เบื้องหลัง! ‘กมลนาถ-คณะ’ ลาออกบอร์ดแฟชั่นฯ โดนฉวยผลงานไปทำการตลาด

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลัง น.ส.กมลนาถ องค์วรรณดี ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น ในฐานะตัวแทนคณะอนุกรรมการและที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯ ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และ ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เรื่อง ขอยุติการดำเนินงานในตำแหน่งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหรรมด้านแฟชั่น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2567 นั้น
    
มีรายงานข่าวแจ้งว่า ในแวดวงแฟชั่น ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึงชนวนเหตุการตัดสินใจยกคณะ ลาออกมาจากเรื่องใดกันแน่ แม้ในหนังสือการลาออก จะระบุถึงการจากลาด้วยดีก็ตาม

ทั้งที่การทาบทามกลุ่มของ น.ส.กมลนาถมาร่วมงาน เป็นลักษณะงานจิตอาสา อีกทั้งที่ผ่านมามีความพยายามจาก ผู้อยู่ในคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ หยิบฉวยผลงานของ น.ส.กมลนาถ ไปทำผลงานทางการตลาด สร้างความไม่พอใจให้กับเจ้าของไอเดียตัวจริง

โดย น.ส.กมลนาถ เคยโพสต์ข้อความถึงการหยิบฉวยผลงานของทีมงาน ไปหาผลประโยชน์ในทางธุรกิจ เช่น กรณี “กางเกงช้าง” ที่ระบุว่า คณะอนุกรรมการสาขาแฟชั่นฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับไอเดีย Guinness นี้ อยากเห็นหน้าคนอนุมัติงบมาก ห้ามก็ไม่ได้ ปรึกษาก็ไม่ปรึกษา คิดกันเองเห็นดีเห็นงามกันเอง ทำแล้วได้อะไร ทีมเอกชนอาสาทำงานกันหนักมาก เพื่อวางกรอบคิด การพัฒนาอุตสาหกรรม ในขณะที่หน่วยงานทำอีเวนต์จุดพลุแล้วไงต่อ สร้าง Value อะไรขึ้นมา ฝากหน่วยงานทุกหน่วยที่อยากเอาใจนาย ก่อนจะทำอะไรปรึกษาหารือกรรมการยุทธศาสตร์ หรือคิดให้รอบด้านด้วย เงินภาษีประชาชน

  

สำหรับหนังสือแจ้งลาออกของ น.ส.กมลนาถ นั้น ระบุเหตุผลว่า ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้ร่วมกันดำเนินการรวบรวมข้อมูลและจัดทำนโยบายและแผนงาน ตลอดจนกำหนดแนวทางและมาตรการในการส่งเสริมการใช้กลยุทธ์ซอฟต์พาวเวอร์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่น และสิ่งทอในขั้นตอนแรก ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดยงานดังกล่าวได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการและที่ปรึกษาฯ ได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นชอบร่วมกันว่า งานขั้นต่อไปที่จะเกิดขึ้น เกินความสามารที่จะบริหารจัดการเวลาในการติดตาม ลงรายละเอียด ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานในความรับผิดชอบให้แผนงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากคณะอนุกรรมการและที่ปรึกษาฯ ต่างมีภารกิจและหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพในการดำเนินธุรกิจของตน

“ข้าพเจ้าในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ รวมทั้งคณะอนุกรรมการและที่ปรึกษา ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ต้องยุติการทำงานในตำแหน่งสำคัญนี้ และขอขอบคุณคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ที่ให้โอกาสข้าพเจ้าและคณธอนุกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นของไทย” หนังสือดังกล่าว ระบุ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...