พบช่องโหว่ใหม่ ‘ชนิดร้ายแรง’ ต้นตอโจรไซเบอร์โจมตีธุรกิจ

การเร่งเดินหน้าทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันทำให้โครงสร้างเครือข่ายระดับองค์กรมีจำนวนมากขึ้นทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว จนกลายสภาพเป็นระบบที่มีความซับซ้อนสูงในด้านการรักษาความปลอดภัย

ที่ผ่านมาการมีระบบที่เปิดเผยต่อสาธารณะยังส่งผลทำให้องค์กรตกเป็นเหยื่อของคนร้ายที่เฝ้ารอโอกาสโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการโจมตีแบบมุ่งเป้าเจาะจง

พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ ได้วิเคราะห์ข้อมูลระดับหลายเพตะไบต์ขององค์กรกว่า 250 แห่งทั่วโลก ในช่วงระหว่างปี 2565 ถึง 2566 เพื่อศึกษาบรรดาช่องโหว่ที่เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต

โดยในรายงานภัยคุกคามระบบบริหารจัดการความเสี่ยงการโดนโจมตีจากภายนอกองค์กร ประจำปี 2023 ของ Unit 42 (2023 Unit 42 Attack Surface Threat Report) พบว่า อาชญากรไซเบอร์ใช้ช่องโหว่ที่เพิ่งค้นพบใหม่ล่าสุดเพื่อโจมตีเป้าหมายอย่างรวดเร็วจนแทบจะทันทีหลังมีการเปิดเผยรายงานเรื่องช่องโหว่

ทั้งนี้ทำให้องค์กรต่างๆ ยากที่จะป้องกันได้ทัน ทั้งในแง่ระยะเวลาที่สั้น และขอบเขตกว้างขวางที่ต้องป้องกัน และรับมือกับระบบอัตโนมัติของคนร้าย

 ‘คลาวด์’ เป้าหมายหลัก

ข้อมูลที่น่าสนใจจากรายงานฉบับนี้ประกอบด้วย ระบบคลาวด์ตกเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญในการโจมตีผ่านช่องโหว่ ความปลอดภัยส่วนใหญ่อยู่บนระบบคลาวด์ โดยคิดเป็น 80% เมื่อเทียบกับช่องโหว่ของระบบที่ติดตั้งภายในสถานที่ขององค์กรที่มีเพียงราว 19%

ปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีบนคลาวด์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุกภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 20% ในแต่ละเดือน

สำหรับองค์กรส่วนใหญ่นั้น 45% ของช่องโหว่ความเสี่ยงสูงที่อยู่บนคลาวด์ในแต่ละเดือนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเซอร์วิสต่างๆ บนระบบคลาวด์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การออนไลน์เซอร์วิสใหม่และ/หรือการแทนที่เซอร์วิสเดิมบนคลาวด์

โดยกว่า 75% ของช่องโหว่ในโครงสร้างระบบด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เข้าถึงได้จากสาธารณะล้วนอยู่บนคลาวด์

เข้าถึงเหยื่อได้ในไม่กี่นาที

คนร้ายโจมตีด้วยความเร็วระดับจักรกล : วันนี้คนร้ายสามารถสแกนหมายเลข IPv4 ทั้งระบบ (ซึ่งมีที่อยู่กว่า 4 พันล้านรายการ) ในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเพื่อหาเป้าหมายที่มีช่องโหว่

จากการวิเคราะห์จุดเปราะบาง และช่องโหว่ที่พบในวงกว้าง 30 รายการ มีอยู่ 3 รายการที่ถูกใช้เจาะระบบภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเปิดเผยช่องโหว่ต่อสาธารณะ ขณะที่ราว 63% โดนนำไปเจาะระบบภายใน 12 สัปดาห์หลังจากนั้น

การเจาะระบบโดยเข้าถึงจากทางไกลกำลังระบาดหนัก : กว่า 85% ขององค์กรที่เก็บข้อมูลมีการเข้าถึง Remote Desktop Protocol (RDP) ผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างน้อย 25% ในแต่ละเดือน

พบด้วยว่า 8 ใน 9 อุตสาหกรรมที่ Unit 42 เก็บข้อมูล มีช่องโหว่ RDP ที่เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งโดนโจมตีด้วยการสุ่มเดาข้อมูลการเข้าสู่ระบบ คิดเป็นอย่างน้อย 25% ในแต่ละเดือน โดยเฉลี่ยแล้วภาคบริการทางการเงิน และหน่วยงานภาครัฐ โดนโจมตีผ่าน RDP ตลอดทั้งเดือน

‘ภาคการผลิต’ เสี่ยงสูงสุด

สำหรับ อุตสาหกรรมสำคัญตกเป็นเป้าหมาย พบว่าภาคการผลิตเผชิญกับความเสี่ยงระดับสูงสุด (48%) ในด้านโครงสร้างระบบไอที, การรักษาความปลอดภัย และระบบเครือข่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในด้านการผลิตและส่งผลกระทบต่อรายได้

ขณะที่ สถาบันการเงินมักเผชิญปัญหาเรื่องเซอร์วิสด้านการแชร์ไฟล์ (38%) อยู่บ่อยครั้ง สำหรับหน่วยงานภาครัฐ นั้น ปัญหาการแชร์ไฟล์ และฐานข้อมูลที่ไม่ปลอดภัยเป็นความเสี่ยงสำคัญของการโจมตี Attach Surfave ที่ต้องเผชิญ คิดเป็นกว่า 46% ของการโจมตีทั้งหมดในหน่วยงานภาครัฐ

ด้านสถานพยาบาลต่างๆ ก็ต้องเผชิญกับปัญหาจากการกำหนดค่าระบบที่ไม่ถูกต้อง และบรรดาช่องโหว่ต่างๆ ที่ทำให้เกิดช่องโหว่สาธารณะในระบบที่ใช้พัฒนาคิดเป็นราว 56%

ส่วนหน่วยงานด้านสาธารณูปโภค และพลังงานต้องเผชิญกับปัญหาระบบควบคุมโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ที่เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต คิดเป็นราว 47%

แนะเคล็ดลับป้องภัยองค์กร

ดังนั้นองค์กรควรที่จะ สำรวจระบบและองค์ประกอบทุกส่วนอย่างต่อเนื่อง: ตรวจสอบส่วนต่างๆ ที่เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ตให้ครบถ้วนแบบเรียลไทม์ รวมถึงระบบ และบริการบนคลาวด์

วางขั้นตอนการแก้ไขปัญหา: ให้ความสำคัญกับช่องโหว่ และความเสี่ยงร้ายแรงตาม CVSS (Common Vulnerability Scoring System) และ EPSS (Exploit Prediction Scoring System)

รักษาความปลอดภัยให้เซอร์วิสด้านการเข้าถึงจากทางไกล: ใช้วิธีการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (MFA) และติดตามเซอร์วิสการเข้าถึงจากทางไกลทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาร่องรอยหรือสัญญาณการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต

ตรวจสอบการกำหนดค่าระบบคลาวด์ที่ไม่ถูกต้อง: หมั่นตรวจสอบ และอัปเดตการกำหนดค่าบนระบบคลาวด์ที่ไม่ถูกต้องเป็นประจำเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานรักษาความปลอดภัยที่ควรปฏิบัติ

 

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...