‘ทางสายกลาง’ ของรัฐบาล ในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการ ‘แจกเงินดิจิทัล’

“เศรษฐา ทวีสิน” บอกว่านโยบายนี้จะเป็นตัวกระตุกกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ สร้างการบริโภค เป็นพายุหมุนในระบบเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้เศรษฐกิจในปี 2567 ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี

เมื่อนโยบายนี้ถูกบรรจุไว้ในการแถลงนโยบายของรัฐบาล เราเห็นความเคลื่อนไหวในการเดินหน้าของนโยบายนี้ทันที แม้ว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกอย่างเป็นทางการของรัฐบาลเศรษฐาเมื่อวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมาจะยังไม่มีการบรรจุวาระเรื่องนี้ในการประชุม ครม. แต่ก็มีการมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์” รมช.คลังดูแลเรื่องนี้โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดเพื่อหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องแหล่งเงินที่จะใช้ในโครงการ และไทม์ไลน์ของการขับเคลื่อนโครงการให้ทันตามที่นายกฯกำหนดว่าให้เริ่มได้ภายในเดือน ก.พ.ปี 2567

นอกจากการเตรียมการในเรื่องของ “คน” และ “ระบบ”ที่จะมารองการแจกเงินดิจิทัลแล้วในเรื่องของการเตรียมพร้อมของ “แหล่งเงิน” งบประมาณที่จะมารองรับที่นายกฯบอกเรื่องนี้จะชัดเจนใน 1 เดือน มีการเริ่มขยับในส่วนต่างๆที่สำคัญเพื่อเพิ่ม “พื้นที่ทางการคลัง” ของงบประมาณรายจ่ายปี 2567 โดย ครม.เมื่อวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมาได้มีการทบทวนกรอบนโยบายการคลังระยะปานกลาง 2567 – 2571 โดยมีประเด็นสำคัญคือการปรับเพิ่มการขาดดุลงบประมาณในปี 2567 เพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท

จากการขาดดุลงบประมาณที่ทำไว้ในรัฐบาลก่อนอยู่ที่ 5.93 แสนล้านบาทมาอยู่ที่ 6.93 แสนล้านบาท โดยการขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นการ “รองรับนโยบายใหม่ของรัฐบาล”ซึ่งก็คงไม่พ้นในเรื่องนโยบายแจกเงินดิจิทัลที่จะต้องใช้วงเงินถึง 5.6 แสนล้านบาทมาดำเนินโครงการ

การดำเนินการในลักษณะแบบนี้ก็เท่ากับเป็นการกู้เงินของรัฐบาล แต่เป็นการกู้เมื่อท้ายปีงบประมาณที่จะต้องมีการกู้ขาดดุลมาปิดหีบงบประมาณนั่นเอง

แม้ว่าโครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามการประเมินของคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.) คาดว่าจีดีพีในปี 2567 จะขยายตัวได้ 0.8 – 1% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินจำนวนนี้  ขณะที่รัฐบาลก็หวังให้การเติบโตจีดีพีมีอัพไซด์เพิ่มได้จากที่หน่วยงานเศรษฐกิจคาดการณ์ไว้ในสมมุติฐานการทำงบประมาณว่าในปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะโตแค่2.7 - 3.7% เท่านั้น!

เมื่อรัฐบาลจะเดินหน้าแต่มีเสียงคัดค้านทางออกที่ดีคือการขับเคลื่อนนโยบายด้วย “การเดินทางสายกลาง”

นโยบายนี้มีทางสายกลางได้หลายแนวทาง เช่น วงเงินที่จะแจกอาจไม่ต้องมากขนาด 5.6 แสนล้านบาท แต่อาจจะลดขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจลงมาเหลือแค่ 2-3 แสนล้านบาท เก็บกระสุนเอาไว้ใช้เพิ่มเติมในช่วงเวลาอื่นๆหรือโครงกาารอื่นที่มีความจำเป็นในอนาคต 

ทางสายกลางคือไม่ใช่มุ่งแค่กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นแต่ทำโครงการนี้ให้เป็นประโยชน์กับประเทศระยะยาว เช่น พ่วงเงื่อนไขเช่น การฝึกอาชีพ เพิ่มทักษะแรงงาน รับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และรับกับนโยบายเพิ่มค่าแรงของรัฐบาลด้วย

"ทางสายกลาง” แบบวิถีพุทธเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่ต้องสร้างความสมดุล รู้จักความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

แม้แต่การจะกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่ควรใช้เงินมากเกินไป จนสร้างภาระทางการคลังในระยะยาว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แหล่งข่าวเผย อิสราเอลแจ้งสหรัฐจะทำอะไรบางอย่างในเลบานอน!

เมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนแถลงว่า วิทยุมือถือ (ว.) ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใช้ ได้ระเ...

ว.ฮิซบอลเลาะห์ระเบิด แปะฉลาก ‘เมด อิน เจแปน’

ภาพถ่าย ว.ฮิซบอลเลาะห์ที่ระเบิดเมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) พบฉลาก “ICOM” และ “เมด อิน เจแปน” สำนักข่าวรอยเ...

'บิลลี ไอลิช-โจ โรแกน' เชียร์'คามาลา แฮร์ริส'

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน ป็อปสตาร์ “บิลลี ไอลิช” โพสต์คลิปเคียงข้างพี่ชายบนอินสตาแกรม กระตุ้นให้ผู้ต...

‘รถไฟ’ กระจายความเจริญ กรณีศึกษา: โฮคุริคุ ของญี่ปุ่น | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ได้เห็นการเชื่อมต่อด้วยระบบรางระหว่างกรุงเทพกับลาวแล้วก็อดคิดถึงรถไฟต่างประเทศไม่ได้ เพราะรถไฟไทยเรา...