency Cloud คลาวด์กลางภาครัฐ ซึ่งหน้าที่ของบอร์ดนี้จะเป็นการบริหารจัดการระบบคลาวด์ พร้อมทั้งบูรณาการข้อมูลภาครัฐและจัดทำข้อมูลแบบเปิด (Open Data) ของหน่วยงานที่ใช้บริการ GDCC รวมถึงส่งเสริมการใช้บริการให้กับหน่วยงานภาครัฐ

ด้านณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ ประธานบอร์ดเอ็นที กล่าวเสริมว่า ความต้องการของหน่วยงานภาครัฐมีดีมานด์มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในแง่ของเอ็นทีก็จะทำหน้าที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก บริหารจัดการความต้องการใช้คลาวด์ (Demand) บริหารจัดการให้มีบริการคลาวด์อย่างเพียงพอ (Supply)

โดยขณะนี้ เอ็นทีให้บริการ Convert บริการของ GDCC มาสู่ในหลายรูปแบบ สามารถปรับปรุงระบบนิเวศการใช้คลาวด์ และการจัดซื้อจัดจ้างให้เหมาะสม สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนผลักดันให้ทุกภาคส่วนเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลผ่านความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน

“มีการประเมินจากหลายหน่วยงานคาดว่ามูลค่าตลาดคลาวด์ภาครัฐในอีก 5 ปีจะมีมูลค่ามากถึง 100,000 ล้านบาท ทางสภาพัฒน์ฯก็มองว่าความต้องการใช้งานของรัฐจะมีมากถึง 500,000 วีเอ็มด้วย ตรงนี้เอ็นทีขอให้เอ็นทีช่วยในการหาลูกค้าภาครัฐมาใช้งาน ถ้าได้ส่วนแบ่งตรงนี้ 30% ก็น่าจะเพียงพอแล้ว”

ด้านพ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็นที กล่าวว่า ระบบงาน Customer segment พร้อมเตรียมรองรับนโยบาย Go Cloud First นั้น เอ็นทีมีความพร้อมให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการจัดหาทรัพยากรด้านการประมวลผล (Computing Resource) ให้กับภาครัฐในรูปแบบการให้บริการ Cloud Service รองรับหน่วยงานรัฐให้เข้าถึงทรัพยากรด้านคลาวด์ด้วยมาตรฐานสากล พร้อมกับนำเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยมาเพิ่มพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลภาครัฐ 

รวมถึงได้เพิ่มบริการ Market Place บน GDCC เพื่อรองรับการให้บริการแพลตฟอร์มไอที แอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในปัจจุบัน NT Cloud Service ได้ให้บริการลูกค้าภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน มากกว่า 1,700 ราย มี Workloads มากกว่า 5,000 workloads

โดยมองว่ารายได้จากคลาวด์อยู่ที่ 12% ของรายได้รวมซึ่งอยู่ที่ราว 1,000 ล้านบาท ดังนั้น หากรายได้จากคลาวด์ภาครัฐที่อยู่ 100,000 ล้านบาทใน 5 ปี เอ็นทีมีส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ต แชร์) อยู่ที่ 30% ก็น่าจะมีรายได้ปีละ 30,000 ล้านบาท หากต้นทุนอยู่ที่ 6,000 ล้านบาท ก็จะมีชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากธุรกิจโทรศัพท์มือถือ โดยจะกำหนดราคาเป็น Pay per Use ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดลดการลงทุนซ้ำซ้อนของแต่ละหน่วยงานภาครัฐ

"ในระบบคลาวด์ แมนเนจเมนต์ แพลตฟอร์มจะเป็นตัวกลางในการควบคุมค่าเช่า ค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานรัฐอื่นๆในการเทียบราคาคลาวด์ต่อวีเอ็ม ซึ่งการตั้งบอร์ด Cloud First Policy นั้น จะมาทำเกิดสมดุลค่าใช้จ่ายต้นทุนตรงนี้ของหน่วยงานภาครัฐ เอ็นทีมองว่าหากมีผู้ให้บริการคลาวด์จากต่างชาติเข้ามา ก็ไม่ได้เป็นคู่แข่งเรามองทุกคนเป็นพันธมิตรทั้งหมด"

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...