'วิกฤติหนี้' ฉุดประเทศร่วง

ไม่รู้ว่าการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจนัดแรกของรัฐบาลเศรษฐา วานนี้ (27 พ.ค.) จะช่วยบรรเทาวิกฤติเศรษฐกิจประเทศได้แค่ไหน เพราะประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจที่หนักข้อขึ้นทุกวัน

ตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศที่ทยอยประกาศออกมาล้วนแต่เป็น “ข่าวร้าย” เศรษฐกิจไทยกลายเป็นประเทศที่เติบโตช้าที่สุด จีดีพีก็อยู่รั้งท้ายอาเซียน ท่ามกลางกำลังซื้อภายในประเทศก็วิกฤติ ดีมานด์มี แต่เงินในกระเป๋าไม่มี ก็ไม่มีประโยชน์

ล่าสุด สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 / 2567 ภาวะหนี้สินครัวเรือนไทยข้อมูลจากไตรมาสที่ 4 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีหลายประเด็นที่ต้องติดตามและวางแนวทางในการแก้ปัญหา

ปัจจุบัน หนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 16.36 ล้านล้านบาท คิดเป็น 91.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การให้กู้ยืมภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง

จากความเข้มงวดสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นในการปล่อยกู้ให้กับการปล่อยสินเชื่อบ้านและรถยนต์ ส่วนของหนี้ที่เพิ่มขึ้น คือ “หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล” สินเชื่อยานยนต์หดตัว 0.6% ส่วนสินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 4.3% เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น

ที่น่ากังวลมาก คือ หนี้บัตรเครดิตขยายตัวเร่งขึ้นเป็น 3.5% จากระดับ 1.9% ของไตรมาสที่ผ่านมา เช่นเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคลที่ยังปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3.7% เป็น 3.8%  “หนี้สินครัวเรือน” เป็นประเด็นที่น่าห่วง ที่ภาครัฐควรต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ขณะที่ ความสามารถชำระหนี้ครัวเรือนของไทยก็ด้อยลง คุณภาพสินเชื่อทุกประเภทเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพราะรายได้ยังไม่ฟื้นตัว กระทบต่อความสามารถชำระหนี้

วิกฤติ “หนี้” กำลังเป็นเรื่องใหญ่ กระทบภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ โดยเฉพาะภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครัวเรือนมีหนี้สูงมาก

หากรายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หรือภาระดอกเบี้ยสูงขึ้น มีแนวโน้มสูงมากที่ครัวเรือนจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หนี้ครัวเรือนจะกลายเป็นหนี้เสียที่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของสถาบันการเงิน การผิดนัดชำระหนี้หากขยายวงกว้าง กระทบต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงินอย่างรุนแรง นำไปสู่ความล้มเหลวของระบบการเงินประเทศ  

ปัจจุบันคนไทยเป็นหนี้ในระดับอายุที่น้อยลง เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง หากปัญหาไม่ถูกแก้อย่างเป็นรูปธรรม จะยิ่งฉุดรั้งการเติบโตประเทศ ไทยอาจครองแชมป์เศรษฐกิจรั้งท้ายอาเซียนต่อไปอีกเรื่อยๆ 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...