เปิด 4 'ภัยร้ายไซเบอร์' ตัวท็อป คุกคาม SMB อาเซียน!!!

บิ๊กไซเบอร์ซิเคียวริตี้โลก “แคสเปอร์สกี้” เผยว่า ช่วงครึ่งปีแรกระหว่างเดือนม.ค.-มิ.ย. 2566 โซลูชันของบริษัทสามารถบล็อกการพยายามโจมตีพนักงานธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMB ด้วยมัลแวร์ จำนวน 44,022 ครั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น 364% เมื่อเทียบกับการโจมตีเพียง 9,482 ครั้งในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565

ข้อมูลระบุว่า ครึ่งปีแรกปี 2566 ธุรกิจเอสเอ็มบีในประเทศเวียดนามถูกโจมตีมากที่สุดที่ 25194 ครั้ง รองลงมาคืออินโดนีเซีย 11969 ครั้ง, ไทย 2375 ครั้ง, มาเลเซีย 2184 ครั้ง, ฟิลิปปินส์ 1847 ครั้ง, และสิงคโปร์ 453 ครั้ง

แคสเปอร์สกี้ ออกคำเตือนระวัง 4 ภัยไซเบอร์ตัวท็อป!!

1. Exploits

2. Trojans

3. Backdoors

4. Not-a-virus

แทรกซึม ‘ช่องโหว่’ ซอฟต์แวร์

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ ขยายความต่อถึงภัยคุกคามที่พบบ่อยที่สุด 4 ประเภท 1. Exploits : นับเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อธุรกิจเอสเอ็มบี โดยช่วงหกเดือนแรกของปีซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายและไม่พึงประสงค์มักจะแทรกซึมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ

โดยใช้ประโยชน์จาก exploits ซึ่งเป็นโปรแกรมอันตรายที่ออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ ทั้งอาชญากรไซเบอร์สามารถเรียกใช้มัลแวร์อื่นๆ ในระบบ ยกระดับสิทธิพิเศษของผู้โจมตี ทำให้แอปพลิเคชันเป้าหมายหยุดทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย

2. Trojans : โทรจันเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ภัยคุกคามประเภทนี้เป็นที่รู้จักดีที่สุด เข้าสู่ระบบโดยการปลอมแปลงตัว และเริ่มกิจกรรมที่เป็นอันตราย โทรจันสามารถดำเนินการต่างๆ ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เช่น การลบ การบล็อก การแก้ไข การคัดลอกข้อมูล การรบกวนประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ

ตัวร้าย ป่วนอุปกรณ์พนักงาน

3. Backdoors : แบ็กดอร์เป็นภัยคุกคามที่พบบ่อยอันดับสาม เป็นหนึ่งในประเภทที่อันตรายที่สุด เมื่อเจาะเข้าไปในอุปกรณ์ของเหยื่อได้อาชญากรไซเบอร์จะสามารถควบคุมจากระยะไกล สามารถติดตั้ง เปิด และรันโปรแกรมโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้

เมื่อติดตั้งแล้ว จะสามารถสั่งให้แบ็กดอร์ส่ง รับ ดำเนินการต่างๆ ลบไฟล์ รวบรวมข้อมูลที่เป็นความลับจากคอมพิวเตอร์ บันทึกกิจกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย

4. Not-a-virus หรือ “ไม่ใช่ไวรัส” เป็นแอปพลิเคชันที่ไม่พึงประสงค์ที่สามารถติดตั้งบนอุปกรณ์ของผู้ใช้โดยไม่ได้ตั้งใจ

แม้ว่าแอปพวกนี้จะถูกจัดอยู่ในรายชื่อภัยคุกคามที่แพร่หลายมากที่สุด และอาชญากรไซเบอร์สามารถใช้เพื่อก่อให้เกิดอันตรายได้ แต่ก็ไม่ได้มุ่งประสงค์ร้ายแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม แอปเหล่านี้ก็สร้างความน่ารำคาญ หรือบางครั้งก็เป็นอันตราย เพราะถึงแม้แอปจะถูกกฎหมาย แต่ก็มักจะแอบเข้าไปในอุปกรณ์โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว

อาชญากรไซเบอร์พยายามส่งมัลแวร์และซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์อื่นๆ ไปยังอุปกรณ์ของพนักงานโดยใช้วิธีการต่างๆ ที่จำเป็น เช่น การแสวงหาประโยชน์จากช่องโหว่ อีเมลฟิชชิง และข้อความปลอม แม้แต่บางสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ลิงก์ YouTube ก็อาจถูกใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายโจมตี เนื่องจากพนักงานมักใช้อุปกรณ์เดียวกันในการทำงานและใช้เรื่องส่วนตัว

หนึ่งในวิธีที่มักใช้ในการแฮกสมาร์ตโฟนของพนักงานเรียกว่า “การสมิชชิง” (smishing - การผสมผสานระหว่าง SMS และฟิชชิง) เหยื่อจะได้รับลิงก์ทาง SMS, WhatsApp, Facebook Messenger, WeChat หรือแอปส่งข้อความอื่นๆ หากผู้ใช้คลิกลิงก์ โค้ดที่เป็นอันตรายจะถูกอัปโหลดเข้าสู่ระบบ

ภัยไซเบอร์ ‘วิกฤติครั้งใหญ่’

จากรายงานความสามารถในการฟื้นตัวทางไซเบอร์ล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ในปี 2565 พบว่า นายจ้างจำนวนสี่ในสิบคนยอมรับว่า “เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นวิกฤติครั้งใหญ่สำหรับธุรกิจของตน”

นอกเหนือจากเรื่องยอดขายที่ตกต่ำหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิกฤติความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นวิกฤติที่ยากที่สุดเป็นอันดับสองที่ธุรกิจจะต้องรับมือ หลังจากยอดขายที่ลดลงอย่างมาก

หากพิจารณาจากผลการสำรวจแล้ว การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่ธุรกิจเอสเอ็มบี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ธุรกิจเอสเอ็มบี วางโรดแมปและมีแนวคิดในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ครอบคลุม มีการจัดเตรียม แจ้งเตือน และทีมในการรับมือกับการโจมตีที่ซับซ้อนและตรงเป้าหมายที่สุด

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...