สภาทองคำโลกชี้ ‘ทอง’หายากขึ้น การผลิตชะลอตัว 5 ปีติด สวนทางความต้องการพุ่ง

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานอ้างถึงสภาทองคำโลก (WGC) ว่า อุตสาหกรรมเหมืองทองคำกำลังเผชิญความท้าทายในการรักษาการเติบโตของการผลิตทองคำ เนื่องจากแหล่งแร่ทองคำนั้นหายากขึ้น ท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้น 

จอห์น รีด หัวหน้านักวิเคราะห์ฃของสภาทองคำโลกกล่าวว่า “แม้ว่าสถิติการผลิตทองคำจากเหมืองในไตรมาสแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ภาพรวมที่ใหญ่กว่านั้นก็คือ“การผลิตทองคำ”นั้นทรงตัวอยู่ที่ระดับเดียวกันกับในช่วงปี 2559-2561 และไม่มีการเติบโตเลยตั้งแต่นั้นมา” 

ตามข้อมูลจากสมาคมการค้าระหว่างประเทศ พบว่าปริมาณการผลิตแร่เพิ่มขึ้นเพียง 0.5% ในปี 2566 ซึ่งโตน้อยที่สุดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ปริมาณการผลิตเติบโตขึ้น 1.35% เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งก่อนหน้านี้ปริมาณการผลิตทองคำทั่วโลกมีการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยลดลง 1% ในปี 2563 

รีด สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่กำลังเผชิญปัญหาการเติบโตชะลอตัว หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วในปี 2551 แต่ในช่วง  5 ปีที่ผ่านมาการผลิตทองคำจากเหมืองทั่วโลกแทบไม่เติบโตขึ้นเลย เนื่องจากแหล่งแร่ทองคำแหล่งใหม่ ๆ ทั่วโลกกำลังหายากขึ้น หลังพื้นที่ที่มีศักยภาพหลายแห่งได้รับการสำรวจไปหมดแล้ว

ข้อมูลจากสภาทองคำโลก (WGC) เกี่ยวกับการลงทุนในเหมืองทองคำขนาดใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลในการดำเนินงาน ทั้งยังต้องใช้เวลานานในการสำรวจและพัฒนา โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลามากถึง 10 - 20 ปี กว่าที่เหมืองจะพร้อมสำหรับการขุดทอง

รวมทั้งการสำรวจว่าพื้นที่แห่งนั้นมีโอกาสในการพบแร่ทองคำที่จะนำไปสู่การพัฒนาเหมืองนั้นมีน้อยมาก โดยมีเพียงประมาณ 10% ของแหล่งทองคำที่ค้นพบทั่วโลกเท่านั้นที่มีแร่ทองคำเพียงพอต่อการทำเหมือง

ทองคำโลกขุดได้อีกแค่ 19 ปี 

ปัจจุบันมีการขุดทองคำไปแล้วประมาณ 187,000 เมตริกตัน โดยส่วนใหญ่มาจากจีน แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย โดยสำนักงานธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS)ประมาณการว่า แหล่งทองคำสำรองที่สามารถขุดได้อยู่ที่ประมาณ 57,000 ตัน

ข้อมูลของ USGS เป็นเพียงการประมาณการเบื้องต้น โดยอ้างอิงจากอัตราการขุดทองคำในปัจจุบันและปริมาณทองคำสำรองที่พิสูจน์แล้วเท่านั้น ในความเป็นจริง ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อระยะเวลาการหมดลงของทองคำ 

“ทองคำหายากขึ้นเรื่อยๆ จากอุปสรรคด้านการขุดหา การจัดหาเงินทุน และการดำเนินงาน” รีดกล่าว

นอกเหนือจากกระบวนการค้นพบแร่และการพัฒนาโครงการเหมืองทองคำขนาดใหญ่แล้ว บริษัทเหมืองแร่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกประการหนึ่ง นั่นคือ กระบวนการขออนุญาตจากภาครัฐ ซึ่งมักมีความซับซ้อน ใช้เวลานานหลายปีเพื่อบรรลุข้อกำหนดต่างๆ

รวมทั้งรีดยังกล่าวอีกว่า โครงการทำเหมืองแร่หลายแห่งถูกวางแผนไว้ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน ไฟฟ้า และน้ำ ส่งผลให้มีต้นทุนเพิ่มเติมในการสร้างเหมืองเหล่านี้และการบริหารจัดการทางการเงิน

ด้าน พวรรณ์ นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) กล่าวว่า ในระยะยาวภาพรวมของแนวโน้มราคาทองคำยังเป็นขาขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งจากปัจจัยบวกด้านความกังวลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงการเข้าซื้อของธนาคารกลางทั่วโลก ขณะเดียวกันปัจจัยพื้นฐานของทองคำที่อาจเหลือทองคำให้ขุดได้อีกเพียง 19 ปี เทียบจากปริมาณการขุดแต่ละปีที่ 3,000 ตัน  หากไม่มีการสำรวจพบสายแร่ทองคำใหม่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้เกิดแรงหนุนต่อการปรับตัวขึ้นในระยะยาว 

ราคาทองคำวันนี้ (10 มิ.ย. 67)  ปรับตัวลงเล็กน้อย เคลื่อนไหวที่ 2,294.3 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่แข็งแกร่งที่นำโดยจีน 

อ้างอิง CNBC 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...