‘ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค’ ตีโจทย์ ‘ลักชัวรี มิกซ์ยูส’ งัดข้อสู้โอเวอร์ซัพพลาย

ละเอียด ฉายภาพรวมว่า โครงการมิกซ์ยูสที่ได้รับผลกระทบหนักจากปัญหาซัพพลายล้น ส่วนใหญ่อยู่ใน “ตลาดกระแสหลัก” (Mass) และกลุ่มที่พึ่งยอดขายจากลูกค้าชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ซึ่งต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตหลังเจอการระบาดของโควิด-19 โดยผลกระทบนี้ไม่ได้เกิดแค่ตลาดนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่รวมถึงคนที่มาลงทุนก็ลดลงด้วย

“ส่วนมิกซ์ยูสระดับลักชัวรียังมีตลาดอยู่ จากซัพพลายที่ค่อนข้างจำกัด ไม่สามารถพัฒนาได้อีกมากนัก และด้วยโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค จัดอยู่ในระดับซูเปอร์ลักชัวรี ทำให้เราไม่ได้กังวลกับปัญหาโอเวอร์ซัพพลายนัก ประกอบกับมิกซ์ยูสของเราได้รับการพัฒนาใหม่ให้สอดรับกับเทรนด์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การเพิ่มประสิทธิภาพของอาคาร เทรนด์ความยั่งยืน และเทรนด์สีเขียวที่ช่วยเพิ่มคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้คน ตอบโจทย์การพัฒนาเมือง สามารถยืนบนเวทีโลกได้อย่างสง่างาม”

ละเอียด โควาวิสารัช

ศึก 'อัลตรา ลักชัวรี เรสซิเดนส์' ประชันจุดขายชิงลูกค้าไฮเอนด์

สำหรับตลาดที่พักอาศัยระดับ “อัลตรา ลักชัวรี เรสซิเดนส์” (Ultra Luxury Residence) ที่ประกาศเปิดตัวในปัจจุบัน มีราว 4 โครงการด้วยกัน ต่างงัดจุดขายมาประชัน อาทิ วัน แบงค็อก, สโคป หลังสวน, ปอร์เช่ ดีไซน์ ทาวเวอร์ แบงคอก ของค่ายอนันดา จับมือกับ ปอร์เช่ ดีไซน์ และ “เดอะ เรสซิเดนเซส แอท ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” (The Residences at Dusit Central Park)

อาคาร เดอะ เรสซิเดนเซส แอท ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของมิกซ์ยูส “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” มีแบรนเด็ด เรสซิเดนส์ 2 แบรนด์ ได้แก่ “ดุสิต เรสซิเดนเซส” และ “ดุสิต พาร์คไซด์” จำนวนรวม 406 ยูนิต บนอาคารเดียวสูง 69 ชั้น เจ้าของความสูงจากฐานถึงยอดอาคาร 299 เมตร เมื่อพัฒนาแล้วเสร็จจะเป็นอาคารสูงติด “5 อันดับแรก” ของประเทศไทย รองจากแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนต์ เรสซิเดนส์ ทาวเวอร์ 1 ข้างไอคอนสยาม (สูง 315 เมตร), มหานคร (สูง 314 เมตร), ใบหยก ทาวเวอร์ 2 (สูง 304 เมตร) และโฟร์ซีซันส์ ไพรเว็ต เรสซิเดนส์ (สูง 300 เมตร)

เล็งคอลแลปส์แบรนด์เนม ปั้น 'เพนต์เฮาส์' ตัวท็อป จับตาทุบสถิติราคาแพงสุดกลุ่ม 'ลีสโฮลด์'

ปัจจุบันอาคาร เดอะ เรสซิเดนเซส แอท ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค มียอดขายแล้ว 80% แบ่งเป็นสัดส่วนลูกค้าชาวไทย 80% และลูกค้าต่างชาติอีก 20% โดยราคาขายเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 3 แสนปลายๆ ต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากตอนเปิดขายใหม่ๆ ซึ่งเริ่มต้นที่ 3-3.2 แสนบาทต่อตารางเมตร

เฉพาะ “เพนต์เฮาส์” (Penthouse) จำนวน 7 ยูนิต แบ่งเป็นขนาด 450 ตารางเมตร จำนวน 6 ยูนิต และขนาดใหญ่สุดหรือ “ตัวท็อป” กว่า 900 ตารางเมตร จำนวน 1 ยูนิต ตอนนี้ขายได้แล้ว 50% เหลือขาย 3 ยูนิต หนึ่งในนั้นคือเพนต์เฮาส์ตัวท็อปบนชั้น 69 ตอนนี้เล็งดึง “แบรนด์เนม” มาร่วมมือกันทำเพนต์เฮาส์ตัวท็อปนี้ให้ปังๆ แล้วค่อยเปิดขาย ซึ่งยังขออุบราคาไว้ก่อน อาจทุบสถิติราคาแพงสุด! ในกลุ่ม “ลีสโฮลด์” โดยอาจมากกว่า 5 แสนบาทต่อตารางเมตร และอาจแตะ 1 ล้านบาทต่อตารางเมตรด้วย

บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายปิดการขายให้ได้ภายในปลายปี 2568 จากจำนวนยูนิตเหลือขาย 70-80 ยูนิต ทั้งนี้ปัจจัย “เงินบาทแข็งค่า” ยังไม่เห็นผลกระทบต่อผู้ซื้อชาวต่างชาติ เนื่องจากตั้งแต่เปิดขายมา ค่าเงินบาทก็สวิงอยู่ที่ระดับ 32-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐมาตลอด โดยจะเริ่มเปิดให้ลูกค้าเข้าอยู่อาศัยตั้งแต่ปลายปี 2568 เป็นต้นไป และน่าจะพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2569

“นอกจากนี้เรายังมีแผนร่วมทุนกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายอื่น พัฒนาเรสซิเดนส์โครงการใหม่เพิ่ม 1 แห่ง วางกำหนดเปิดตัวเดือน พ.ย.นี้อีกด้วย” ละเอียดกล่าว

 

'ชนินทธ์' บิ๊กดุสิตธานี โล่งอก! ปลื้มฟีดแบ็กโรงแรมโฉมใหม่ 

ชนินทธ์ โทณวณิก รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า หลังจากโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ โฉมใหม่ ซึ่งมีจำนวนห้องพักรวม 257 ห้อง สูง 39 ชั้น เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ก.ย. ทยอยให้บริการบางส่วนก่อน ตอนนี้รู้สึกคล้ายโล่งอก! เพราะที่ผ่านมาบริษัทฯ พยายามพัฒนาโรงแรมโฉมใหม่ให้ออกมาดี และเก็บ “ตำนาน” ของ “ดุสิตธานี” ที่สั่งสมมานานกว่า 50 ปีเอาไว้ โชคดีที่มีทีมงานดี ช่วยกันบริหารจัดการและรักษาอัตลักษณ์หลายๆ อย่าง

“ถ้าเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ และในไทยที่มีความเป็นไทยจริงๆ ไม่ค่อยมีในปัจจุบัน ผมว่าเราต้องช่วยกันเรื่องนี้ และจากฟีดแบ็กหลังเปิดให้บริการพบว่าคนชอบโรงแรมโฉมใหม่ของเรา ทั้งชาวไทยและต่างชาติ เป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัทคนไทยก็ทำอะไรดีๆ ได้ แข่งกับบริษัทต่างชาติได้”

ชนินทธ์ โทณวณิก

 

ส่วนโครงการมิกซ์ยูสเพื่อนบ้านย่านพระราม 4 อย่าง “วัน แบงค็อก” พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการวันที่ 25 ต.ค.นี้ ในมุมเราอยากให้เขาประสบความสำเร็จ เพราะภาพรวมโครงการ วัน แบงค็อก ถือว่าดี จะได้ช่วยกันเปลี่ยนภาพพจน์ของอสังหาริมทรัพย์รอบๆ สวนลุมพินีให้ดีขึ้น

โดยก่อนหน้านี้ สยามสินธร ได้พัฒนาคอมมูนิตี้มอลล์ “เวลา สินธร วิลเลจ” บริเวณหลังสวน ทางฝั่งสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็มีการลงทุนพัฒนาอาคารใหม่ ปรับปรุงอาคารเก่า นำสิ่งอำนวยความสะดวกดีๆ เข้ามา ทุกอย่างในย่านพระราม 4 ได้รับการยกระดับให้ดีหมด!

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

สหรัฐพร้อมรับมือต่างชาติป่วนเลือกตั้ง

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงาน หน่วยข่าวกรองของสหรัฐบรรยายสรุปแก่ผู้สื่อข่าวถึงกิจกรรมของรัสเซีย จีน อิหร่...

ศิริราชเมดิคัล ดิสทริคบูมอสังหาฯฝั่งธนฯปักหมุดชิงเรียลดีมานด์-ปล่อยเช่า

อาทิตยา เกษมลาวัณย์ หัวหน้าแผนกซื้อขายโครงการที่พักอาศัย ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า พื้นที่ย่านศิ...

เรื่อง “เมื่อผู้บริหาร บจ. ซื้อขายหุ้น (ที่มีนัยสำคัญ) ผู้ลงทุนต้องรู้”

กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะที่อาจล่วงรู้ข้อมูลภายใน (inside information) ...

ตลาดกระทิงเซินเจิ้น จริงแค่ไหน

หุ้นจีนพุ่งแรงหลังทางการจีนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่จะไปต่อได้อีกไหมจากตรงนี้? เป็นคำถามหลักในใจนักลง...