คลองช่องนนทรีเน่าเหม็น จะแก้ได้อย่างไร

คลองนี้เราเข้าใจว่า อดีตผู้ว่าฯอัศวิน ต้องการจะใช้โมเดลของคลองชองกเยชอน CheongGyeCheon ที่เกาหลีใต้มาเป็นต้นแบบ โดยจะพัฒนาให้สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเช่นกัน  แต่เนื่องจากว่าการระบายน้ำบ้านเราไม่ใช่เป็นการระบายเฉพาะน้ำฝนมาลงคลอง  

สภาพจริงของท่อบ้านเราเป็นแบบท่อรวม คือเราไม่มีท่อที่ระบายน้ำเสียชุมชนโดยเฉพาะแยกออกมาต่างหากแบบบ้านอื่นเมืองอื่นที่่่เจริญกว่าเรา  น้ำเสียจากบ้านเรือน จากชุมชน จากคอนโด จากศูนย์การค้า จากตลาด ฯลฯ ที่บางแห่งอาจมีระบบบำบัดน้ำเสียมาก่อน  ต่างก็ถูกทิ้งลงท่อน้ำฝนหน้าอาคาร ก่อนไหลไปลงคลองในที่สุด  

ระบบระบายน้ำของเราจึงเป็นแบบระบายทั้งน้ำฝนและน้ำเสียรวมอยู่ในท่อเดียวกัน   

เราไม่ทราบว่าพื้นที่ตรงนั้นมีสิ่งที่ทางวิศวกรเขาเรียกว่าท่อดักน้ำเสียหรือไม่  คือเป็นตัวดักน้ำเสียเอาไว้ที่ปากท่อก่อนน้ำฝนปนน้ำเสียนี้จะไหลลงคลอง แล้วก็ส่งน้ำเสียที่ดักได้นั้นไปบำบัดที่โรงบำบัดส่วนกลาง และให้เฉพาะน้ำฝนไหลลงคลองต่อไป

แต่ถึงจะมีมันก็ต้องมีน้ำเสียส่วนเกินปนอยู่กับน้ำฝนที่จะทิ้งลงไปในคลองอยู่ดี  ซึ่งถ้าไม่มีการบำบัดตามมา คลองก็จะเน่าได้อยู่ดี  ดังที่เราจะเห็นได้จากแทบทุกคลองใน กทม.ที่มันเน่าอยู่   เราสองคนยังเคยพูดเลยว่าคลองในบ้านเราโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ก็คือรางระบายน้ำเสีย ขนาดใหญ่ดีๆนั่นเอง

 ที่คลองชองกเยชอน CheongGyeCheon ที่กรุงโซลของเกาหลีใต้ก็คล้ายๆกัน คือ มีความสกปรกในน้ำไม่น้อย โอกาสเน่ายังมีอยู่มาก  กรุงโซลจึงใช้วิธีดึงเอาน้ำสะอาดจากแม่น้ำฮันเข้ามาไล่น้ำเสียในคลองออกไปที่ท้ายน้ำ  

น้ำในคลองหลังจากที่พัฒนาแล้วจึงมีลักษณะเหมือนน้ำแม่น้ำและใสสะอาดพอสมควร   เรียกว่าเดินไปเที่ยวชมได้โดยไม่มีกลิ่นเน่าเหม็นมารบกวน   คลองช่องนนทรีก็ใช้หลักการเดียวกันคือเอาน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาไล่น้ำเสียในคลองออกไป

ถ้าเป็นเช่นนั้นทำไมมันจึงเน่าและเหม็นอยู่เล่า เราเข้าใจว่าทางกรุงเทพมหานครคงคิดใช้ประโยชน์จากคลองนี้ให้มากกว่าเป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวปกติ  คือ ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมมีมาก  ผู้ที่เกี่ยวข้องก็เลยคิดจะสูบน้ำในคลองนี้ออกให้แห้งหรือเกือบแห้ง เพื่อจะเป็นแก้มลิงหรือเป็นที่ว่างสำหรับพักน้ำฝนตอนฝนตก  อันเป็นการลดสภาวะน้ำท่วมได้มากพอสมควร 

       แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เมื่อลดระดับน้ำไปจนถึงเกือบก้นคลอง ก็จะเหลือแต่น้ำเน่าที่อยู่ก้นคลอง และที่ก้นคลองนี้มีความสกปรกที่ตกทับถมกันอยู่มากมาเป็นเวลานาน  ทำให้น้ำเน่าและเหม็นได้มากกว่าน้ำที่ด้านบนหรือผิวน้ำที่เดิมเป็นตัวช่วยดักกลิ่นเอาไว้ได้บ้าง  เมื่อไม่มีน้ำที่พอจะสะอาดอยู่บ้างด้านบน กลิ่นก็ออกไปรบกวนคนที่เดินผ่านไปมา จนเกิดเป็นกระแสดราม่าขึ้น

ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไร  ถ้าไม่สูบออกก็ไม่มีแก้มลิง น้ำอาจจะท่วมเมืองในบริเวณนั้น   ลองคิดเร็วๆ  เราคิดว่าทางออกน่าจะเป็นอย่างนี้ คือ การสูบน้ำออกเพื่อเป็นแก้มลิงแก้ปัญหาน้ำท่วมนี้ถูกต้องแล้ว  แต่ว่าต้องไม่ใช่ใช้วิธีสูบจนแห้งหรือเกือบแห้งเพียงครั้งเดียวซึ่งจะมีปัญหากลิ่นเหม็นตามมาอย่างที่กำลังเผชิญกันอยู่  

แนวคิดคือต้องสูบน้ำสะอาดจากเจ้าพระยาเข้ามาเจือจางน้ำที่เหลืออยู่ที่ก้นคลองจนเต็มคลองอีกครั้ง  น้ำในคลองตอนนี้ก็จะสะอาดกว่าเดิม  แล้วทำเช่นนี้หลายๆครั้ง น้ำคลองช่องนนทรีก็จะสะอาดขึ้นๆ จนน้ำที่ก้นคลองไม่เน่าอีกต่อไป

จะทำเช่นนี้กี่ครั้งเราไม่แน่ใจ  ทาง กทม.ต้องไปทดลองเอาเอง  เมื่อถึงจุดๆหนึ่งน้ำในคลองก็จะเป็นน้ำที่สะอาดขึ้น เมื่อเราสูบน้ำออกเพื่อให้คลองแห้งหรือเกือบแห้ง น้ำที่ก้นคลองก็จะไม่สกปรกมากนัก สภาพเน่าเหม็นก็จะไม่เหมือนกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

           ปัญหาที่เราเห็นสำหรับวิธีนี้มีอยู่ข้อเดียว คือ ต้องเสียค่าไฟสูบน้ำมากขึ้นกว่าการสูบเพียงครั้งเดียว   แต่ถ้าเทียบกับผลที่จะได้ คิดว่าเกินคุ้มครับ  

          ก็ลองเสนอแนะดูครับว่าทำเช่นนี้แล้วจะแก้ปัญหากลิ่นเน่าเหม็น แบบทำหนึ่งอย่างได้ประโยชน์สองอย่าง ได้ไหม  เราคิดว่า น่าจะได้... ลองดูครับ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...