ดีอี จับมือ Meta หนุนใช้ AI เพิ่มขีดความการแข่งขัน ปั้นดันไทยสู่ฮับดิจิทัล

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า เป้าหมายในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น ดิจิทัล อีโคโนมี ฮับ ที่มีความมั่นคงและยั่งยืน พร้อมก้าวสู่การแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแข็งแกร่งและมั่นคง ผ่านแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ โซเชียลมีเดีย

จำเป็นต้องมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ตามนโยบายการขับเคลื่อน “The New Growth Engine of Thailand” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ กลุ่ม SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ซอฟต์พาวเวอร์ด้านต่างๆของประเทศ

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ Meta ได้ร่วมทำงานกับหน่วยงานของภาครัฐ ทั้งด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับ ททท. และการส่งเสริมองค์ความรู้ข้อมูลเชิงลึกให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว สามารถปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบ รวมทั้งการนำ AI เข้ามาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจไทยเข้าถึงตลาดทั่วโลก 

กระทรวงดีอี เชื่อว่าการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลที่เหมาะสม ไม่เพียงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังเป็นการสร้างความปลอดภัยในสังคมดิจิทัลที่ปัจจุบันอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

"ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและเอกชน วางแผนสร้างนโยบายและมาตรการที่ครอบคลุมและยืดหยุ่น เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการการช่วยเหลือทางภาษีสำหรับผู้ประกอบการ ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า การพัฒนากฎหมายที่สร้างความปลอดภัยในสังคมดิจิทัลและเป็นมิตรต่ออุตสาหกรรม และการพัฒนากำลังคนให้ความรู้และทักษะ AI ที่จำเป็นต่อการต่อยอดในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล"

ขณะเดียวกัน กระทรวง ดีอี ยังได้เสนอให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) โดยเพิ่มคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีหน้าที่ ศึกษา ทบทวนกฎหมายรองรับการขับเคลื่อนและการพัฒนาเทคโนโลยี AI ของประเทศ

จัดทำแนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล (AI Governance Guideline) ให้กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สู่การนําไปปฏิบัติต่อไป เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนา AI อย่างมีจริยธรรม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการนำเทคโนโลยีไปใช้แบบไม่ถูกต้อง สนับสนุน Responsible AI และการพัฒนาทักษะ AI ของประชาชนในทุกระดับ ผ่านการอบรมทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ร่วมกับภาคเอกชน ให้มีความพร้อมสำหรับความต้องการของตลาด

“หนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาล คือ การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ผลักดันให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยใช้ต้นทุนและทรัพยากรความหลากหลายทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยว อาหารไทย แฟชั่น ศิลปะและดนตรี ที่มีศักยภาพในการดึงดูดความสนใจจากทั่วโลก กระทรวงดีอี พร้อมสนับสนุนการนำเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ข้อมูล และพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละตลาดเพื่อปรับเนื้อหาและการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยและดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก” นายประเสริฐ กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...