ผลหารือศรีลังกาสำเร็จลุล่วง “เศรษฐา” ย้ำ ไทยพร้อมเปิดรับการลงทุน-นักท่องเที่ยว

“นายกฯ นิด” ดีใจ ผลหารือสำเร็จลุล่วง หลังเดินทางเยือนศรีลังกา ได้เซ็น FTA ฉบับแรกของรัฐบาล ย้ำ ประเทศไทยพร้อมเปิดรับการลงทุนและนักท่องเที่ยว เล็งหาช่องทางให้เอกชนไทยลงทุน

เมื่อเวลา 15.15 น. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงผลการเยือนประเทศศรีลังกา ว่า สำเร็จลุล่วงดีมาก ซึ่งตนดีใจเพราะว่าเป็น FTA ที่รัฐบาลเซ็นมาฉบับแรก ต้องขอบคุณกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ที่ทำงานหนัก โดยมีการหารือกับภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลศรีลังกา เห็นโอกาสของ 2 ประเทศจะพัฒนาและสานความร่วมมือให้ดีขึ้น ทั้งเรื่องการลงทุน การท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องมีเรื่องที่สานต่ออีกเยอะ 

ทั้งนี้ การเดินทางเยือนศรีลังกาถือเป็นครั้งแรกของตน และเหมือนทุกประเทศที่ตนไปมา คือ บอกว่าประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะเปิดรับการลงทุน รวมถึงต้อนรับนักท่องเที่ยว แต่ในส่วนที่พูดน้อยไปหน่อยคือเรื่องศักยภาพของเอกชน หรือบริษัทใหญ่ๆ ของไทย รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพสูงในการลงทุนข้ามชาติ โดยได้มีการพูดคุยกับรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของประเทศศรีลังกา ซึ่งต้องการพลังงานสะอาดที่มีเยอะ โดยมีหลายเขื่อนในประเทศที่สามารถทำระบบโซลาร์เซลล์ได้ ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2567) ตนจะเรียนเชิญ CEO และประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มาหารือว่าจะทำอย่างไร ในการลงทุนต่างประเทศ เพราะมีอีกหลายประเทศที่ต้องการเทคโนโลยีของไทย ที่เราอาจจะมีเยอะกว่าเขา ก็ต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีในการสานต่อการลงทุนข้ามชาติ

ขณะเดียวกัน นายเศรษฐา ยังเปิดเผยด้วยว่าจะมีข่าวดี โดยในวันที่ 31 มีนาคม 2567 การบินไทยจะกลับมาเปิดเส้นทางบินไปยังประเทศศรีลังกาอีกครั้ง เพราะจากการพูดคุยกับพนักงานต้อนรับบนเครื่อง ก็ทราบว่าในช่วงที่มีการบินอยู่ ผู้โดยสารก็เต็มลำ ก็หวังว่าจะสามารถสานสัมพันธ์ต่อได้

...

จากนั้นผู้สื่อข่าวถามว่า ในแง่ของการลงทุนที่ศรีลังกา มีอุปสรรคหรือต้องการให้ทางการไทยช่วยหรือไม่ นายเศรษฐา ตอบว่า ไม่มี ขาดแคลนเพียงด้านเทคโนโลยี ขณะที่เรื่องของการประมงก็จะมีการหารือระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ส่วนภาคเอกชนก็จะมีการพูดคุยกันเอง เพราะศรีลังกามีทรัพยากรทางน้ำเยอะมาก แต่วิธีการหรือเทคโนโลยีในการจับปลายังน้อยอยู่ ฉะนั้นถือเป็นช่องทางที่จะทำให้เอกชนไทยไปลงทุนได้ หรืออาจจะมีการพิจารณาตั้งโรงงานผลิตอาหารทะเลกระป๋องก็มีความเป็นไปได้สูง และหลังจากนี้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ก็จะเป็นผู้ดำเนินการต่อ.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...