ฉุดไม่อยู่! ไทยเบอร์ 1 อาเซียน ถูกโจมตีโดย ‘แรนซัมแวร์’

แคสเปอร์สกี้ รายงานว่า สามารถบล็อกเหตุการณ์โจมตีในไทยได้มากถึง 109,315 รายการ รองลงมาคืออินโดนีเซีย 97,226 รายการ เวียดนาม 59,837 รายการ ฟิลิปปินส์ 15,312 รายการ มาเลเซีย 4,982 รายการ และสิงคโปร์ 741 รายการ

โดยรวมช่วงเดือนม.ค.-ธ.ค.2566 ที่ผ่านมา ตรวจพบและบล็อกเหตุการณ์การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์รวมกว่า 287,413 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เฟเดอร์ ซินิตซิน หัวหน้านักวิเคราะห์มัลแวร์ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ยุคของการโจมตีเหยื่อจำนวนมากในวงกว้างโดยการเข้ารหัส ทั้งต่อบุคคลและองค์กรธุรกิจกำลังค่อยๆ หายไป และได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่มีระเบียบแบบแผน ทำการแฮกที่เกี่ยวข้องกับการโจรกรรมข้อมูลและการเข้ารหัส

ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่าการขู่กรรโชกซ้ำซ้อน เบื้องหลังพัฒนาการนี้เป็นเพราะผู้ก่อภัยคุกคามมีความสามารถที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สามารถเรียกค่าไถ่ที่สูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เสริมว่า เห็นได้ชัดว่าผู้ก่อภัยคุกคามที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์มุ่งเป้าไปที่ทุกภาคส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบที่แท้จริงของแรนซัมแวร์ที่ประสบความสำเร็จแต่ละครั้ง ทั้งด้านการเงินและชื่อเสียง

โดยธุรกิจในภูมิภาคจำเป็นต้องพิจารณาเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ให้ประสิทธิภาพการป้องกันแรนซัมแวร์ที่สมบูรณ์แบบในการทดสอบโดยองค์กรเธิร์ดปาร์ตี้ เพราะโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากันทั้งหมด

เข้มมาตรการความปลอดภัย

ผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้แนะนำให้องค์กรต่างๆ ทุกรูปแบบและทุกขนาด เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยด้านไอทีของตน เนื่องจากแรนซัมแวร์เป็นภัยคุกคามที่สร้างความเสียหายสำหรับองค์กรในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรนซัมแวร์ประเภทที่กำหนดเป้าหมายการโจมตี

สถิติระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว แรนซัมแวร์กลายเป็นหัวข้อข่าวใหญ่อย่างต่อเนื่องทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหตุการณ์โจมตีที่โด่งดังมีทั้งธนาคารในอินโดนีเซีย บริษัทประกันสุขภาพในฟิลิปปินส์ ระบบขนส่งมวลชนในมาเลเซีย โรงแรมและคาสิโนชื่อดังในสิงคโปร์ กลุ่มบริษัทสื่อที่ใหญ่ที่สุดในไทย และบริษัทพลังงานในเวียดนาม

แคสเปอร์สกี้ รายงานว่าแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อปกป้องบุคคลและธุรกิจจากการโจมตีของแรนซัมแวร์ ประกอบด้วย ไม่เปิดเผยบริการเดสก์ท็อป / การจัดการระยะไกล (เช่น RDP, MSSQL ฯลฯ) ไปยังเครือข่ายสาธารณะ เว้นแต่จำเป็นจริงๆ และใช้รหัสผ่านที่รัดกุม การตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัย และใช้ไฟร์วอลล์เสมอ

ขณะเดียวกัน ติดตั้งแพตช์สำหรับโซลูชัน VPN เชิงพาณิชย์ที่มีอยู่ทันที โดย VPN จะให้การเข้าถึงสำหรับพนักงานจากระยะไกล และทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ในเครือข่าย

เคล็ดลับเพิ่มความปลอดภัย

ที่ขาดไม่ได้ มีการอัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันแรนซัมแวร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ รวมถึงมุ่งเน้นกลยุทธ์การป้องกันไปที่การตรวจจับการเคลื่อนไหวโดยรอบ และการขโมยข้อมูลไปยังอินเทอร์เน็ต ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการรับส่งข้อมูลขาออก เพื่อตรวจจับการเชื่อมต่อของอาชญากรไซเบอร์

นอกจากนี้ มีการสำรองข้อมูลเป็นประจำ โดยให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การสำรองข้อมูลออฟไลน์เป็นพิเศษ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉินเมื่อจำเป็น, หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดและติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือซอฟต์แวร์จากแหล่งที่ไม่รู้จัก

พร้อมกันนี้ ประเมินและตรวจสอบการเข้าถึงของซัพพลายเชนที่ทำงานร่วมกัน และการเข้าถึงบริการการจัดการไปยังเครือข่ายของตน, เตรียมแผนปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านชื่อเสียง เมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลจากการโจรกรรมข้อมูล

รวมไปถึง เลือกใช้โซลูชันความปลอดภัยที่ทำงานได้แบบเชิงรุก, ให้ความรู้แก่พนักงาน ด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะทาง และอัปเดทเทรนด์ภัยคุกคามสม่ำเสมอ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...