"มุข" วอน รัฐ แก้ ราคายางพารา ตกต่ำ "ปุ๋ยแพง" หารือ "อียู" เลิกแซงชั่น

เลขาฯ ประธานสภาฯ เผย ชาวสวนยางเดือดร้อนหนัก ราคายางตกต่ำ วอน ภาครัฐ แก้ปัญหาปุ๋ยแพง หารือ "อียู" เลิกแซงชั่น เหตุเข้าใจผิด แล้วหันกลับมารับซื้อ ชี้ ทำได้ ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นแน่นอน

วันที่ 10 ก.ย. 66 นายมุข สุไลมาน อดีต สส.ปัตตานี พรรคไทยรักไทย และเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ได้รับข้อร้องเรียนจากชาวสวนยางพารา จากปัญหาราคาตกต่ำ แต่มีต้นทุนที่สูง สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวสวนยาง และคนรับกรีดยางเป็นอย่างมาก

เรื่องของต้นทุนสูง เกิดจาก ราคาปุ๋ยที่ขยับแพงกว่าเดิมเกือบ 2 เท่า หรือเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าหนักมาก ต่อผู้ปลูกยาง สำหรับทางแก้ รัฐบาลควรสั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำนักวิชาการเกษตรหาแหล่งปุ๋ยที่มีราคาถูกมาจำหน่ายให้เกษตร และให้นักวิชาการเกษตร ผู้ที่มีความรู้ ผู้ที่มีความชำนาญเกี่ยวกับยางพารา ช่วยมาส่งเสริมให้ความรู้กับชาวบ้าน เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยใช้เอง เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวสวนยางผลิตปุ๋ยอย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ราคาปุ๋ยนั้นถูกลง

นายมุขกล่าวว่า ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ เรื่องตลาด ปัจจุบันไทยขายยางพาราให้กับประเทศจีน แต่ยังไม่มีตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการถูกแซงชั่นจากตลาดยุโรป (อียู) เนื่องจาก สหภาพยุโรป ไม่ยอมรับซื้อยางพาราจากไทย เนื่องจากเข้าใจว่า ชาวสวนยางไปตัดไม้ทำลายป่าแล้วนำพื้นที่มาปลูกยางพารา แต่ในข้อเท็จจริง คือ ชาวบ้านไปปลูกยางพารา ในที่ของตนเองและในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ที่รัฐบาลให้สิทธิในการเช่า เรื่องนี้ รัฐบาลต้องทำให้สหภาพยุโรปและชาวโลก เข้าใจเสียใหม่ว่า ชาวบ้านไม่ได้บุกรุกป่า แต่อย่างใด ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาได้อีกทางหนึ่ง ปัจจุบันเราขายให้เฉพาะกับประเทศจีน จึงถูกกดราคา ทำให้ราคายางตกต่ำ หากเราได้ชี้แจงให้สหภาพยุโรปยอมรับ ก็จะทำให้ไทยมีตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะขายยางพาราให้กับประเทศอื่นๆ ได้ด้วย

...



นายมุข กล่าวอีกว่า นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ สมัยเดินทางไปประชุมรัฐสภาฯ อาเซียนเมื่อ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้หารือกับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เกี่ยวกับปัญหายางพาราเนื่องจากประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีการผลิตยางจำนวนมาก ซึ่งได้หารือเกี่ยวกับเรื่องราคายางพารา หากอินโดนีเซียกับไทย จับมือกัน ประสานงานกันเพื่อปกป้องราคายางพารา ก็จะทำให้ราคายางพาราในตลาดสูงขึ้น

รัฐบาลไทย ก็ต้องทำความเข้าใจกับตลาดในอียูและประเทศต่างๆ ในโลก โดยเฉพาะการทำความเข้าใจ การบุกรุกป่า หากทำให้ อียูเข้าใจและยอมรับ อียูก็จะยกเลิกแซงชั่น จะทำให้ ไทยขายยางไปได้ทั่วโลก ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาทางตลาดและแก้ไขปัญหาราคายางพาราได้อีกแนวทาง

หากรัฐบาลแก้ไขต้นทุนการทำสวนยางพารา จากราคาปุ๋ยที่สูงขึ้น ต้องหาตลาดปุ๋ยที่มีราคาต่ำแล้วดำเนินการโดยให้ความรู้ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนผลิตปุ๋ยใช้เอง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ได้ผลิตปุ๋ยให้กับเกษตรกรเพื่อที่ปุ๋ยจะได้มีราคาถูก และควรทำให้เห็นอย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมามีการเรียกร้องแต่ยังไม่มีอะไรชัดเจนเป็นรูปธรรม ส่วนตัวไม่อยากเห็นชาวสวนยาง ต้องมาโค่นยางทิ้ง ซึ่งตอนนี้มีชาวสวนยางจำนวนไม่น้อย ที่ต้องโค่นยางเพราะราคายางตกต่ำแล้วหันไปทำอย่างอื่น

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...