พบ ‘ไมโครพลาสติก’ ในอัณฑะมนุษย์ เสี่ยงก่อโรคระบบสืบพันธุ์ในเพศชาย

ปริมาณอสุจิของผู้ชายลดลงมานานหลายทศวรรษ ส่วนหนึ่งมาจากมลภาวะทางเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ซึ่งในงานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Toxological Science พบว่า หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้จำนวนอสุจิของมนุษย์ลดลงอาจเป็นผลมาจาก “ไมโครพลาสติก” สะสมอยู่ในอัณฑะ

นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาอัณฑะของมนุษย์ 23 ตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากผู้เสียชีวิตและผ่านการชันสูตรพลิกศพในปี 2559 ที่เป็นผู้ชายมีอายุตั้งแต่ 16-88 ปี ขณะที่เสียชีวิต และ อัณฑะจากสุนัขเลี้ยง 47 ตัวที่มาทำหมัน พบว่า ทุกตัวอย่างมีไมโครพลาสติก อยู่ในทุกตัวอย่าง โดยมีพลาสติกมากถึง 12 ชนิด

อัณฑะของมนุษย์มีความเข้มข้นของพลาสติกสูงถึง 330 ไมโครกรัมต่อเนื้อเยื่อหนึ่งกรัม ขณะที่ในอัณฑะของสุนัขมีอยู่ 123 ไมโครกรัม โดยโพลีเอทิลีน สารที่ใช้ในถุงพลาสติกและขวดพลาสติก เป็นสารที่พบมากที่สุดในอัณฑะ รองลงมาเป็นสารพีวีซี

ขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม และไมโครพลาสติกได้ก่อให้เกิดมลพิษไปทั่วโลก ตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์ไปจนถึงมหาสมุทรที่ลึกที่สุด โดยไมโครพลาสติกสามารถเข้าสู้ในร่างกายมนุษย์ผ่านทางการกินอาหารและเครื่องดื่ม และหายใจเข้าไปด้วย

เมื่อไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย อนุภาคเหล่านี้อาจเข้าไปฝังอยู่เนื้อเยื่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดการอักเสบได้ เช่นเดียวกับอนุภาคมลพิษทางอากาศและสารเคมีต่าง ๆ 

ก่อนหน้านี้ มีงานการวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ไมโครพลาสติกถูกพบในปอดของมนุษย์ เนื้อเยื่อรกของมารดาและทารกในครรภ์ นมแม่ และเลือดของมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านาโนพลาสติกเป็นมลพิษจากพลาสติกประเภทที่น่าเป็นห่วงที่สุดต่อสุขภาพของมนุษย์  อีกทั้งความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย 

“ในตอนแรก ผมสงสัยว่าไมโครพลาสติกสามารถแทรกซึมเข้าไปในระบบสืบพันธุ์ได้หรือไม่ แต่พอผลการตรวจอัณฑะของสุนัขออก ผมก็ตกใจ แต่ก็ต้องประหลาดใจมากกว่าเดิมเมื่อเห็นว่าในอัณฑะของมนุษย์ก็มีไมโครพลาสติกเช่นกัน” ศ.หยู เสี่ยวจง จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ผู้ทำงานวิจัยกล่าว

ดร.รันจิธ รามาซามี ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ กล่าวว่า หากไมโครพลาสติกกำลังบุกรุกอัณฑะจริง ๆ ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นพิเศษ เพราะ สมองและอัณฑะ เป็นอวัยวะเพียงสองอย่างเท่านั้น ที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อบางส่วนขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมทะลุผ่านเข้าไปได้

“ผมแปลกใจมากว่าไมโครพลาสติกถึงเข้าไปถึงตรงนั้นได้อย่างไร เราจำเป็นต้องทำการศึกษาจริงจัง” รามาซามีกล่าว

การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ทดลองในหนูพบว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างจำนวนอสุจิที่ลดลงเพราะได้รับไมโครพลาสติก และสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากมลพิษก็อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมนและการหยุดผลิตฮอร์โมนเช่นกัน

พีวีซีสามารถปล่อยสารเคมีจำนวนมากที่รบกวนการสร้างอสุจิ และมีสารเคมีหลายชนิดที่ทำให้ต่อมไร้ท่อหยุดการทำงาน” หยูกล่าว โดยหยูกล่าวเป็นห่วงกับคนรุ่นใหม่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากไมโครพลาสติกมาขึ้น เนื่องจากมีพลาสติกอยู่ในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าที่เคย

แม้ว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อหาข้อสรุปต่อไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่แน่นอนแล้วก็คือ  ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมกลับมาสู่ร่างกายของเราเอง และเราเพิ่งเริ่มเข้าใจว่ามันจะส่งผลต่อเราทุกคนอย่างไร

 

ที่มา: Business Insider, Futurism, The Guardian

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...