นักท่องเที่ยวบุก ‘ญี่ปุ่น’ ใช้จ่ายสะพัด 9 เดือนแรก 4 หมื่นล้าน แซงยอดทั้งปี 66

สำนักข่าวนิกเกอิเอเชีย รายงานตัวเลขล่าสุดจากสำนักงานการท่องเที่ยวญี่ปุ่นเผยว่า ภายในเวลาเพียง 9 เดือนแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติใช้จ่าย ในญี่ปุ่นสูงถึง 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่ายอดใช้จ่ายตลอดทั้งปี 2566 ที่ 5.31 ล้านล้านเยน แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวญี่ปุ่นอย่างแข็งแกร่ง 

นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 3 เพียงไตรมาสเดียว นักท่องเที่ยวต่างชาติก็ใช้เงินไปแล้วถึง 1.95 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นถึง 41.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 1.38 ล้านล้านเยน ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งและต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวญี่ปุ่น

เมื่อจำแนกตามประเทศและภูมิภาค พบว่า นักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้นำมาเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวน 656,700 คนในเดือนกันยายน เพิ่มขึ้น 15.1% เนื่องจากเที่ยวบินเช่าเหมาลำระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

รองลงมาเป็นนักท่องเที่ยวจากจีน ราว 652,300 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีเที่ยวบินระหว่างสองประเทศเพิ่มมากขึ้น

ส่วนนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นกลุ่มที่ใช้เงินมากที่สุด โดยมีสัดส่วนการใช้จ่ายสูงถึง  30% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมด หรือคิดเป็นเงินประมาณ 5.1 แสนล้านเยน รองลงมาคือ นักท่องเที่ยวชาวไต้หวัน ที่ใช้เงินไป 2.8 แสนล้านเยน ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้และสหรัฐ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของตลาดเอเชียในฐานะแหล่งนักท่องเที่ยวหลักของญี่ปุ่น

นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 มีการใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 223,000 เยนต่อคน ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 40% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายครั้งนี้คือค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในราคาที่ถูกลง

เมื่อพิจารณาถึงการแบ่งสัดส่วนการใช้จ่าย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนำเงินไปใช้จ่ายกับที่พักมากที่สุด คิดเป็น 33.7% ของงบประมาณทั้งหมด รองลงมาคือค่าอาหารและเครื่องดื่มที่ 21.9% และค่าใช้จ่ายด้านความบันเทิงและบริการอื่นๆ อยู่ที่ 4.7% ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 4.1% ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 สะท้อนให้เห็นว่านักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการเดินทางมากขึ้น

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังใช้เงินจำนวนมากไปกับการช้อปปิ้ง คิดเป็นสัดส่วน 28.9% หรือประมาณ 562,200 ล้านเยน ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจค้าปลีกของญี่ปุ่นอย่างมาก โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า และร้านค้าปลีกอื่นๆ ซึ่งชดเชยยอดขายภายในประเทศที่ซบเซา

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ห้างสรรพสินค้า Daimaru Matsuzakaya ซึ่งมียอดขายปลอดภาษีในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นถึง 140% จากปีก่อน โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ได้แก่ แบรนด์หรู เครื่องประดับ และนาฬิกา

ขณะที่ห้างสรรพสินค้าหรูอย่าง Takashimaya ก็มียอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 130% ในช่วงเวลาเดียวกัน สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อที่แข็งแกร่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ถอดรหัสเกาหลีเหนือไม่ต้องการเจรจาเกาหลีใต้ l World in Brief

ถอดรหัสเกาหลีเหนือไม่ต้องการเจรจาเกาหลีใต้ รายงานจากกองทัพเกาหลีใต้และเคซีเอ็นเอ สื่อทางการเกาหลีเหน...

ญี่ปุ่นจับตา ‘ไทย - มาเลย์’ ร่วมกลุ่ม BRICS หวั่นเปลี่ยนข้างซบ ‘จีน - รัสเซีย’

สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ (SCMP) รายงานอ้างความเห็นนักวิเคราะห์ด้านการเมืองระหว่างประเทศว่า “ญ...

นักท่องเที่ยวบุก ‘ญี่ปุ่น’ ใช้จ่ายสะพัด 9 เดือนแรก 4 หมื่นล้าน แซงยอดทั้งปี 66

สำนักข่าวนิกเกอิเอเชีย รายงานตัวเลขล่าสุดจากสำนักงานการท่องเที่ยวญี่ปุ่นเผยว่า ภายในเวลาเพียง 9 เดือ...

สุลต่าน CEO ฉลอง 50 ปี มาเลย์-จีน (จบ) | กันต์ เอี่ยมอินทรา

มาเลเซีย คือ หนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดที่สุดของไทยเรา และจะมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในฐานะประธานอ...