'ไทย-บราซิล' ยุติขัดแย้ง 8 ปี ลงนามยุติข้อพิพาทน้ำตาลในเวที WTO

นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ณ นครเจนีวา เปิดเผยว่า ตนและ นายกีเยร์เม เด อากีอาร์ ปาตริโอตา เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรบราซิลประจำองค์การการค้าโลกหรือดับบลิวทีโอ (WTO) ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ให้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงยุติกรณีพิพาทน้ำตาลใน WTO เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2567 ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ในช่วงต้นของการประชุมรัฐมนตรีการค้า WTO ครั้งที่ 13 ที่ UAE เป็นเจ้าภาพ

กรณีพิพาทดังกล่าว สืบเนื่องจากที่บราซิลฟ้องร้องไทยว่า ระบบอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยขัดต่อกฎเกณฑ์การอุดหนุนของ WTO และได้ยื่นคำขอหารือกับไทยภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เมื่อปี 2559 ซึ่งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 8 ปี โดยไทยได้แสดงความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขข้อห่วงกังวลของบราซิลและได้พยายามปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภายในประเทศให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ WTO ในเรื่องการอุดหนุน

นางพิมพ์ชนก กล่าวว่า ในระหว่างที่ไทยปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ฝ่ายบราซิลได้ติดตามดูพัฒนาการของไทยอย่างใกล้ชิด 

ต่อมาในปี 2564 สองฝ่ายได้ลงนามใน MoU ระหว่างไทย-บราซิล เพื่อจัดตั้งกลไกในการหารือติดตามความคืบหน้าการปรับโครงสร้างระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย โดยมีเงื่อนไขว่า บราซิลตกลงจะระงับการดำเนินการใด ๆ เพื่อฟ้องไทยต่อใน WTO เป็นการชั่วคราวในช่วงการหารือดังกล่าว ซึ่งต่อมา ไทยปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายแล้วเสร็จ พร้อมทั้งบังคับใช้ พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนธ.ค.2565 เป็นต้นมา

“WTO มีกฎเกณฑ์ด้านการค้าระหว่างประเทศที่สมาชิก WTO จะต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกันการแข่งขันในตลาดที่ไม่เป็นธรรม โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจากมาตรการของประเทศสมาชิกอื่นสามารถทำการสอบสวน (investigate) เพื่อขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้ หรือยื่นฟ้องต่อศาล WTO เพื่อให้ยุติมาตรการได้" ” นางพิมพ์ชนกกล่าว

สำหรับไทยและบราซิลได้เจรจาและหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขข้อพิพาทเรื่องนี้อย่างฉันมิตรเป็นเวลาหลายปี จนในที่สุด ก็นำมาซึ่งการลงนามระหว่างสองฝ่ายในข้อตกลงเพื่อยุติคดีน้ำตาลใน WTO เป็นการถาวรได้ในครั้งนี้

ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับที่ 3 ของโลก รองจากบราซิล และอินเดีย โดยในปี2566 ไทยส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดโลกปริมาณ 6.54 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,452 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ กัมพูชา และมาเลเซีย

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ฮิซบอลเลาะห์ระส่ำวันที่ 2 ว.ระเบิด ดับ 20 ราย l World in Brief

เลบานอนระเบิดอีก รอบนี้เป็น ว.ฮิซบอลเลาะห์ วิทยุมือถือที่กลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ใช้ ระเบิดทั่วภาคใ...

AI Governance ก้าวแรกที่อย่ามองข้ามสำหรับทุกองค์กร

ในขณะที่แต่ละองค์กรกำลังตื่นตัวกับการวางแผนหรือเริ่มประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ากับกระบวนการแล...

ภาคอีสานครึ่งแรกซัพพลาย5หมื่นล้านโคราชขายบ้านสูงสุดขอนแก่นคอนโดขายดี

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์(RE...

ด่วน! เฟดลดดอกเบี้ย 0.5% ครั้งแรกในรอบ 4 ปี ตลาดหุ้นสหรัฐเด้งรับก่อนปิดลบ!

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0.5% เมื่อวันพุธที่ 18 ก.ย. 2567 ถือเป็นการเริ่...