ประวัติวันอนุรักษ์แนวปะการังโลก วิกฤตแนวปะการัง ที่พักพิงสัตว์ท้องทะเล

1 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์แนวปะการังโลก (World Coral Reef Day) โดยปะการัง ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งและเป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

ชวนมาเปิดประวัติวันอนุรักษ์แนวปะการังโลก 2567 สร้างความตระหนักรู้ ให้ความสำคัญภาวะวิกฤตแนวปะการัง ที่พักพิงสิ่งมีชีวิต สัตว์ใต้ท้องทะเล พร้อมส่องวิธีปกป้องแนวปะการัง "เราทำได้"

 

ภัยคุกคามของปะการัง

เป็นที่รู้กันดีกว่าปัญหาโลกร้อนกระทบไปทุกแห่งหนบนโลกใบนี้ โดยเฉพาะแนวปะการังของโลกที่กำลังตกอยู่ในอันตราย กับอุณหภูมิของน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พวกมันตายลงเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์

ภัยคุกคามของปะการัง คือ อุณภูมิของโลกที่สูงขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมีเป็นอันตรายต่อปะการัง รวมถึงภัยจากขยะพลาสติก การจอดเรือ การสัมผัส อวนประมง และอีกมากมายที่คุกคามปะการัง 

วันอนุรักษ์แนวปะการังโลก จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของแนวปะการัง ที่พักพิงให้กับสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่โลกใต้ท้องทะเล

ประวัติวันอนุรักษ์แนวปะการังโลก (World Coral Reef Day) 

วันอนุรักษ์แนวปะการังโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 2019 ด้วยการส่งเสริมของ Raw Elements USA โดยมีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจไปยังสภาวะวิกฤตของแนวปะการัง เพราะแนวปะการังนั้นทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันพื้นที่ชายฝั่ง

และเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับผู้คนนับล้านที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง แนวปะการังนั้นตกอยู่ในความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก

แนวปะการังสำคัญอย่างไร?

แนวปะการังเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดของระบบนิเวศใดๆ ทั่วโลก แม้จะมีพื้นที่น้อยกว่า 0.1% ของพื้นมหาสมุทร แต่แนวปะการังเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าหนึ่งในสี่ของสายพันธุ์ปลาทะเลทั้งหมด

นอกจากนี้ แนวปะการังยังให้บริการระบบนิเวศที่หลากหลาย เช่น อาหารเพื่อการยังชีพ การป้องกันน้ำท่วม และให้ประโยชน์กับอุตสาหกรรมการประมงและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

 

อนุรักษ์ปะการัง วิธีปกป้องแนวปะการัง เราทำได้

  • ไม่จับหรือสัมผัสแนวปะการัง รักษาระยะห่างระหว่างแนวปะการังกับเราเมื่อลงทะเล ที่อาจจะเป็นอันตรายสร้างความเสียหายต่อแนวปะการังได้
  • เลือกใช้เฉพาะครีมกันแดดที่เป็นมิตรต่อปะการัง ไม่มีสารทำร้ายปะการัง
  • ไม่ทิ้งขยะลงในทะเล
  • ไม่สนับสนุนการซื้อขายปะการังเป็นของฝาก
  • เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการฟื้นฟูแนวปะการัง
  • สนับสนุนอาหารทะเลที่ได้มาจากประมงแบบยั่งยืน ไม่สนับสนุนทำประมงผิดกฎหมาย

 

 

อ้างอิง : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...