ก้าวไกล ยัน ไม่เห็นด้วย งบฯปี 68 การศึกษา ซัด ปล่อยเด็กหลุดออกนอกระบบ

"ปารมี" สส.ก้าวไกล ยัน ไม่เห็นด้วย งบฯปี 68 การศึกษา ซัดรัฐบาลเพิกเฉย ปล่อย เด็กนักเรียนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่าล้านคน ห่วง กยศ.ไร้งบฯให้นักเรียนกู้ เสนอ 4 ข้อ แก้ปัญหา

วันที่ 20 มิถุนายน 2567 การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 2 (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ ในวาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวาระแรก จำนวน 3,752,700 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยเป็นวันที่ 2 ของการประชุม

ปารมี ไวจงเจริญ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายการจัดสรรงบประมาณปี 68 ของรัฐบาลเศรษฐา ด้านการศึกษา ว่า รัฐบาลจัดงบเหลื่อมล้ำ ดิฉันไม่เห็นด้วย มีเด็กออกนอกระบบการศึกษา ถึง 1.02 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก หาเหตุความยากจน คือสาเหตุหลัก ส่วนใหญ่ไม่มีเป้าหมายชัดเจน เพราะระบบการศึกษาของเราไม่ตอบโจทย์ เพราะพวกเขา เหตุอยากไปฝึกอาชีพ การศึกษาเราทำเขาตกหล่นข้างทาง ทางแก้คือเราต้องห้ามเลือดและให้ความสำคัญกับเด็ก ที่ยังไม่หลุดออกนอกระบบ แต่มีแนวโน้มหลุดในไม่ช้า เด็กยากจนอีก 1 ล้านคน ไม่ได้รับเงินอุดหนุนใดๆ ซึ่งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กำลังดำเนินการให้นำเด็กกลุ่มนี้กลับมา แต่ไม่รู้ว่าจะเมื่อไหร่ เพราะมีปัญหาเรื่องงบประมาณ ที่ได้เพิ่มเพียงเล็กน้อยในปีนี้ ถ้าต้องให้แก้ไขต้องได้งบประมาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้

ขณะเด็กในระดับอุดมศึกษา ก็ขาดโอกาสเรียนต่อเช่นกัน แค่ค่าสมัคร TCAS ก็มีราคาแพง หลายพันบาท สำหรับเด็กที่ไม่มีเงินสมัครสอบก็คงลำบากมาก

"ปารมี" กล่าวต่อว่า ขณะที่ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ตอนนี้ต้องกลับมาขอรับงบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งปีนี้ของบฯมากถึง 1.9 หมื่นล้านบาท แต่รัฐบาลให้งบได้แค่ 800 ล้านเท่านั้น ทำให้ กยศ.ประสบปัญหาการเงินอย่างสาหัส หากปัญหาไม่ได้รับแก้ไข อาจต้องมีการตัดเงินเด็กที่เรียนอยู่ เพราะไม่มีเงินให้กู้ยืมอีก

...

ส่วนเรื่องการขาดแคลนครูในโรงเรียนชนบท เพราะมีการทุจริต เพราะครูไปกระจุกตัวอยู่ในโรงเรียนใหญ่ๆ เนื่องจากต้องการย้าย ไปอยู่โรงเรียนในเมืองใหญ่ จึงกลายเป็นช่องทางทุจริต เรียนกันกิโลละ 1 แสน


ทั้งนี้ สส.พรรคก้าวไกล ได้เสนอทางแก้ไข เรื่องแรก ต้องจัดสรรงบประมาณปี 68 ให้เด็กกลุ่มยากจน จำนวน 1.02 ล้านคน นี้ให้เพียงพอ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเด็กยากจนกลุ่มนี้ได้ 

2. การศึกษาพื้นฐานต้องฟรี จริงๆ ไม่ใช่เรียนฟรีทิพย์ ต้องมีจินตนาการใหม่ในการจัดสรรงบประมาณปี 68 เพื่อแก้ความเหลื่อมล้ำ

3. ปัญหากระจุกตัวของครู แก้ได้ด้วยการเพิ่มสิทธิพิเศษให้ครูอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก
4.การศึกษาไทย ไม่ยืดหยุ่น มีรอยต่อ เต็มไปหมด

"ปารมี" ยืนยัน ส่วนตัวไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล จัดงบประมาณปี 68 ด้านการศึกษา เพราะท่านเพิกเฉย ไม่ได้ช่วยเหลือกลุ่มเด็กนักเรียนอย่างทั่วถึง ปล่อยให้เด็กนักเรียนจำนวนมากหลุดออกนอกระบบการศึกษา  

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...