ร้อง กกต.สอบ 'หมอเกศกมล' ใช้วุฒิการศึกษาปลอมหรือไม่ จูงใจให้คนอื่นเลือก สว.

เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษากรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ยื่นคำร้องต่อ กกต.เผื่อเร่งรัดและตรวจสอบในหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลือก สว.ครั้งที่ผ่านมา

นายสนธิญา กล่าวว่า มาเร่งรัด กกต.ให้ตรวจสอบในประเด็นเกี่ยวกับการเลือก สว. ประกอบด้วยกรณีที่มีการฮั้วกันในช่วงที่มีการเลือก สว.ระดับอำเภอในพื้นที่ปทุมวัน ซึ่งมีผู้สมัครหลายคนเลือกเบอร์ในลักษณะเดียวคือเบอร์ 5 และ10 อีกทั้งยังมีบุคคลที่มีคะแนนเป็น 0 เป็นการเข้าข่ายการฮั้วหรือไม่ นอกจากนี้ขอให้ตรวจสอบ นางนันทนา นันทวโรภาส สว.กลุ่มที่ 18 สื่อสารมวลชน กรณีที่ไปประชุม พิพิธภัณฑ์บ้าน จิม ทอมป์สัน (Jim Thompson House) เขตปทุมวัน ก่อนการเลือก สว.ระดับจังหวัด ในวันที่ 15 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมาโดยมีผู้สมัคร สว.เข้าร่วมการประชุมกว่า 100 คน และมีผู้ขึ้นปราศรัย 2 คน จึงขอกกต.ตรวจสอบว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่

นายสนธิญา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ขอให้ กกต.ตรวจสอบ พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สว.กลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ระบุว่าจบมาจากต่างประเทศ แต่ระบบ ก.พ.ไทยไม่ได้รับรองคุณสมบัติการศึกษาตรงนี้ โดยขอให้ กกต. ตรวจสอบว่า พญ.เกศกมล นำข้อมูลอันเป็นเท็จให้ส่วนราชการจดบันทึกหรือไม่ หากคุณสมบัตินั้นไม่ได้รับการรับรองจากระบบ ก.พ. ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)​ ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. กำหนดไว้ชัดเจนว่า การกระทำประการหนึ่งประการใดเผื่อให้บุคคลที่เข้าร่วมเลือกเข้าใจผิดว่ามีคุณสมบัติทางด้านการศึกษาในระดับสูง นำไปสู่การได้มาซึ่ง สว. ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรรม ถือว่ามีความผิด ในส่วน สว.รายอื่นๆที่สมัครไม่ตรงกลุ่ม ตนจะตามล้างตามเช็ดเช่นกัน

เมื่อถามว่า ได้ตรวจสอบที่มาตำแหน่งวิชาการ หรือมีหลักฐานความผิดของ พญ.เกศกมล หรือไม่ นายสนธิญา กล่าวว่า มีหลักฐานคือ ใบสว.3 โดยได้มีการระบุข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติการศึกษา อาจจะเป็นข้อมูลจริงหรือไม่จริงเข้าสู่ระบบ ก.พ. ซึ่ง พญ.เกศกมล จบต่างประเทศแต่ระบบ ก.พ. สามารถรับรองวุฒิการศึกษา และสามารถนำลงเป็นประวัติการศึกษาในใบสว.3 หรือไม่ จึงขอให้กกต.วินิจฉัย ในเรื่องการลงข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองหรือจูงใจให้บุคคลอื่นลงคะแนนให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสว. โดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรรม ถ้าเป็นข้อมูลเท็จก็เข้าข่ายการหลอกหลวงให้ผู้อื่นลงคะแนนให้บุคคลนั้น ซึ่งให้ได้มาซึ่งการเป็น สว.

สำหรับความผิดเกี่ยวกับผู้สมัคร สว. ตามมาตรา 75 แห่ง พ.ร.ป. ว่าด้วยกันได้มาซึ่งสว. ระบุ​ว่า หากเอกสารหรือความผิดที่ใช้ประกอบการสมัครรับเลือกสวเป็นเท็จผู้ที่รับรองหรือลงลายมือชื่อเป็นพยานจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ์ที่เลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...