'นพดล' แจง MOU44 ไม่ทำไทยเสียเกาะกูด ชี้เกมปั่นกระแส จ้องทำลายรัฐบาล
วันที่ส่ง: 01/11/2024 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
ที่รัฐสภา นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะอดีต รมว.การต่างประเทศ แถลงตอบโต้ต่อกรณีที่บางพรรคการเมืองและสื่อโซเชียลมีเดีย ระบุว่า กรอบ MOU44 นั้นทำให้ไทยเสียพื้นที่ของเกาะกูด ว่า เป็นการบิดเบือนโดยความเท็จ ทั้งนี้เกาะกูดยังเป็นของประเทศไทยและที่ผ่านมา ประเทศกัมพูชาไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดดังกล่าวมาก่อน ดังนั้นตนขอเรียกร้องให้หยุดบิดเบือนเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดีตนมองเจตนาผู้ที่ให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงดังกล่าวว่า ต้องการทำลายเสถียรภาพของรัฐบาล
"ขอให้เลิกปั่นกระแสไทยเสียเกาะกูดเป็นความเท็จ รัฐบาลนี้รักประเทศ ไม่มีใครทำให้เสียดินแดน เอ็มโอยู44 ลงนามโดยนายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศขณะนั้น เป็นกรอบการเจรจาเรื่องพื้นที่ทางทะเล และพื้นที่พัฒนาร่วม เนื่องจากไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ทั้ง 2ประเทศเลือกใช้วิธีเจรจาการทูต เป็นที่มาเอ็มโอยู 44 เพื่อวางกรอบเจรจาบนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ ที่สำคัญการเจรจาเอ็มโอยู44 ไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของไทยและกัมพูชา ถ้าเจรจาไม่สำเร็จก็ไม่กระทบสิทธิไทยและกัมพูชา" นายนพดล กล่าว
นายนพดล กล่าวต่อว่า ตนไม่อยากให้นำเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมาบิดเบือนใส่ร้าย อย่างที่ตนเคยถูกกระทำในอดีต สมัยเป็นรมว.ต่างประเทศ ที่ถูกใส่ร้ายเป็นคนยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา ทั้งที่ไทยยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาตามคำตัดสินศาลโลกไปแล้วตั้งแต่ปี2505 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี การใส่ร้ายตนยกเขาพระวิหารให้กัมพูชาจึงเป็นความเท็จและได้รับการพิสูจน์จากการตัดสินของศาลมาแล้วว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นประโยชน์กับประเทศ
"ความพยายามปั่นกระแสเรื่องการยกเกาะกูดให้กัมพูชานั้น มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง ต้องการทำลายเสถียรภาพรัฐบาล เพราะเป็นกระแสอ่อนไหว ถ้าไม่ชี้แจงอาจเป็นไฟลามทุ่งได้ คนไทยไม่ว่าเสื้อสีใดรักชาติเท่ากัน อย่านำประเด็นเรื่องดินแดนมาเป็นประเด็นการเมือง บั่นทอนเสถียรภาพรัฐบาล ถ้ารักชาติจริงต้องเอาความจริงและข้อกฎหมายมาพูด หากยังมีการปั่นแสโจมตี ระบุชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทยทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน หรือ เสียเกาะกูด คิดว่าคงต้องมีการดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายต่อไป" นายนพดล กล่าว
นายนพดล กล่าวย้ำด้วยว่าสำหรับการเจรจรตามกรอบเอ็มโอยู44 ต้องทำโดยคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา(เจทีซี) ประกอบด้วย ตัวแทนจากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กองทัพ กระทรวงพลังงาน คนอื่นไปเจรจาไม่ได้ รวมถึง นายกรัฐมนตรีไม่เกี่ยวข้องการเจรจา และเมื่อการเจรจาในระดับเจทีซีได้ข้อสรุปอย่างไร ต้องนำให้สภาฯ พิจารณาไม่สามารถไปเซ็นข้อตกลงกับกัมพูชาได้ รัฐบาลไม่สามารถงุบงิบทำได้
เมื่อถามว่าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวสามารถแยกส่วนเพื่อนำพลังงานในพื้นที่มาใช้ก่อนได้หรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะตามเอ็มโอยู44 กำหนดให้ต้องทำไปพร้อมกัน ไม่สามารถแยกส่วนใดส่วนหนึ่งก่อนได้.
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
ตัวเลขชี้เศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง แต่คนหนุนพรรครีพับลิกันไม่เชื่อ
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 30 ต.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้แถลงข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญชุดสุดท...
อิหร่านอาจโจมตีอิสราเอลก่อนเลือกตั้งสหรัฐ! l World in Brief
อิหร่านอาจโจมตีอิสราเอลก่อนเลือกตั้งสหรัฐ! เว็บไซต์ข่าว Axios รายงานเมื่อวันพฤหัสบดี (31 ต.ค.) อ้างแ...
เศรษฐกิจสหรัฐโตไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้ง
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน แม้ใช้จ่ายมากขึ้น ผู้บริโภคชาวอเมริกันยังคงกังวลเรื่องโอกาสการจ้างงานและการเง...
'ไอโฟน' แบก Apple ดันยอดขายรวมโต 6% แต่กำไรสุทธิต่ำกว่าคาด
บริษัทแอปเปิ้ล อิงค์ (Apple) รายงานผลประกอบการไตรมาส 4 สิ้นสุดเดือน ก.ย. มีรายรับรวม 94,930 ล้านดอลล...
ยอดวิว