ธนจิรา กรุ๊ป นำแฟชั่น สู่เครื่องดื่ม-ฟู้ด ผนึกเชฟดัง เปิด ‘Bread Street’

แบรนด์กลุ่มสินค้าแฟชั่นไทยในปี 2566 ในกลุ่มพรีเมียม เป็นตลาดที่มีทิศทางขยายตัวดี แรงหนุนกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อดีอยู่และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทย ทำให้มีแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาเปิดสาขาในไทยต่อเนื่อง ทั้งใน กทม. ต่อเนื่องไปจนถึงเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ปักหมุดไทยเป็นตลาดสำคัญในภูมิภาคอาเซียน สะท้อนกำลังซื้อระดับบนยังมาแรง

ทิศทางดังกล่าว ทำให้หลายธุรกิจขยับตัว รวมถึง ​​​​​​ธนจิรา รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ ธนจิรา กรุ๊ป ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ต่างๆ ที่ดำเนินการมาร่วม 13 ปี จากจุดเริ่มต้นเครื่องประดับพรีเมียมแบรนด์ Pandora, กระเป๋าและเครื่องแต่งกายระดับพรีเมียมแบรนด์ Marimekko, กระเป๋าพรีเมียมแบรนด์ Cath Kidston, ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและความงาม รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการสปาระดับลักซ์ชัวรี จากแบรนด์กลุ่ม HARNN 

 

วางเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจครั้งใหม่ ทั้งขยายธุรกิจไปสู่กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมนำแบรนด์ใหม่กลุ่มอาหารเข้ามาทำตลาดในไทย กับร้าน “Bread Street” ที่มีเจ้าของเป็นเชฟชื่อดังระดับโลก กอร์ดอน แรมซีย์ วางไมล์สโตนธุรกิจแข็งแกร่ง เดินหน้าสู่ผู้นำในภูมิภาค

ธนพงษ์ จิราพาณิชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนจิรา รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TAN เปิดเผยว่า กล่าวว่า การขยายธุรกิจกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ไปสู่ธุรกิจเครื่องดื่มและอาหาร ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีก่อน จากแบรนด์แรก Marimekko ได้เปิดป๊อปอัพ-คาเฟ่ ต่อมาแบรนด์ Cath Kidston สู่ Tearoom มาจากการที่บริษัทต้องการขยายธุรกิจให้ครอบคลุมและการมองเห็นโอกาสตลาดที่กำลังขยายตัว รวมถึงสอดรับรับไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมาย

Marimekko ป๊อปอัพ-คาเฟ่ แห่งแรกที่ เอ็มบาสซี และในปีนี้เปิดใหม่ที่ เอ็มโพเรียม สร้างการเติบโตในสาขาเดิมถึง 33% ในช่วงที่ผ่านมา นับเป็นโมเดลความสำเร็จครั้งสำคัญ และได้ทำเป็นแห่งแรกของแบรนด์ Marimekko ทำให้เจ้าของแบรนด์ที่ประเทศฟินแลนด์ ยอมรับ รวมถึงสร้างภาพจำของแบรนด์ใหม่ในไทยว่ามีสินค้าในกลุ่มแฟชั่นและกระเป๋า ซึ่งสร้างการเติบโตที่ดีมาก ทำให้บริษัทในประเทศญี่ปุ่นต้องมาศึกษางาน

“ภาพรวมบริษัทมีแบรนด์แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในเครือที่มีความหลากหลาย แต่ได้วางกลยุทธ์ของแต่ละแบรนด์ให้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และปรับยุทธ์ใหม่ให้เหมาะสมกับตลาดในประเทศไทย ทำให้ทุกแบรนด์เติบโต" 

 

การวางกลยุทธ์ในแต่ละแบรนด์ให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า ทำให้แบรนด์ Marimekko สร้างยอดขายกระเป๋า Tole Bag อันดับหนึ่งผ่านลาซาด้า รวมถึงสร้างยอดขายกระเป๋าได้ปีละกว่า 20,000 ใบ พร้อมได้รับสิทธิ์จากแบรนด์ Marimekko ไปทำตลาดในประเทศสิงคโปร์ ส่วนแบรนด์ Cath Kidston จากประเทศอังกฤษ เป็นแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ได้ปรับให้มีเป็น functionality ทำให้บริษัทได้รับสิทธิ์กับการทำตลาดในเวียดนาม ส่วน Pandora กลายเป็นแบรนด์เครื่องประดับที่คนไทยรู้จักมากที่สุดและสร้างยอดขายอันดับหนึ่งผ่านเว็บไซด์ ลาซาด้า ในกลุ่มเครื่องประดับ รวมถึงปรับให้สินค้าเข้าไปอยู่ในส่วนนึงของชีวิตประจำวันทุกคน

แบรนด์เดียวที่บริษัทเป็นเจ้าของ “HARNN” ได้ปรับไปสู่ Wellness & Hospitality สร้างการเติบโตสูงต่อเนื่อง โดยมีการขยายธุรกิจทั้งลงทุนเอง และรูปแบบแฟรนไชส์ รวมถึงมีความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก ส่วนในปีต่อไปเตรียมเปิดสาขาใหม่ในญี่ปุ่น รวมถึงรุกตลาดอีคอมเมิร์ซของจีนอย่าง T-Mall JD.com ต่อเนื่อง พร้อม TikTok ของจีนที่เตรียมเข้าไปทำตลาดครั้งแรก

สเต๊ปขยายธุรกิจต่อไป ยังมุ่งเป้า 4 ตลาดหลักที่สำคัญทั้งในไทย เวียดนาม สิงคโปร์ และญี่ปุ่น พร้อมขยายธุรกิจภายใต้แนวคิด “Bring The Best of The Brand to The Best of Thailand” ร่วมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่กลุ่มลูกค้า พร้อมวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจต่อยอดพอร์ตโฟลิโอต่อเนื่อง ขณะเดียวกันได้ดึงร้านอาหารชื่อดัง ของเชฟระดับดังโลก กอร์ดอน แรมซีย์ มาเปิดในไทยครั้งแรก กับแบรนด์ Bread coffee สาขาแรกที่ศูนย์การค้า ดิ เอ็มสเฟียร์ ภายในปีนี้ โดยได้รับสิทธิ์ 10 ปี

ภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกภายในประเทศ มีทิศทางขยายตัว จากทั้งการใช้จ่ายที่เริ่มกลับมาหลังโควิดผ่านไป การเปิดประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว โดยประเมินว่า การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนไทยจะทยอยฟื้นตัวและเพิ่มขึ้นเป็น 10.1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2569 เติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ในช่วงปี 2564 – 2569 คิดเป็น 3.8% ต่อปีรวมถึงมาจากการกระตุ้นการบริโภคในประเทศจากภาครัฐและมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ 

 

ส่วนตลาดกลุ่มสินค้าแฟชั่น จากการประเมินของ Frost & Sullivan คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมกระเป๋าถือระดับพรีเมียมในราคาที่สามารถเข้าถึงได้จะเติบโตในระดับ16.7% อุตสาหกรรมกระเป๋าและเสื้อผ้าในระดับพรีเมียมจะเติบโต 9.2% อุตสาหกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมความงามและสุขภาพและบริการสปาในระดับพรีเมียมจะเติบโต 23.6% อุตสาหกรรมกลุ่มเครื่องประดับระดับพรีเมียมในราคาที่สามารถเข้าถึงได้จะเติบโต 11.8% ในช่วงระหว่างปี 2565 ถึงปี 2569 มาจากการขยายตัวของชุมชนเมืองและการท่องเที่ยว รวมถึงรายได้ครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมที่เติบโต

ธนพงษ์ กล่าว่าผ่าน ไมล์สโตนแรกของธุรกิจแล้ว พร้อมได้วางไมล์สโตนต่อไป คือการสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งและสร้างความยั่งยืน ทำให้บริษัทมีแผนนำบริษัทเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้ชื่อว่า TAN โดยคาดว่าจะดำเนินการในช่วงปลายปี 2566 นี้ ซึ่งจะเป็นส่วนนึงของระบบเศรษฐกิจและเป็นไปตามแนวทางของบริษัทชั้นนำ พร้อมวางแผนขับเคลื่อนองค์กร ก้าวสู่ผู้นำ ไลฟ์สไตล์แฟชั่นชั้นนำในภูมิภาค ภายใน 5 ปี

ภาพรวมยอดขายของบริษัทในช่วงครึ่งปีแรก ขยายตัว 17% ส่วนในปีก่อน สร้างยอดขายรวมมากกว่า 1,200 ล้านบาท สัดส่วนยอดขายหลักมาจากแบรนด์ Pandora, ประมาณ 50% Marimekko 17%  ประมาณ 10%

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...