เลี้ยงจิ้งหรีด ‘อาหารแห่งอนาคต’ ด้วยใบมันสำปะหลังลดต้นทุน รักษ์โลก

จากการที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศให้ “แมลง” เป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก ทดแทนแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพื่อรองรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง “จิ้งหรีด” ได้รับการ ยกย่องให้เป็นอีกหนึ่งในแมลงโปรตีนแห่งอนาคตที่ได้รับความสนใจจากผู้เลี้ยงและกลุ่มคนรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจิ้งหรีดจะได้รับความนิยมในตลาดมากยิ่งขึ้น

แต่ปัจจุบันเกษตรกรยังประสบปัญหาในด้านมาตรฐานการผลิตและต้นทุนการผลิตและความมั่นใจของผู้บริโภค สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.( ARDA) ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พัฒนาสูตรอาหารลดต้นทุนจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ยกระดับกระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดไทยให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายวิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดของอาหารโปรตีนจากแมลงทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 14,000 ล้านบาท และจากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) คาดการณ์ว่าในปี 2570 ตลาดจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันกว่า 5 เท่า มีมูลค่าสูงถึง 70,000 ล้านบาท ประเทศไทย ถือเป็นเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงและผลิตโปรตีนทางเลือกจากแมลง

เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเติบโตของแมลง โดยพบว่าประเทศไทยสามารถผลิตแมลงเศรษฐกิจได้มากกว่า 7,000 ตัน/ปี และมีฟาร์มเลี้ยงมากกว่า 20,000 ฟาร์ม โดยจิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีความต้องการของตลาดและเกษตรกรนิยมเลี้ยงมากที่สุด อีกทั้งยังที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์เร็วให้ผลผลิตสูง โดยแม่พันธุ์ 1 ตัว ให้ลูกถึง 1,000 ตัว รวมถึงใช้พื้นที่และปริมาณน้ำในการเลี้ยงน้อย ภายในเวลา 1 ปี จะเลี้ยงจิ้งหรีดได้ 7 - 8 รุ่น เกษตรกรจึงนิยมเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมไว้บริโภคและจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้

ARDA ได้เล็งเห็นปัญหาและโอกาสในลดต้นทุนโดยเฉพาะด้านอาหารซึ่งปัจจุบันราคาประมาณ 600 บาท /30 กิโลกรัม พร้อมทั้งต้องการยกระดับฟาร์มเลี้ยงให้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยเพื่อผลักดันสู่อาหารปลอดภัยมูลค่าสูง จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดำเนินโครงการ “การยกระดับคุณภาพการเลี้ยงจิ้งหรีดสู่อาหารปลอดภัยมูลค่าสูงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านผาแดง อำเภองาว จังหวัดลำปาง” 

 

เพื่อพัฒนาและทดสอบสูตรอาหารลดต้นทุนที่เหมาะสมด้วยพืชผลทางการเกษตรในท้องถิ่น โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน พร้อมพัฒนาระบบจัดการข้อมูลเพื่อติดตามและประเมินผลการผลิตและการตลาด ภายใต้การบริหารจัดการเพื่อพัฒนา RAINS for Upper Northern Food Valley (Increase the value of agricultural products and food by BCG model ) ประจำปี 2566 ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องมากมาย อาทิ การจัดทำคู่มือฟาร์มมาตรฐานเพื่อสร้างแนวทางการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค การพัฒนาผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดแปรรูปต่างๆ อาทิ ผงโรยข้าว อาหารเสริม เครื่องดื่ม การพัฒนาแบรนด์โดยชูจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

" การเลี้ยงจิ้งหรีด ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงเข้ามาช่วยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเลี้ยงและการแปรรูปจิ้งหรีด จะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสให้กับเกษตรกรรายย่อยในการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีนทางเลือกซึ่งจะเข้าไปทดแทนโปรตีนกระแสหลักได้ "

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า คณะผู้วิจัยฯ ได้ลงพื้นที่คัดเลือกฟาร์มต้นแบบในพื้นที่บ้านผาแดง จ.ลำปาง จำนวน 3 ฟาร์ม ได้แก่ ขุนงาวฟาร์ม วรางคณาฟาร์ม รัตน์บ้านสวนฟาร์ม เป็นฟาร์มนำร่องดำเนินโครงการฯ เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดพื้นที่บ้านผาแดงประสบปัญหาการเลี้ยงจิ้งหรีดที่ได้ผลผลิตน้อย โตช้า ตายมาก และมีค่าอาหารสูง ทางคณะฯ จึงได้ค้นหาพืชที่มีอยู่ทั่วไป หาได้ง่าย และมีราคาถูก

ในพื้นที่มาทดลองทำอาหารสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด พบว่าชาวบ้านในพื้นที่บ้านผาแดงปลูกต้นมันสำปะหลังและทิ้งหรือเผาใบมันเป็นจำนวนมาก จึงได้ทดลองนำใบมันสำปะหลังแป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำการทดลอง โดยใช้ใบมันสับปะหลังบดผงทดแทนอาหารสำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาด ในปริมาณที่แตกต่างกัน

โดยผลการทดลองพบว่าสูตรที่เหมาะสมมี 2 สูตร ได้แก่ สูตรอาหารที่ประกอบด้วยอาหารจิ้งหรีดสำเร็จรูปคิดเป็นร้อยละ 70 และมีใบมันสำปะหลังที่ผ่านกระบวนอบแห้งเรียบร้อยแล้วคิดเป็นร้อยละ 30 ทำให้สามารถเก็บผลผลิตจิ้งหรีดได้ภายใน 43 - 45 วัน และ สูตรที่ประกอบด้วยอาหารจิ้งหรีดสำเร็จรูปทางการค้าคิดเป็นร้อยละ 80 และมีใบมันสำปะหลังที่ผ่านกระบวนเรียบร้อยแล้วคิดเป็นร้อยละ 20 สามารถเก็บได้ภายในระยะเวลา 45 - 50 วัน

โดยสูตรอาหารเลี้ยงจิ้งหรีดทั้ง 2 สูตรสามารถผลิตจิ้งหรีดที่มีปริมาณไขมัน ปริมาณโปรตีน ปริมาณใยอาหาร ปริมาณเถ้า ปริมาณคาร์โบไฮเดรต ปริมาณไคติน ปริมาณแคโรทีนอยด์ ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ไม่มีคอเลสเตอรอลและไม่มีไซยาไนด์ ส่งผลให้ต้นทุนในการเลี้ยงจิ้งหรีดลดลงร้อยละ 30 และ 20 ตามลำดับ และจากการนำไปทดลองเลี้ยงเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่า ทั้ง 3 ฟาร์ม พึงพอใจกับสูตรอาหารเป็นอย่างมาก

สามารถผลิตจิ้งหรีดได้ขนาด 3 นิ้ว ภายในระยะเวลา 45 วัน ช่วยร่นระยะเวลาการเลี้ยงจากปกติ 50 – 60 วัน ทำให้ต้นทุนด้านอาหารลดลงได้มากถึงประมาณ 6,200 บาทต่อปี สร้างรายได้รวมกว่า 273,000 บาทต่อปี ที่สำคัญโครงการยังมีส่วนช่วยลดการเผาใบมันสับปะหลังที่สร้างปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ได้อย่างมาก

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

เลี้ยงจิ้งหรีด ‘อาหารแห่งอนาคต’ ด้วยใบมันสำปะหลังลดต้นทุน รักษ์โลก

จากการที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศให้ “แมลง” เป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก ทดแท...

ลุ้นโฉมหน้า 'ผู้ถือหุ้นรายใหม่' ปิดจ๊อบปรับโครงสร้างทุน 'การบินไทย'

แผนฟื้นฟูกิจการของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนปรับโครงสร้างทุน หลังจากเมื่อ...

"แมนฯ ซิตี้" เฮตามเป้า เบียดเชือด "เซาแธมป์ตัน" ขึ้นจ่าฝูงพรีเมียร์ลีก อังกฤษ

"เรือใบสีฟ้า" แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ทำได้ตามเป้า เปิดบ้านเอาชนะ เซาแธมป์ตัน เก็บ 3 คะแนนสำคัญ ขึ้นจ่าฝูง...

มาแล้ว รายชื่อ 11 ตัวจริง "เรอัล มาดริด-บาร์เซโลนา" ดวลเดือด ลา ลีกา สเปน คืนนี้

มาแล้ว รายชื่อ 11 ตัวจริง เรอัล มาดริด และ บาร์เซโลนา ก่อนดวลเดือดศึก ลา ลีกา สเปน คืนนี้ เริ่มแข่ง ...