Aquapreneur ปั้นธุรกิจนวัตกรรมรักษ์น้ำ

ปีที่แล้วถือเป็นครั้งแรกในรอบ 47 ปี ที่องค์การสหประชาชาติจัดประชุม UN Water Conference เพื่อเร่งสร้างความตระหนักรู้และตั้งภาคีความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำที่เคยถูกมองข้ามมาตลอด 

ปัจจุบัน 9 ใน 10 ของผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีประเด็นเรื่องน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีการประเมินว่าภายในปี 2030 ปริมาณน้ำจืดที่นำมาใช้บริโภคและใช้ในภาคอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคอาจจะมีปริมาณลดลงถึง 40% ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะภัยแล้งและปัญหาการบริหารจัดการน้ำที่ไร้ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา

หนึ่งในภารกิจสำคัญขององค์กรภาคธุรกิจ ภาคสังคมและสิ่งแวดล้อมในวันนี้ คือการเร่งนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน 

การเร่งสร้าง Aquapreneur หรือผู้ประกอบการนวัตกรรมที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำ กำลังเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องส่งเสริม ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคเรื่องน้ำโดยตรงเท่านั้น ในอุตสาหกรรมอื่นความต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะตอบโจทย์ Pain Points เรื่องน้ำก็มีอยู่หลากหลาย 

เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน ต้องการนวัตกรรมที่จะแก้ปัญหาการรั่วไหลของน้ำ ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่าในแต่ละวันมีการสูญเสียน้ำถึง 45 ล้านลูกบาศก์เมตร จากระบบสาธารณูปโภค และจะผลกระทบถึงมูลค่า GDP ของโลกถึง 6% ภายในปี 2050

ส่วนในอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ปริมาณน้ำกว่า 70% ของน้ำจืดทั้งหมดที่มีอยู่บนโลก ก็ประสบปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจากระบบชลประทาน

ปัจจุบัน องค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร กำลังขับเคลื่อนนโยบายและผลักดันโครงการบ่มเพาะเพื่อให้เกิดผู้ประกอบการ Aquapreneur และมีการสนับสนุนด้านเงินลงทุน ข้อมูลล่าสุดจาก Asian Development Bank ระบุว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องการเม็ดเงินลงทุนถึงกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อสร้างธุรกิจที่จะแก้ปัญหาเรื่องน้ำใน 3 เรื่องหลัก

เรื่องแรกคือการพัฒนาระบบการกักเก็บน้ำฝน การปรับคุณภาพน้ำและการนำน้ำกลับมาใช้

เรื่องที่สองคือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานในภาคเกษตร

เรื่องที่สามคือ การแก้ไขปัญหาน้ำรั่วไหลจากภาคอุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภค

 นักลงทุนในฝั่ง VC มองว่าเงินลงทุนในกลุ่ม Water Tech ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก สตาร์ตอัปหลายรายที่มีผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ Pain Points หลักเช่น Field Factors, Kilimo, Seabex และ Gradient ต่างประสบความสำเร็จในการระดมทุนไปแล้วรายละหลายร้อยล้านดอลลาร์

การรักษาทรัพยากรน้ำเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ บางประเทศเช่น อินเดีย ออกกฎหมายกำหนดว่าทุก 2% จากผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนจะต้องถูกนำไปใช้ในการลงทุน หรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทรัพยากรน้ำ อีกทั้งกำหนดอัตราภาษีที่สูงขึ้นสำหรับการใช้น้ำในภาคเกษตร 

ข่าวดีก็คือ ปัญหาเรื่องน้ำกำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ทุกฝ่ายกำลังร่วมมือกันแก้ไข แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง เราอาจจะยังไม่เห็นการผลักดันเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากนักในบ้านเรา ทั้งๆ ที่เราอยู่ในกลุ่มต้นๆ ของประเทศที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...