TOP ชี้ครึ่งปีหลัง ‘โรงกลั่น’ หนุนรายได้ฟื้น  

นางสาวทอแสง ไชยประวัติ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการเงิน บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังยังคงปรับตัวดีขึ้นจากครึ่งปีแรก จากปัจจัยหนุนช่วงไตรมาส 3 ปี 2567 คาดตลาดเริ่มปรับตัวสู่สมดุล จากไตรมาส 2 ปี 2567 ที่มีโอกาสอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาส 1 ปี 2567 หลังได้รับแรงกดดันจากโรงงานใหม่หลายแห่งที่เริ่มเปิดดำเนินการทำให้อุปทานปรับเพิ่มขึ้นมากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโรงกลั่นยังได้รับแรงหนุนจากโรงกลั่นรัสเซียที่ยังคงอยู่ในระหว่างการปิดปรับปรุงจากการถูกโจมตี ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลมีแนวโน้มตึงตัว ขณะที่อุปสงค์น้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ ท่ามกลางปริมาณสต๊อกน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลทั่วโลกที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง 

ขณะเดียวกัน คาดว่าแนวโน้มในไตรมาส 4 จะปรับตัวดีขึ้นมากตามช่วงฤดูกาลทำให้ความต้องการ (ดีมานด์) น้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้น ช่วงฤดูหนาว รวมถึงกรณีโรงกลั่นเอสโซ่เดิมที่มีการเพิ่มกำลังผลิตนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขายของบริษัทแต่อย่างใด  

“เนื่องจากลูกค้าในประเทศของบริษัทยังคงทำสัญญาแบบ term contract ทั้งกับ บมจ.พีทีจีเอ็นเนอยี (PTG) และ บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ซึ่งยังคงเป็นลูกค้าหลักของบริษัทรวมถึงกำลังการกผลิตของเอสโซ่ที่เพิ่มเข้ามาเป็นในส่วนน้ำมันดีเซล ซึ่งในส่วนการขายน้ำมันดีเซลของบริษัทยังสามารถขายให้กับลูกค้าในประเทศได้ทั้งหมด”

 

 

นางสาวทอแสง กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจโรงกลั่นช่วงครึ่งปีหลังปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสู่สมดุลและความต้องการน้ำมันทั่วโลกจะเติบโต 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน กลับมาเติบโตเทียบเท่าช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19  

ขณะที่ความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งมีแนวโน้มที่ความขัดแย้งจะทวีความรุนแรงขึ้นได้เป็นระยะ รวมถึงเหตุความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันในแอฟริกาเหนือ อาจส่งผลให้อุปทานมีแนวโน้มเผชิญความไม่แน่นอน

 โดยแก๊สโซลีนเติบโต 3.7% แก๊สออยคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง และน้ำมันอากาศยานคาดว่าจะเติบโตสูงถึง 24% จากจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโต 25% แต่น้ำมันเตาดีมานด์อาจจลดลงบ้าง ตามสภาวะตลาด  พร้อมคาดภาพรวมราคาน้ำมันดิบปีนี้ อยู่ที่ระดับ 80-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ภายใต้ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ตะวันออกกลางยังคงอยู่ แต่ไม่รุนแรง และอุปทานปรับเพิ่มตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...