ทรูดีไซน์โซลูชันรุกตลาด‘เอสเอ็มอี’ พบตกเป็นเป้าเหยื่อใหม่โจรไซเบอร์

Key Point

:มูลค่าตลาดรวมด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้เติบโตเฉลี่ยปีละ 12% ปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 13,000 ล้านบาท

:เอสเอ็มอีมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์สูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ถึง 3 เท่า

:สถิติแฮกเกอร์ใช้เวลา 84 นาทีในการโจรกรรมข้อมูล

:พบคนไทยกว่า 10 ล้านคนทำ Password หลุดโดยไม่ได้ตั้งใจ

:Top 5 ที่ถูกโจมตีมากที่สุด 1.อุตสาหกรรมการผลิต 2.หน่วยงานราชการ 3.ค้าปลีก 4.ประกัน และ 5.โทรคมนาคม

ฐิติรัตน์ ศิริพัฒนาเลิศ หัวหน้าสายงานด้านความปลอดภัยระบบข้อมูลสารสนเทศ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า การทรานสฟอร์มและปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น ทำให้องค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในปี 2566 ที่ผ่านมา สถิติภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ของประเทศไทยมีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึงเท่าตัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพบว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดรวมของตลาดป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีอัตราขยายตัวเฉลี่ยปีละ 2 ดิจิ และปีนี้คาดว่าจะเติบโตจากปีก่อน 11.68% หรือคิดเป็น 13,000 ล้านบาท

โดย 5 อันดับกลุ่มธุรกิจที่ตกเป็นเป้าโจมตีได้แก่ 1.ภาคอุตสาหกรรมการผลิต  2.หน่วยงานราชการ 3.ค้าปลีก 4.ประกัน และ 5.โทรคมนาคม ยังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการโจมตี เนื่องจากประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ของธุรกิจเอสเอ็มอี ยังไม่เพียงพอ รวมถึงการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้ปัจจุบันเอสเอ็มอีมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์สูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ถึง 3 เท่า และพบคนไทยกว่า 10 ล้านคนทำ Password หลุดโดยไม่ได้ตั้งใจ

ดังนั้น ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ต้องการสร้างความเท่าเทียมให้คนไทยและภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีได้ง่าย เหมาะสมและคุ้มค่า ตอบโจทย์ตรงความต้องการและได้ประโยชน์มากขึ้น บนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง เพื่อรองรับการทรานสฟอร์มที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีระบบปฏิบัติการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ 

ตลอดจนการเก็บข้อมูลสำคัญในระบบดิจิทัล เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น อาจมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย เสี่ยงต่อการถูกโจมตีระบบหรือโจรกรรมข้อมูล อีกทั้งผู้โจมตียังมีความสามารถในการคิดค้นและใช้เครื่องมือใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง องค์กรธุรกิจจึงต้องเร่งปรับกลยุทธ์ด้านความมั่งคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยให้ความสำคัญใน 3 องค์ประกอบหลัก คือ

1.การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้และทักษะด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และสร้างความตื่นตัวต่อภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรทุกระดับ

 2.การปรับเปลี่ยนระบบความปลอดภัยในกระบวนการและระบบต่างๆ ขององค์กร 

และ3. การลงทุนในเทคโนโลยีและระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและคุ้มค่าในการจัดการความเสี่ยงจากภัยคุกคาม

 

“สถิติพบว่าแฮกเกอร์ใช้เวลาเพียง 84 นาทีในการเจาะข้อมูลเข้าไปในระบบของหน่วยงาน และหากเป็นกลุ่มเอสเอ็มอีพบว่ามีกว่า 30% ที่ทำให้สูญเสียลูกค้า และบางรายเมื่อโดนแฮกเข้ามาในระบบและถูกเรียกค่าไถ่เป็นบิทคอยท์ก็ทำให้เอสเอ็มอีบางรายถึงขั้นต้องปิดกิจการ“

เธอ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ มีลูกค้าราว 100 บริษัท ให้บริการในเอเชีย อาทิ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรต เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และอินเดีย โดยที่ผ่านมามีสัดส่วนลูกค้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่มากถึง 95% ที่เหลือคือกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี 5% แต่ในปีนี้บริษัทเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอีจึงตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนเป็น 20% และคิดเป็นลูกค้าเอสเอ็มอี 1,000 รายในปี 2568 ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นเสริมเกราะป้องกันภัยคุกคาม ด้วยระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เหนือกว่าเดินหน้าพัฒนาโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งมอบบริการระดับมืออาชีพ ให้ทุกองค์กรมั่นใจได้มากกว่า ด้วยหลากหลายจุดเด่น ดังนี้

• ขับเคลื่อนระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยี ML และ AI เพิ่มขีดความสามารถในการคาดการณ์การโจมตีระบบบนโลกไซเบอร์ ทั้งการตรวจจับความผิดปกติ  วิเคราะห์ แจ้งปัญหาได้แบบเรียลไทม์ และเชื่อมโยงกับระบบอัตโนมัติ ทำให้ตอบสนองต่อการโจมตี ตัดกระบวนการโจมตีได้อย่างทันท่วงที

• การันตีมาตรฐานสากลในการให้บริการแบบ Secure Digital Transformation and Operation อาทิ ระบบความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO 27001

• ทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองชั้นนำระดับโลก  อาทิ CISSP, CISM, GIAC, OSCP เป็นต้น ช่วยดูแลความปลอดภัยให้ธุรกิจต่อเนื่องทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยทรูมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ 80 คน

• ผสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และพันธมิตรชั้นนำ ในการพัฒนาบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตลอดจนร่วมกันผลักดันการสร้างความตระหนัก และเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...