“วิทยา” จ่อยื่น กมธ.กฎหมายฯ หามาตรการป้องกัน-แก้ปัญหานักโทษหลบหนี

“วิทยา” จ่อยื่น กมธ.กฎหมายฯ หามาตรการป้องกันและแก้ปัญหาระยะยาวหยุดนักโทษหลบหนี ยกกรณี “เสี่ยแป้ง นาโหนด” เป็นกรณีศึกษา พร้อมหาข้อเท็จจริงอุดช่องโหว่

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 นายวิทยา แก้วภราดัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์ว่า จะเสนอญัตติต่อประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ศึกษากรณี นายเชาวลิต ทองด้วง หรือ เสี่ยแป้ง นาโหนด ซึ่งเป็นนักโทษชื่อดัง ต้องคดีร้ายแรงหลายคดี หลบหนีจากการควบคุมของเจ้าหน้าที่ในระหว่างรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2566 และยังไม่สามารถติดตามตัวกลับมาได้ เพื่อให้หามาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นอีก เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นสิ่งสะเทือนขวัญของประชาชน

นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า การหลบหนีครั้งนี้ถือเป็นความไม่ปกติ มีช่องว่างในการควบคุมตัวระหว่างการรักษาพยาบาลในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ดังนั้น คณะกรรมาธิการฯ จะเดินทางไปประชุมที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนัดประชุมที่ศาลากลางจังหวัด เชิญผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดนครศรีธรรมราช สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช มาหารือว่าการหลบหนีครั้งนี้เกิดช่องว่างตรงไหน หรือเกิดจากกระบวนการเตรียมการช่วยเหลือผู้ต้องหา

“ถ้าเกิดจากช่องว่างของทางราชการ จะเสนอมาตรการต่อสภาฯ เพื่อเป็นแนวทางให้กรมราชทัณฑ์ปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาต่อไป ข้อเท็จจริงต้องแยกแยะ การควบคุมตัวในโรงพยาบาลแล้วนักโทษหลบหนี กรมราชทัณฑ์ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เนื่องจากโรงพยาบาลมีหน้าที่รักษาผู้ป่วย เขาไม่ได้แยกแยะว่าเป็นใคร เมื่อเป็นผู้ป่วยส่งมาก็ต้องดูแลรักษา แต่หน้าที่ในการควบคุมต้องเป็นฝ่ายราชทัณฑ์เป็นหลัก กระบวนการศึกษาเหล่านี้ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน หลังจากมีการประชุมแล้วจะได้ข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีก จากนั้นจะเสนอให้สภาฯ พิจารณาต่อไป”

...

ส่วนการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ติดตาม เสี่ยแป้ง นาโหนด จำนวนมาก นายวิทยา ระบุว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว โดยกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจฝ่ายปกครองหลายร้อยคนในการติดตามผู้ต้องหา ถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น อีกทั้งเป็นเรื่องเขย่าขวัญประชาชนโดยทั่วไป คนมีอิทธิพลสามารถหลบหนีการควบคุมได้ แต่ก็ต้องติดตามตัวกลับมาให้ได้

อย่างไรก็ตาม การหลบหนีการควบคุมของกรมราชทัณฑ์ มีมาเป็นระยะ แต่ครั้งนี้สะเทือนความรู้สึกประชาชน จึงต้องหามาตรการป้องกัน ดูว่ารูรั่วไหลอยู่ตรงไหน ไม่เช่นนั้น จะเป็นช่องโหว่ให้คนที่มีอิทธิพล อาศัยช่องทางหลบหนีอีก ส่วนการแก้ไขปัญหาโดยการย้ายเจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่ ต้องมาดูว่าช่องโหว่ใครมีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ ถ้ามีส่วนร่วมแล้วย้ายออกก็ไม่ควรจบอยู่แค่การย้ายพ้นพื้นที่ ถ้าเป็นความบกพร่องในระบบ ก็ต้องหามาตรการ แต่เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าปัญหาเกิดจากอะไรจึงต้องศึกษาและหามาตรการป้องกัน.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...