ป.ป.ช.ลุยสอบข้อเท็จจริง ก่อสร้าง รฟฟ.สีส้ม ประสาน รฟม.ขอหลักฐานเพิ่ม

ตามที่ศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (ศูนย์ CDC) ได้แจ้งข้อมูลมายังสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 เกี่ยวกับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หรือส่วนตะวันออก ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีการประชาสัมพันธ์ว่าดำเนินการก่อสร้างงานโยธาเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่มีแหล่งข่าวแจ้งว่าปัจจุบันการก่อสร้างบางส่วนยังไม่แล้วเสร็จ โดยเฉพาะสัญญาที่ 4 ช่วงคลองบ้านม้า – สุวินทวงศ์ ที่ดำเนินการโดยบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2566 ผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต (นางสาวฐิติวรดา เอกบงกชกุล) ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต (นายธีรัตน์ บางเพ็ชร) ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ (นายพิศิษฐ์ พัฒนกิจจำรูญ) และนายธรรมนูญ ศักดิ์ศรี พนักงานไต่สวนระดับสูง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่บริเวณก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก

ช่วงคลองบ้านม้า – สุวินวงศ์ ตามที่ได้รับแจ้ง โดยได้ร่วมพูดคุยสอบถามข้อเท็จจริงกับรองผู้ว่าการ รฟม. (นายกิตติกร ตันเปาว์) และเจ้าหน้าที่ รฟม. ณ สำนักงานสนามโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 4 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร และลงพื้นที่สถานีแยกร่มเกล้า (หรือสถานีสุวินทวงศ์)

โดย รฟม. ให้ข้อมูลว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก แบ่งการดำเนินการออกเป็น 6 สัญญา    โดยช่วงสัญญาที่มีปัญหาตามที่ได้รับแจ้งจากศูนย์ CDC คือ สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน     ช่วงคลองบ้านม้า – สุวินทวงศ์ ระยะทางประมาณ 8.80 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟฟ้ายกระดับ 7 สถานี ซึ่งมีผู้รับจ้าง   คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (UNIQUE) วงเงินงบประมาณ 9,990,000,000 บาท เริ่มต้นโครงการเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ครบกำหนดวันที่ 2 ตุลาคม 2565 (1,980 วัน) แต่ได้มีการขยายระยะเวลาโครงการอีก 251 วัน เนื่องจากผู้รับจ้างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงมีหนังสือขอขยายระยะเวลา ทำให้สัญญาในส่วนนี้ครบกำหนดตามสัญญาวันที่ 10 มิถุนายน 2566 

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจรับงาน โดยทาง รฟม. ชี้แจงว่า การประชาสัมพันธ์อาจมีความคลาดเคลื่อนทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า งานทุกประเภทต้องแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว และตรวจรับงานแล้ว แต่ในข้อเท็จจริงงานที่แล้วเสร็จคืองานที่เป็นสาระสำคัญ โดยยังไม่รวมงานเพิ่มเติม และ Outstanding work ที่มีหน่วยงานอื่นดำเนินการ     ร่วมด้วย เช่น การคืนพื้นที่ถนน การทำท่อสายไฟฟ้าหรือประปา การเดินรถและระบบอาณัติสัญญาณ เป็นต้น

ทั้งนี้ สำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต ได้ประสาน รฟม. เพื่อขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมต่าง ๆ อาทิ สัญญาก่อสร้าง เอกสารการตรวจรับงาน เอกสารขอขยายระยะเวลาดำเนินการ และใบงานเพิ่ม (Variation Order: VO) (ถ้ามี) เพื่อประกอบการเฝ้าระวังการทุจริตต่อไป รวมทั้งได้เน้นย้ำให้ รฟม. ทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าของการดำเนินการเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อน และหากมีความคืบหน้าประการใด จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...