“ทวี” ย้ำ แก้มาตรฐานจริยธรรมนักการเมือง นิยามต้องชัด ยืนกรานอำนาจองค์กรอิสระต้องสมดุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยืนยันหนุนแก้มาตรฐานจริยธรรมนักการเมือง แต่ทุกอย่างต้องเป็นลายลักษณ์อักษรไม่คลุมเครือ แจงยกตัวอย่างผู้พิพากษาเคยทำผิดในวัยเด็ก เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นถึงขอบเขต นิยาม และบรรทัดฐานที่ชัดเจน

วันที่ 21 กันยายน 2567 พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนล่าสุด ยืนยันว่า เห็นด้วยกับมาตรฐานจริยธรรม และการตรวจสอบพฤติกรรมตลอดจนการทุจริตของนักการเมือง แต่ทุกอย่างควรมีถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือที่ประชาชนทุกคนเข้าใจและยึดถือปฏิบัติได้เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

ก่อนหน้านี้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ 2 ครั้ง ในห้วง 2 วันที่ผ่านมา คือ วันที่ 18 และ 19 กันยายน 2567 โดยในการสัมภาษณ์สื่อมวลชนครั้งแรก มีคำสำคัญที่ถูกนำไปเสนอข่าวอย่างกว้างขวาง คือ ไม่ควรให้เรื่องจริยธรรมเกิดการตีความได้อย่างไม่มีขอบเขต จนกลายเป็นสมบัติส่วนตัวของบางคนบางฝ่ายในการใช้ตีความให้เกิดผลร้ายทางการเมือง ส่วนการให้สัมภาษณ์ครั้งหลัง พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยกตัวอย่างทำนองว่า แม้แต่ผู้พิพากษาเองอาจเคยเป็นผู้กระทำความผิดตอนที่เป็นเด็กก่อนอายุ 18 ปี มีประวัติอาชญากร แต่ก็สามารถเป็นผู้พิพากษาได้ เพราะมีกฎหมายปกป้องเด็กเอาไว้ หากเด็กและเยาวชนกระทำผิดก่อนอายุ 18 ปี ไม่ให้บันทึกประวัติ จึงเหมือนเป็นการล้างโทษสามารถรับราชการเป็นตุลาการก็ยังได้ ซึ่งภายหลังคำสัมภาษณ์เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่ามีบางฝ่ายหยิบบางช่วงบางตอนไปโจมตีและทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน

ล่าสุด พันตำรวจเอก ทวี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ชี้แจงโดยย้ำว่า เห็นด้วยกับการตรวจสอบจริยธรรม รวมถึงพฤติกรรมส่อทุจริตต่าง ๆ แต่ต้องมีนิยามที่ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดการตีความมากเกินไปจนไม่มีบรรทัดฐานที่แน่นอน โดยเฉพาะเรื่อง “ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” และ “มาตรฐานจริยธรรม” ซึ่งวันนี้ถูกนำมาเป็นประเด็นทำลายล้างทางการเมืองอย่างกว้างขวาง

...

ส่วนการที่ตนยกตัวอย่างผู้พิพากษาเคยทำผิดเมื่อครั้งที่เป็นเยาวชนนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง และไม่ได้ต่อว่าใคร เพียงแต่ต้องการยกตัวอย่างให้เห็นว่า ทุกเรื่องควรมีขอบเขตที่ชัดเจน อย่างเช่น การกระทำผิดในวัยเด็ก หรือช่วงที่เป็นเยาวชน พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว คุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชน ห้ามมิให้เปิดเผยหรือนำประวัติการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนป้องกันการเลือกปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมแก่เด็กหรือเยาวชน ที่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ทำให้เด็กคนหนึ่งที่เคยกระทำผิดไม่ถูกเปิดเผยประวัติยังสามารถรับราชการในหน่วยงานรัฐต่าง ๆ บางคนเป็นถึงผู้พิพากษาได้ และทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้ ตนยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นว่าทุกเรื่องควรมีขอบเขต นิยาม และบรรทัดฐานที่ชัดเจนเท่านั้น

พันตำรวจเอก ทวี กล่าวด้วยว่า องค์กรอิสระไม่ควรมีอำนาจมากเกินไป ควรอยู่ในจุดสมดุล แม้ว่าองค์กรอิสระมีไว้เพื่อถ่วงดุล แต่ควรอยู่ในกรอบที่มีความชัดเจน จะได้ไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพราะสุดท้ายผลร้ายก็จะตกอยู่ที่องค์กรอิสระนั้น ๆ เอง ส่วนการตรวจสอบทุจริต หรือการกระทำผิดนั้น ตนเห็นด้วยแน่นอน และไม่ได้คัดค้านแต่ประการใด

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

รมต.สหราชอาณาจักร เสร็จภารกิจเยือนไทยย้ำร่วมมือ รัฐบาลแพทองธาร

แคทเธอรีน เวสต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนา รับผิดชอบกิจการอินโด-แปซิฟิก (รม...

'อิสราเอล' ถล่มกรุงเบรุตเด็ดชีพผบ. 'ฮิซบอลเลาะห์' มีผู้เสียชีวิตแล้ว 14 ราย

สำนักข่าวเอพีรายงาน พล.ร.ต.แดเนียล ฮาการี โฆษกกองกำลังป้องกันอิสราเอลกล่าวยืนยันว่า อิสราเอล สามารถป...

‘บัฟเฟตต์’ มอบเงินมหาศาลให้การกุศล แต่ทำไมถึงไม่มอบเงินก้อนโตให้ลูกๆ ตัวเอง

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) หนึ่งในนักลงทุนระดับตำนานที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มียอดทรัพย์สินสุทธิ ...

ค่ายรถไฟฟ้าเวียดนามอ่วมหนัก 'วินฟาสต์' ขาดทุนพุ่ง 27% ไตรมาส 2

บริษัทวินฟาสต์ (Vinfast) ค่ายรถไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2024 ขาดทุนเพ...