'แคสเปอร์สกี้' เปิด KUMA บล็อกภัยไซเบอร์โจมตีไทย

แต่ละปี “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบางครั้งตัวเลขการตรวจจับอาจมีลดลง ทว่าความรุนแรงไม่เคยแผ่วลงแม้แต่น้อย...

แคสเปอร์สกี้ เผยถึงภัยคุกคามที่มุ่งเป้าโจมตีผู้ใช้งานในประเทศไทยว่า ปี 2566 สามารถบล็อกภัยคุกคามทางเว็บได้มากกว่า 12.92 ล้านรายการ หรือ เฉลี่ย 35,400 รายการต่อวัน และบล็อกการติดมัลแวร์จากอุปกรณ์ออฟไลน์ได้ 22.26 ล้านรายการ เฉลี่ย 61,000 รายการต่อวัน

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เผยว่า เมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ แม้แต่ระบบปฏิบัติการที่ปลอดภัยที่สุดก็อาจถูกบุกรุกได้ เนื่องจากผู้ก่อภัยคุกคามอย่าง APT พัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่องและค้นหาจุดอ่อนใหม่ๆ เพื่อใช้ประโยชน์

อย่างที่ไม่ต้องคาดเดาสำหรับปีนี้ภัยไซเบอร์ยังคงทวีความรุนแรง ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้คาดการณ์ว่า ภาพรวมภัยคุกคามจะได้รับแรงผลักจากความเคลื่อนไหวด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วในภูมิภาค

แคสเปอร์สกี้พบว่า ส่วนใหญ่มาจากอันตรายจากฟิชชิง (phishing) การหลอกลวง (scams) การละเมิดข้อมูล (data breaches) และการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจทางภูมิศาสตร์การเมือง (geopolitically-motivated cyberattacks) และยังคงมุ่งเป้าหมายไปที่องค์กรและบุคคลทั่วไป

เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ผู้ก่อภัยคุกคามใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายมากขึ้นในการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมายที่ซับซ้อน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถตรวจสอบกิจกรรมเครือข่าย จัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยของระบบ

รวมไปถึง การจัดหาเครื่องมือล่าสุดให้กับพนักงานและทีมเทคนิคเพื่อจดจำและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น พร้อมสำหรับการแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที

ล่าสุด แคสเปอร์สกี้ ประกาศเปิดตัวโซลูชันซอฟต์แวร์ครบวงจรที่ประกอบด้วยชุดฟังก์ชันสำหรับการติดตามและจัดการเหตุการณ์คุกคามทางไซเบอร์ “Kaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform” หรือ “KUMA” เพื่อช่วยให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ปลอดภัยในโลกไซเบอร์สเปซที่สอดคล้องกับการเปิดรับดิจิทัลไลเซชัน

หวังว่าจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ในการจัดการเหตุการณ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนด้วยการตรวจจับและการตอบสนองที่ไม่มีใครเทียบได้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของไซเบอร์สเปซของประเทศไทย

ย้อนกลับไปในเดือนมิ.ย. ปี 2566 ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้ค้นพบแคมเปญ APT (Advanced Persistent Threat) บนมือถือ ขณะเดียวกันก็ตรวจสอบการรับ-ส่งข้อมูลเครือข่าย Wi-Fi ของแคสเปอร์สกี้โดยใช้ KUMA

จากการวิเคราะห์เพิ่มเติม นักวิจัยของบริษัทพบว่าผู้ก่อภัยคุกคามกำหนดเป้าหมายอุปกรณ์ไอโอเอสของพนักงานหลายสิบคน โดยกระจายช่องโหว่แบบซีโร่คลิกผ่าน iMessage เพื่อเรียกใช้มัลแวร์ควบคุมอุปกรณ์และข้อมูลผู้ใช้อย่างสมบูรณ์

รายงานเรื่อง eConomy SEA 2023 คาดว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จะสร้างรายได้ 1 แสนล้านดอลลาร์ และคาดว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของภูมิภาคนี้

ในแง่ของมูลค่าสินค้ารวม (GMV) ระหว่างปี 2566 ถึง 2573 โดยคาดว่ามูลค่า (GMV) จะสูงถึง 100 - 165 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 เพิ่มขึ้นจาก 49 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568 และ 36 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...