“เศรษฐา” แจงงบฯ เพิ่มเติมปี 67 จำเป็นต่อโครงการเงินดิจิทัล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายกฯ กล่าวชี้แจงสภาฯ จำเป็นต้องร่างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ปี 67 ทำโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เงินไหลจากภาครัฐไปสู่เอกชน สร้างเม็ดเงินในชุมชน และยังจะทำให้มีงบฯ ลงทุนเพิ่มขึ้น 8.076 แสนล้านบาท จากปี 66

วันที่ 17 ก.ค. 2567 เมื่อเวลา 09.30 น. ที่อาคารรัฐสภา ในการประชุมร่างงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแถลงหลักการและเหตุผลถึงร่างดังกล่าวว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินตามนโยบายเร่งด่วน โดยไม่สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ได้ จึงต้องตั้งงบฯ เพิ่มเติม จำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจในจำนวนดังกล่าว และจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมเม็ดเงินในชุมชนต่างๆ รวมถึงลดภาระค่าครองชีพ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน ผ่านโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยคำนึงถึงความสอดคล้องของเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐ และแผนการดำเนินงานของกระทรวง

นายเศรษฐา ชี้แจงต่อว่า ในปี 2567 การขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มขยายตัว 2.0-3.0% มีข้อจำกัดเรื่องหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ระหว่าง 0.1-1.1% และดุลบัญชีเดินสะพัด มีแนวโน้มเกินดุล 1.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายขาดดุล ในปี 2567 โดยประมาณการจากรายได้จากส่วนราชการอื่น 10,000 ล้านบาท และกู้ชดเชย 112,000 ล้านบาท รวมเป็นรายได้ทั้งสิ้น 122,000 ล้านบาท เท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลจึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าให้เติบโต โดยเม็ดเงินจะไหลจากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน จะทำให้เกิดการสั่งซื้อสินค้าและบริการ และหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 

...

ส่วนเรื่องฐานะคงคลัง มีหนี้สาธารณะคงค้าง 11,523,700.9 ล้านบาท หรือ 63.78% ของ GDP ขณะที่เงินคงคลัง อยู่ที่ 394,259.7 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่วนไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศประมาณ 8 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก 

อีกทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จำนวน 3.48 ล้านล้านบาท รวมกับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท รวมเป็นงบฯ 3.602 ล้านล้านบาท จะทำให้มีงบฯ ลงทุนเพิ่มขึ้น 8.076 แสนล้านบาท เพิ่มจากปี 2566 จำนวน 17.1%  

“การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นการใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กระตุ้นเศรษฐกิจให้มีเม็ดเงินไหลไปสู่ประชาชน และกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างการเจริญเติบโตให้กับประเทศ พัฒนาศักยภาพได้อย่างยั่งยืนและเป็นไปตามกฎหมาย” นายกฯ กล่าวทิ้งท้าย 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อดีตผู้พิพากษา ชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนแรก รับเลือกเป็นผู้บริหาร ‘มาเก๊า’

ในการลงคะแนนเสียงเลือกผู้บริหารพิเศษของ มาเก๊า ซึ่งจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (13 ต.ค.) ได้โหวตเลือก แซม โฮ...

'อิหร่าน' ประณาม สหรัฐคว่ำบาตรอุตฯน้ำมัน ‘ผิดกฎหมาย ไร้ความยุติธรรม’

ในแถลงการณ์ของ “เอสมาอิล บาเกอี” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ได้กล่าวปกป้องการโจมตีอิสราเอลของอิ...

จุดเปลี่ยนการค้า ‘จีน - เวียดนาม’ ขยายเส้นทางรถไฟ เชื่อมชำระเงินข้ามประเทศ

การลงนามข้อตกลงนี้ เกิดขึ้นภายหลังการประชุมระหว่างฝั่ม มิญ จิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กับหลี่ เฉียง น...

‘คิงชาลส์’ ตอบนักเคลื่อนไหว ออสเตรเลียจะเป็นสาธารณรัฐหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประชาชน

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ก่อนที่กษัตริย์ชาร์ลจะเสด็จเยือนออสเตรเลียในสัปดาห์หน้า กลุ่ม Australian Re...