วิศนุรักษ์ ชี้ ‘กรีนไฮโดรเจน’ ตลาดใหม่ของพลังงานงานสะอาด

ในงานสัมมนา “SUSTAINABILITY FORUM 2024” จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” รศ.ดร.วิศนุรักษ์ เวชสถล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวบรรยายในหัวข้อ Climate Tech for Business ว่า

ตนเองทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับภาครัฐบาล หรือบริษัทต่างๆ ที่จะเข้ามาในเมืองไทยได้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านการผลิตพลังงาน ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีนโยบายสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถปรับเปลี่ยนต้นทางของพลังงานดั้งเดิมมาเป็นพลังงานสะอาด

กฟผ. ตั้งเป้าสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ในปี 2050 และร่วมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในไทยและต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการใช้พลังงานสะอาด 

ในปี 2021 กฟผ.และหน่วยงานชั้นนำของไทยและสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย กฟผ. บริษัท เอทีอี จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก้ กรุ๊ป และบริษัท Bloom Energy Corporation จำกัด ได้ลงนามความร่วมมือพัฒนาไฮโดรเจนเพื่อเป็นพลังงานแห่งอนาคต ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือการใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ 

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Green Hydrogen & Carbon Neutrality: การพัฒนาพลังงานสะอาด ร่วมลงทุนกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกลุ่มบริษัท เอไอเอฟ กรุ๊ป (AIF Group) ธุรกิจยักษ์ใหญ่จากลาว เพื่อผลักดันไฮโดรเจนให้มาเป็นพลังงานหลักในพื้นที่เขตนวัตกรรม นิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมการผลิตของไทย

"เหตุผลที่พูดถึงกรีนไฮโดรเจนสืบเนื่องมาจาก ไฮโดนเจนมีมานานมากแล้ว โดยกรีนไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่ได้จากกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ซึ่งเป็นการแยกน้ำให้กลายเป็นก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนด้วยไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด

กรีนไฮโดรเจนเป็นตลาดใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนเดิม จึงทำให้หลายๆ ประเทศมีโอกาสพัฒนาตนเองมาเป็นผู้ค้า เช่น กรณีของประเทศอังกฤษ ในปี 2025 จะเริ่มส่งออกไฮโดรเจน จากเดิมที่เคยเป็นผู้นำเข้าพลังงานแต่ตอนนี้ผันมาเป็นผู้ส่งออกพลังงานแทน 

กรณีของลาว ที่ได้ทำโครงการ Green Hydrogen & Carbon Neutrality ร่วมกับไทย พบว่า ลาวมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า 26,000 เมกะวัตต์ เทียบเท่ากับการผลิตไฮโดรเจน 3.5 ล้านตันต่อปี ค่อนข้างเป็นจำนวนที่ผลิตได้เยอะ อย่างเกาหลีใต้ประกาศว่าปีต่อไปจะนำเข้าไฮโดรเจน 5 ล้านตัน 

ดังนั้น การผลิตไฮโดรเจนของลาวสามารถสร้าง Ecosystem ได้หลายหลากหลาย จุดเด่นอีกอย่างคือ การขนย้ายไฮโดรเจนก็มีราคาที่ถูกกว่าหลายประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มีพร้อมหมดแล้ว

ต่อจากนี้ถ้ามีความจริงจังและตั้งใจทำ คิดว่า ไทย-ลาวอยู่ในประเภทที่สามารถอัปเกรดตนเองเพื่อจะบริหารจัดการพลังงานภายในประเทศ รวมไปถึงการนำคาร์บอนของเราไปเทรดกับตลาดคาร์บอนต่างประเทศ" รศ.ดร.วิศนุรักษ์ ชี้จุดสรุป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...