‘เน็ตแอพ’ เปิด 5 วิธีลดเสี่ยงภัยร้าย ‘แรนซัมแวร์’

ข้อมูลในยุคปัจจุบันมีมูลค่าและมีความเปราะบางอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน...

อรรณพ วาดิถี ผู้จัดการประจำประเทศไทย เน็ตแอพ เปิดมุมุมองว่า ข้อมูลกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดสำหรับองค์กรจำนวนมากในปัจจุบัน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน จุดประกายนวัตกรรม และสร้างประสบการณ์ที่โดดเด่น ควบคู่ไปกับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (ML), คลาวด์ และอื่นๆ การพึ่งพาข้อมูลขององค์กรจึงเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และผลกระทบอันเลวร้ายของแรนซัมแวร์ก็เช่นเดียวกัน

‘ข้อมูล’ สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด

รายงานจาก "Cloud Complexity Report 2024" โดย เน็ตแอพ เผยว่า 60% ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า “ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น” เป็นความกังวลสูงสุดในยุค AI นี้

สอดคล้องกับข้อมูลจาก “Check Point Software Technologies” ที่ชี้ให้เห็นว่าองค์กรในประเทศไทยเผชิญการโจมตีทางไซเบอร์ที่มากถึง 1,892 ครั้งต่อสัปดาห์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกของการโจมตีรายสัปดาห์ที่ 1,040 ครั้งอย่างมาก

ขณะที่ความถี่ของการโจมตีทางไซเบอร์และความซับซ้อนของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ยังคงเพิ่มสูงขึ้น สิ่งนี้เรียกร้องให้องค์กรต่างๆ มีการดำเนินการจัดการอย่างเร่งด่วนในการปรับใช้กลยุทธ์ที่ประสานงานกันหลายชั้นเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์

“ส่วนสำคัญของกลยุทธ์นี้คือการรับรองให้หน่วยเก็บข้อมูลระดับองค์กรทำหน้าที่เป็นแนวรับสุดท้ายเพื่อปกป้องสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด นั่นคือข้อมูล”

มากกว่าแค่ ‘การป้องกัน’

อรรณพกล่าวว่า ความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ไม่ได้หมายถึงแค่การป้องกันการโจมตีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการกู้คืนและการปกป้องข้อมูลขององค์กรด้วย บ่อยครั้งที่ความซับซ้อนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นทุนและเวลาในการสำรองข้อมูลและการกู้คืนระบบหลังภัยพิบัติสูงขึ้น หากการโจมตีสามารถฝ่าแนวป้องกันด่านแรกขององค์กรได้

ดังนั้น ความสามารถในการกู้คืนข้อมูลสำเนาที่มีจุดเวลาล่าสุดในระดับที่ละเอียดจึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว และนำข้อมูลและแอปพลิเคชันกลับมาใช้งานโดยมีการหยุดชะงักน้อยที่สุดโดย 5 ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ความยืดหยุ่นทางไซเบอร์สำหรับองค์กร ประกอบด้วย

ระบุ : เริ่มด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมด้านไอที IT และกระบวนการป้องกันข้อมูลและความปลอดภัยในปัจจุบันขององค์กร รวมถึงการจำแนกประเภทและระบุตำแหน่งของชุดข้อมูลทั้งหมดตามมูลค่าของข้อมูล พร้อมกับการประเมินสิทธิ์การเข้าถึง

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือองค์กรต้องเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการจัดทำรายการข้อมูลเริ่มต้นนี้ เนื่องจากการดำเนินการด้วยตนเองอาจใช้เวลานานและทำให้เกิดความสับสนในกระบวนการป้องกันและกู้คืนในภายหลัง

ต่อมาคือการระบุและกำหนดตำแหน่งการไหลของข้อมูลและธุรกรรมที่ละเอียดอ่อนจะสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการโต้ตอบของผู้ใช้กับทรัพยากร แอปพลิเคชัน บริการ และปริมาณงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการนำโมเดลความปลอดภัยแบบ Zero-Trust มาใช้งาน

รันทุกอย่างแบบ 'Zero-Trust'

ปกป้อง : หลังจากระบุข้อมูลแล้ว องค์กรจะต้องสร้างมาตรการปกป้องข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการเข้ารหัส การสำรองข้อมูล การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การควบคุมการเข้าถึง การป้องกันขอบเขต การอัปเดตซอฟต์แวร์ และการฝึกอบรมความปลอดภัยทางไซเบอร์

กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดวัตถุประสงค์ของเวลาการกู้คืนและวัตถุประสงค์ของจุดกู้คืน (RTO และ RPO) สำหรับข้อมูลแต่ละหมวดหมู่ ในสภาพแวดล้อมแบบ Zero-Trust องค์ประกอบดิจิทัลที่สำคัญแต่ละองค์ประกอบจะถูกแยกเพิ่มเติมด้วยการควบคุมและตัวกรองแบบไมโคร เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถแยกผู้ใช้ที่ประสงค์ร้าย ขัดขวางการติดไวรัส และป้องกันการลบข้อมูลได้

ตรวจจับ : การตรวจจับมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการก้าวล้ำหน้าไปกว่ามิจฉาชีพและภัยคุกคามอื่นๆ เพื่อต่อต้านภัยคุกคามอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมแบบ Zero-Trust นี้ และองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีการตรวจจับและการจัดการแบบรวมศูนย์

โดยเครื่องมือ AI และ ML สมัยใหม่สามารถใช้ประโยชน์จากการระบุกิจกรรมที่น่าสงสัยก่อนที่สถานการณ์จะบานปลาย

เติมความสามารถ ‘ตอบสนอง - กู้คืน’

ตอบสนอง : การนำโซลูชันที่สามารถช่วยให้บล็อกบัญชีผู้ใช้ที่เป็นอันตรายโดยอัตโนมัติและสร้างจุดกู้คืนที่ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อตรวจพบภัยคุกคามได้อย่างเชิงรุก สิ่งนี้สามารถลดความเสียหายเพิ่มเติมและช่วยป้องกันการโจรกรรมข้อมูลได้

กู้คืน : เวลาหยุดทำงาน หรือ downtime สามารถลดลงได้โดยใช้การตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์แบบอัจฉริยะเพื่อระบุแหล่งที่มาของภัยคุกคาม พร้อมกำหนดลำดับเป้าหมายข้อมูลที่จะกู้คืน

โดยความสามารถในการกู้คืนข้อมูลอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้บริษัทต่างๆ สามารถช่วยเร่งการกู้คืนการปฏิบัติงาน และนำแอปพลิเคชันที่สำคัญกลับมาออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด

เมื่อภัยของแรนซัมแวร์มาถึง ทุกวินาทีมีความหมาย องค์กรต่างๆ ต้องตระหนักว่าการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะเกิดขึ้นกับทุกคนในที่สุด

“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือองค์กรจะสามารถปกป้องข้อมูลได้อย่างไรแบบเชิงรุก ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการโดยอัตโนมัติเพื่อปกป้องข้อมูลแบบเรียลไทม์ อีกทางหนึ่งนำแนวทางที่ถูกต้องมาใช้และใช้ประโยชน์จาก AI”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...