การเปลี่ยนแปลงจาก 'ตัวเอง - ภาคธุรกิจ' สู่โครงสร้างที่ยั่งยืนได้อย่างไร

 

ปัณวรรธน์ นิลกิจศรานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายวิศวกรรมโครงสร้าง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ตัวแทนจากภาคพลังงาน กล่าวในงาน The People  ‘Be the Change’ ภายใต้แนวคิด ‘Sustainable in Everyday Life’ ยั่งยืนได้เมื่อเราเปลี่ยน ว่า ความท้าทายสำหรับธุรกิจพลังงานต้องเผชิญกับคำว่า Energy Trilemma ทางแยกสามทางที่ยากลำบากในการตัดสินใจระหว่างการผลิตพลังงานที่สะอาด, การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยราคาพลังงานที่เข้าถึงได้ และ ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งยังไม่สามารถทำทั้งหมดไปด้วยกันได้

สิ่งที่เชฟรอนกำลังทำคือการพัฒนาเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ “ทางออกที่โลกนี้ต้องทำ คือเทคโนโลยีเพื่อทำให้พลังงานทางเลือกมีราคาถูกลงหรือทำให้การผลิตพลังงานปล่อยคาร์บอนน้อย จึงจะทำให้สามเหลี่ยมความท้าทายขยับเข้ามาใกล้กันได้

สมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ความยั่งยืนคือการทำให้ธุรกิจสร้างสมดุลระหว่างการกำไรตอบแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างเหมาะสม โปร่งใสและการสร้างอิมแพคให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งผลพลอยได้ก็คือการทำให้มีคนรุ่นใหม่อยากมาร่วมงานด้วย เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยงขององค์กรด้วยเช่นกัน ในการบริหารงานในด้านความยั่งยืนเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลก สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่อยู่ใน scope 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์

ซึ่งความท้าทายของการบริหารธุรกิจคือการเน้นย้ำในส่วนโปรดักซ์ที่ส่งมอบให้กับลูกค้า ด้วยการตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2050 ที่จะสร้าง Netzero Home ขับเคลื่อนผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว, การก่อสร้างนวัตกรรมเพื่อโลก และการออกแบบและสถาปัตกรรมธรรมชาติ 

 



 

 

อารภัฏ สังขรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวว่าเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเน้นในการหาแหล่งลงทุนให้กับธุรกิจต่างๆ สำหรับคำนิยามของความยั่งยืนในมุมมองสถาบันการเงินคือการ “Democratize Investing” ที่ต้องการให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนให้มากขึ้น ด้วยการวางแนวทางเพื่อเปลี่ยนมายเซตให้กับคนภายในองค์กรในการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม

ปรับเปลี่ยนโปรดักซ์เพื่อเข้าถึงคนในวงกว้างขึ้นด้วยทำให้เข้าถึงง่ายและเหมาะกับคนใช้งานหน้าใหม่ ผ่านแอป MayBank Invest “หน้าที่ของเมย์แบงค์ต้องการช่วยถ่ายทอดการสร้างความรู้ด้านการลงทุนให้กับพนักงานในบริษัทต่างๆ สถาบันการนักศึกษา และออนไลน์”    

ณัษฐพงษ์ ธรรมฉัตรพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธรรมฉัตร เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด ผู้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ฟรอลิน่า กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอ ส่งผลทางลบในเชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะวัตถุดิบหลัก เช่น ฝ้ายนั้นต้องใช้น้ำจำนวนมากในกระบวนการผลิต นอกจากวัสดุที่ทำให้ต้นทุนการทำสินค้าเพื่อให้กลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ยังต้องคำนึงถึงกระบวนผลิต การจัดจำหน่าย และร้านค้าปลีก ซึ่งส่งผลต่อ carbon footprint

ทั้งนี้แพสชันของคนทำงานและการทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ CSR แต่จำเป็นต้องอยู่ทุก ๆ กระบวนการคือหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์จากฟรอลิน่า “หลายๆ อย่างที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมและกำไรที่มากขึ้น ผมคิดว่าคนทำอาจจะยังไม่เข้าใจ สิ่งที่เราทำ คือ รับฟัง เริ่มทำจากเรื่องใกล้ตัว พอทำไปเรื่อย ๆ มี zero waste การลดพลังงาน มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพัฒนาและโฟกัสในสิ่งนี้ต่อไปได้”


 

 

วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักทำสารคดี นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าภาพรวมของปัญหาในเชิงโครงสร้าง ที่จะกำหนดเป็นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อ ‘การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงโครงสร้าง’ เพื่อชี้ชวนให้ทำความเข้าใจและเห็นความสำคัญ รวมถึงอัปเดตความคืบหน้าของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมากระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน

ด้วยความเป็นนักสารคดีที่ทำให้ไปเยือนในประเทศที่น้อยคนนักจะได้ไปและส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ได้พบเห็นสิ่งที่มนุษย์กระทำต่อกันอย่างเลวร้ายมามากมาย แต่สุดท้ายเขาได้ข้อสรุปว่า “ไม่มีปัญหาไหนใหญ่กว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยนี้ เพราะไม่มีอะไรไม่เกี่ยวข้องกัน ปัญหาของโลกก็คือปัญหาของมนุษย์เช่นกัน” 

จึงทำให้เหันมาให้ความสนใจสื่อสารในประเด็นสิ่งแวดล้อม แต่เพียงแค่สื่อสารเรื่องนี้ต่อสังคมอาจไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม 

ชารีย์ บุญญวินิจ  Earth Creator และผู้บุกเบิก ‘ฟาร์มลุงรีย์’ (UncleRee Farm) กล่าวว่า ‘เรื่องระหว่างทางจาก Food Waste กว่าจะผุดเป็น Good Taste’ เขาย้อนกลับไปเล่าถึงจุดเริ่มเต้นทำให้เกิดฟาร์มแห่งนี้ โดยมาจากพื้นฐานความสนใจด้านศิลปะและงานเซรามิก ทำให้หลงรักเรื่องดิน จนขยายมาสู่ความสนใจด้านเกษตรเพื่อต้องการสร้างมูลค่าให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นงอกเงยจากดิน จึงได้มาก่อตั้ง UncleRee Farm ฟาร์มเกษตรคนเมืองในวัย 26 จนปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 10 จากการเริ่มต้นเลี้ยงไส้เดือนเพื่อให้เกิดเป็นปุ๋ยแล้วนำมาเพาะเห็ด

ซึ่งจะทำให้เขาสามารถพึ่งพาตัวเองและได้กลับมาอยู่บ้านและครอบครัว ประกอบกับการได้ศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นเรื่องการจัดการอาหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกส่วนของวัตถุดิบมาพัฒนาฟาร์มแห่งนี้สานต่อสู่ธุรกิจร้านอาหารในชื่อ ‘โอมากาเห็ด’ ที่มียอดจองคิวอย่างต่อเนื่อง โดยสรุปถึงแนวคิดในการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนในแง่ธุรกิจต่อไปในอนาคตของเขาไว้ว่า “ธุรกิจที่ทำแล้วมีคนอื่นที่ได้เกิด” โดยเขาได้จับมือกับชุมชนและคนโดยรอบฟาร์มบริเวณเพชรเกษม 46 เพื่อพัฒนาในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมต่อไปกับแนวทาง คิดใหม่ คิดให้เรื่องเล็กเปลี่ยนโลก

ภาคภูมิ โกเมศโสภา ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน Co-Founder Reviv (รีไวฟ์) และแพลตฟอร์ม Wonwon Startup กล่าวว่า คนรุ่นใหม่ที่ชวนพวกเรามาส่งเสริมวัฒนธรรมการซ่อมเสื้อผ้าให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ขึ้นมาพูดในหัวข้อ ‘การซ่อมจะทำให้สังคมดีขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสินค้าปัจจุบันถึงพังเร็ว ซ่อมยาก?’ Reviv (รีไวฟ์) คือกลุ่มผู้บริโภคที่มารวมกันเพื่อส่งเสริมในเรื่องของการซ่อมและการใช้ซ้ำในสังคมไทย

ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยหลักการของ Circular Economy การซ่อมจะเป็นการรักษามูลค่าของสิ่งของไว้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศก็หันมาเรียกร้อง ‘สิทธิในการซ่อม’ กันมากขึ้น สำหรับ 3 โปรเจคที่กลุ่ม Reviv (รีไวฟ์) ได้ทำอยู่ประกอบด้วย Repairability Index, WonWon Platform และ Repair Cafe ซึ่งหวังว่าจะสามารถสร้างวัฒนธรรมการซ่อมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านในเชิงโครงสร้างต่อไป 

ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์’ ผู้ประกอบรายเล็กเจ้าของธุรกิจ ‘เรือไฟฟ้าสุขสำราญ’ ธุรกิจเรือนำเที่ยวคลองย่านฝั่งธนฯ กับหัวข้อ ‘Zero Waste Trip ชวนเที่ยวคลองด้วยเรือไฟฟ้าแบบไม่สร้างขยะ’  กล่าวว่า ได้เริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ แห่งนี้เพราะต้องการเลี้ยงลูกและสามารถหารายได้ไปด้วย แม้อยู่ที่บ้านก็ตาม ด้วยความที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตริมน้ำบริเวณคลองบางหลวงมาตั้งแต่เด็กๆ ความประทับใจและความผูกพันที่เกิดขึ้นในวันนั้นได้กลายมาเป็นธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับนักเดินทางที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนทั้งไทยและต่างประเทศส่งมอบความสุขให้กับผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม

แต่พบว่าการท่องเที่ยวที่เน้นปริมาณอย่างเดียวสร้างปัญหาและขยะให้กับสายน้ำใหักับย่านนี้ เขาจึงเกิดความต้องการสร้างโมเดลการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบที่จะส่งต่อสายน้ำที่มีคุณภาพให้กับลูกหลานของชุมชนต่อไป ซึ่งน่าดีใจว่าหลังจากที่ลูกค้าได้ท่องเที่ยวกับเขาหลายคนเมื่อกลับมาอีกครั้งได้เตรียมพาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกเพื่อทดแทนการใช้พลาสติก

ซึ่งเทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ใครที่ทำธุรกิจแล้วพลาดการจับเทรนด์เรื่องนี้อนาคตก็อาจไม่สดใส และ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละคนจะไม่อาจหยุดยั้งวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในตอนนี้ได้ แต่ ทุกๆ การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ล้วนเริ่มต้นจากตัวเอง


 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...