'วิโรจน์'จี้ 'นายกฯ' แจงปม 'คารม' ใช้ช่องทางรัฐบาล ชี้นำ-กดดันศาล ยุบก้าวไกล

5 สิงหาคม 2567 อาคารรณนภากาศ กองทัพอากาศ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีนายคารม พลพรกลาง รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมวิจารณ์ปมคดียุบพรรคก้าวไกล ว่า พรรคก้าวไกลเคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่กังวลท่าทีของ นายคารม  รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีมากกว่า และคิดว่า เป็นข่าวไม่จริง จนกระทั่งไปพบข่าวนี้ใน เว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวของรัฐบาล มันหมายความว่าการพูดของบุคคลท่านนั้น พูดในนามรองโฆษก หรือกองโฆษกของรัฐบาล และหากลองฟัง ที่ไหนคารมให้สัมภาษณ์ มีลักษณะชี้นำ และข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ หากศาลรัฐธรรมนูญไม่กล้ายุบพรรค พร้อมกับเขียนถึงเงื่อนไขหลายข้อ 

นายวิโรจน์ มองว่า การกระทำแบบนี้ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณา ว่าเข้าข่ายการชี้นำศาล หรือกดดันศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งคนที่จะต้องออกมาตอบคำถามนี้คือ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ว่า อนุญาตให้กองโฆษกออกมาให้ข่าวในลักษณะที่ อาจทำให้สังคมเข้าใจได้ว่า เป็นการสร้างเงื่อนไข ชี้นำ และข่มขู่ ศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร เพราะเวลาที่พรรคก้าวไกล แถลงข่าวมักจะพูดถึงข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง และแนวทางการสู้คดี แต่ไม่เคยมีการชี้นำศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการชี้นำสาธารณรัฐธรรมนูญนั้นมีอยู่ 2 องค์ประกอบหลัก คือ ต้องตัดสินแบบนี้ หรือ หากศาลรัฐธรรมนูญไม่ตัดสินแบบนี้ จะต้องเจอแบบนี้ ซึ่งคำพูดเหล่านี้ไม่เคยออกมาจากปากใครของพรรคก้าวไกล เพราะฉะนั้นคนที่ต้องออกมาตอบคำถามนี้ คือ นายเศรษฐา นายกรัฐมนตรี 

เมื่อถามต่อว่า การกระทำลักษณะนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า การยุบพรรคก้าวไกล เป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ นายวิโรจน์ ตอบว่า ก็คิดแบบนั้นได้ แต่ขอวิงวอนให้นายเศรษฐา ได้ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ เพราะข่าวดังกล่าว ไม่ได้เกิดมาจาก สำนักข่าวต่างๆ แต่มาจากเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นการใช้กองโฆษกของรัฐบาลมาสื่อสาร เป็นลักษณะที่ประชาชนอาจจะเข้าใจได้ว่า เป็นการชี้นำ กดดัน สร้างเงื่อนไขให้กับสาธารณรัฐธรรมนูญ  ซึ่งมองว่า อำนาจบริหารไม่ควรก้าวก่ายองค์กรอิสระ

ส่วนข้อกล่าวหาที่ถูกมองว่า ดึงต่างชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวในกระบวนการ นายวิโรจน์ ถึงกับร้องโอ้โห ก่อนกล่าวว่า ขอตั้งคำถามว่า หากจะปิดไม่ให้มีการสื่อสารกับองค์กรสากลใดๆเลยนั้น อยากจะปิดประเทศกันหรือไม่ บอกว่าควรให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่สื่อสาร หากเนื้อหาที่สื่อสาร เป็นเนื้อหาที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วจะกลัวอะไร ย้ำว่า ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเปิด โอลิมปิกยังส่งนักกีฬาไปแข่งขันเลย วันนี้จะปิดประเทศแล้วหรือ เพราะฉะนั้นการสื่อสารกับองค์กรสากล สถานฑูต เนื้อหาที่สื่อสารนั้นมีความถูกต้องชอบธรรม ตามหลักกฎหมายไทยและตามหลักกฎหมายสากล ไม่เห็นมีตรงไหนที่จะต้องนั่งกังวล เพราะนายกรัฐมนตรีก็เดินสายอยู่บ่อยๆ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...