เปิดเหตุผล ปั๊ม NGV ปิดกิจการ 15 ปี 'ปตท.' รับภาระ 1.5 แสนล้าน

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการใช้ก๊าซ NGV ก็เพื่อเป็นทางเลือก ให้กับประชาชนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) เนื่องจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง โดย NGV ถูกตรึงราคาเอาไว้ในระดับเฉลี่ย 8 บาทต่อกิโลกรัม จนปัจจุบันอยู่ระดับเฉลี่ย 20 บาทต่อถังกิโลกรัม และให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ช่วยแบกรับภาระให้มาโดยตลอด 

ทั้งนี้ เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงมา และมีการส่งเสริมไบโอดีเซล รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งมีความเข้าใจในปัญหา จึงมีนโยบายที่จะทยอยให้มีการปรับราคา NGV ให้สะท้อนต้นทุนที่เป็นจริงมากขึ้น และเป็นการช่วยลดภาระของ ปตท.ลง ซึ่งปัจจุบัน ปตท.ยังคงช่วยแบกรับภาระให้เฉพาะส่วนของผู้ใช้ที่เป็นกลุ่ม รถโดยสารสาธารณะ ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) 

นอกจากนี้ ปตท. ได้เปิดลงทะเบียนบัตรสิทธิประโยชน์กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ ปตท. แก่ผู้ถือบัตรรายใหม่ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของรถแท็กซี่ หรือนิติบุคคล รถในนามสหกรณ์ ในกลุ่มสมัครใหม่ ส่วนกลุ่มที่มีบัตรแล้ว ผู้ถือบัตรรายเดิมไม่ต้องดำเนินการใดๆ สามารถใช้บัตรต่อไปได้ตามปกติ

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้ NGV สำหรับรถแท็กซี่ ผู้มีบัตรสิทธิประโยชน์จะสามารถเติมก๊าซ NGV ในราคา 14.62 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 30 มิ.ย. 2567 จากนั้นเติมก๊าซ NGV ในราคา 15.59 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่ 1 ก.ค. ถึง 31 ธ.ค. 2568 พร้อมเพิ่มวงเงินซื้อก๊าซ NGV จากเดิม 10,000 บาทต่อเดือนต่อคัน เป็น 12,000 บาทต่อเดือนต่อคัน 

ในขณะที่ รถทั่วไป ราคาจำหน่ายก๊าซ NGV จะอยู่ที่ 19.59 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 15 พ.ค. 2567 หลังจากนั้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV จะเป็นไปตามโครงสร้างราคา

แหล่งข่าว กล่าวว่า ในช่วงที่มีการส่งเสริมให้ใช้ NGV นั้น ปตท. มีปั๊ม NGV ทั้งหมดอยู่ 513 แห่ง แต่ด้วยเศรษฐกิจและโครงสร้างประเทศที่เปลี่ยนไป เนื่องจากบางสถานีเป็นการเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินธุรกิจ และเมื่อต้นทุนที่สูงขึ้น มีการพัฒนาพื้นที่มีราคาเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงตัดสินใจไม่ดำเนินธุรกิจ NGV ต่อ จากเดิมอาจจะมีรายได้เดือนละหลัก 1 แสนบาทเหลือระดับ 1-2 หมื่นบาทต่อเดือน จึงนำพื้นที่ไปทำธุรกิจอื่นเพื่อสร้างรายได้ต่อไป

ทั้งนี้ ส่งผลให้ปัจจุบันมีการปิดปั๊ม NGV ไปแล้ว 217 สถานี จึงยังคงเหลือปั๊ม NGV อยู่ที่ 296 สถานี โดยเฉพาะที่เหลือจะเป็นปั๊มที่อยู่ตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติโดยส่วนใหญ่จะเป็นปั๊มของ ปตท. โดยการทำปั๊ม NGV เฉพาะแนวท่อก๊าซฯ จะมีความคุ้มค่าและช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งก๊าซฯ ทางรถลงได้มาก ซึ่งปัจจุบัน ปตท. เองก็ได้ลดขนาดธุรกิจ NGV ลงเพื่อเน้นหารายได้และกำไรเพิ่มจากธุรกิจที่ไม่ใช่ NGVภายในปั๊ม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

"ปตท. ทำธุรกิจ NGV มากว่า 15 ปี ตามนโยบายภาครัฐที่ดำเนนธุรกิจเคียงคู่กับชุมชนและคนไทย จะเห็นว่าที่ผ่านมาได้ดูแลประชาชนและตรึงราคาก๊าซ NGV เพื่อสนับสนุนกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง หากคิดเป็นมูลค่าที่ช่วยรับภาระไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท ดังนั้น ปตท.จึงต้องได้ปรับการดำเนินธุรกิจหารายได้เพิ่มตามเทรนด์โลก เพราะไม่ให้กระทบต่อต้นทุนในส่วนนี้" แหล่งข่าว กล่าว 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

โอบามา ลุยหาเสียงช่วยแฮร์ริส เลือกตั้งสหรัฐ สูสี แม้เข้าช่วงโค้งสุดท้าย

อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา เชิญชวนให้ชาวอเมริกันลง คะแนนเสียงให้กับรองประธานาธิบดี คามาลา แฮร์ริส...

TikTok เลิกจ้างพนักงานหลายร้อยคน หลังใช้ AI ทำงานกรองเนื้อหาแทน ‘มนุษย์’

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า “ไบต์แดนซ์” (ByteDance) บริษัทแม่ของ TikTok ประกาศว่ากำลังเลิกจ้างพนักงาน...

‘เฮดจ์ฟันด์ชั้นนำ’ หันมาช้อนหุ้นจีน ชี้ราคาปัจจุบันยังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “กองทุนเฮดจ์ฟันด์ชั้นนำของจีน” หันมาซื้อหุ้นเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในฮ...

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยินดีไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษชนยูเอ็น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ออกแถลงการณ์ในวันที่ 11 ต.ค. ความว่า ตามที่ประเทศไทยได้รับการเลือ...