‘Kipling’ รุกตลาดใหญ่รอบ 10 ปี วางกลยุทธ์คอลแลป ขยายอีคอมเมิร์ซ ยึดผู้นำตลาด

หากไปสำรวจตลาดกระเป๋าของไทยในกลุ่มแบรนด์เนมยังเป็นตลาดที่มีทิศทางขยายตัว และมีแบรนด์ในตลาดหลากหลาย และมีหลายเชคเมนต์ในตลาด แต่หนึ่งในแบรนด์ที่สามารถสร้างการเติบโตได้อย่างยาวนาน พร้อมปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย กับ Kipling ที่มีสัญลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นดีเอ็นเอกับ "พวงกุญแจน้องลิง" ที่ทุกคนต่างรู้จัก

แบรนด์ Kipling เข้ามารุกตลาดในประเทศไทยร่วม 25 ปีแล้ว โดยมี บริษัท มณียา คอนเซพทส์ จำกัด เป็นตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าในไทยมายาวนาน จากรุ่นบุกเบิกโดย “ศิริกาญจน์ ศักดิเดช ภาณุพันธ์ ณ อยุธยา” ที่สร้างกระเป๋าแบรนด์ Kipling’ โด่งดังไปทั่วประเทศ ต่อมา ที่มีรุ่นสองกับ “ศีกัญญา ศักดิเดช ภาณุพันธ์” เข้ามารับไม้ต่อ บริหาร Kipling ร่วม 10 ปี 

พร้อมร่วมสร้างอาณาจักร Kipling ให้เติบโตมากขึ้นพร้อมขยายสาขาออกไปในต่างจังหวัดครั้งแรก และล่าสุดในปีที่ผ่านมา ได้มีการดึงผู้บริหารรุ่นใหม่กับ “นอร์ท เลิศธนอารีย์” เข้ามาร่วมขับเคลื่อนแบรนด์ เพื่อก้าวสู่การขยายธุรกิจครั้งใหม่

“ศีกัญญา ศักดิเดช ภาณุพันธ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มณียาคอนเซพทส์ จำกัด กล่าวว่า ในปี 2566 แบรนด์ Kipling (คิปลิงก์) ได้กลับมารุกตลาดครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปี ผ่านการจัดอีเว้นท์ครั้งสำคัญ พร้อมมุ่งสร้างแบรนด์สู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างแบรนด์ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาว

ศีกัญญา ศักดิเดช ภาณุพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มณียาคอนเซพทส์

หากประเมิน เส้นทาง 25 ปีที่ผ่านมาของแบรนด์ Kipling ในประเทศไทย สามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ท่ามกลางตลาดที่มีการแข่งขันสูง มาจากการการวางรากฐานที่แข็งแกร่งตั้งแต่รุ่นแรกกับคุณแม่ ที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ รวมถึงในรุ่นสอง ที่มีการขยายช่องทางจำหน่ายให้หลากหลายไปในต่างจังหวัด รวมถึงการสร้างฐานกลุ่มลูกค้าประจำ ที่เป็นกลุ่มมีรอยัลตี้กับแบรนด์ ซื้อสินค้าต่อเนื่อง

อีกสิ่งสำคัญในปีนี้พบว่า จากการจัดงานอีเว้นท์ใหญ่ ที่เป็นการร่วมคอลแลปกับ บาร์บี้ ทำให้ได้ฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มวัยเด็กมากขึ้น

“นอร์ท เลิศธนอารีย์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท มณียา คอนเซพทส์ จำกัด ประเมิน ภาพรวมตลาดกระเป๋าผ้าแบรนด์เนมในกลุ่ม ฟังก์ชั่น ที่เป็นกระเป๋าสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายของไทย มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท โดยในปี 2566 มีการขยายตัวที่ดีอยู่ และมีแบรนด์ในตลาดหลากหลาย ซึ่งประเมินว่าการแข่งขันในตลาดยังรุนแรงอยู่ โดยเฉพาะช่วงการแข่งขันลดราคาสินค้า หลังจากโควิดผ่านพ้นไป แต่แบรนด์ คิปลิงก์ ไม่ได้เน้นแข่งขันในด้านราคา แต่มุ่งนำเสนอกระเป๋าที่เป็นฟังก์ชั่นและบริการหลังการขาย รวมถึงการนำเสนอสินค้าคอลเลคชั่นใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว

“สิ่งสำคัญที่ทำให้แบรนด์เติบโตในไทยมาตลอด มาจากทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทาน การมีเอกลักษณ์ของกระเป๋า ทั้งคุณสมบัติที่หากโดนน้ำจะสามารถเช็คออกได้ กระเป๋ามีฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งช่องใส่ซอง ใส่บัตรต่างๆ จึงตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า อีกความแตกต่างคือ แบรนด์รับซ่อมกระเป๋าตลอดชีพของลูกค้า”

กลยุทธ์ของแบรนด์ คิปลิงก์ จะร่วมคอลแลปกับพาร์ทเนอร์แบรนด์ดัง ทั้ง แบรนด์ Barbie แบรนด์ Miffy ส่วนในปีก่อนๆ ได้มีการคอลแลปกับแบรนด์ Anna Sui Doraemon และ Hello Kitty พร้อมกันนี้ ได้นำเสนอสินค้ากลุ่มออริจินอล ที่ได้รับความนิยมในอดีต อย่าง กระเป๋าเดินทางที่เป็นผ้ารุ่นออริจินอล และพวงกุญแจ ที่เป็นลิงขน กลับมาทำตลาดอีกครั้ง เนื่องจากกระแสกลุ่ม Y2K ได้รับความสนใจสูงมาก รวมถึงมีแผนนำสินค้าสำหรับกลุ่มลูกค้าผู้ชาย ที่เคยได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต เข้ามารุกตลาดมากขึ้นนับจากนี้ไป

นอร์ท เลิศธนอารีย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มณียา คอนเซพทส์

อีกกลยุทธ์ที่วางไว้ กับการขยายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่ให้แก่ลูกค้า รวมถึงการมุ่งขยายฐานกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มช่วงอายุ 20-30 ปีผ่านการจัดอีเว้นท์และการคอลแลป จากในปัจจุบันแบรนด์มีฐานลูกค้าอายุ 40 ปีขึ้นไปในสัดส่วนสูงถึง 85-90% ส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ประมาณ 10-15% ซึ่งมั่นใจว่า จากแผนที่วางไว้ จะช่วยขยายฐานกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่มากขึ้นในระยะยาว และเพิ่มสัดส่วนกลุ่มนี้ให้สูงขึ้น

ทั้งนี้ ประเมินว่าจากแผนการตลาดที่วางไว้ จะทำให้ยอดขายรวมในปี 2566 สร้างการเติบโต 30% จากปีก่อน ที่มียอดขายรวม 350 ล้านบาท โดยภาพรวมยอดขายจากช่องทาง อีคอมเมิร์ซ คิดเป็นสัดส่วน 10% ของยอดขายรวมบริษัท และที่ผ่านมามีการเติบโต 8-10% ในทุกเดือน พร้อมกับวางเป้าหมายในระยะ 3 ปีนับจากนี้ จะสร้างยอดขายรวมแตะระดับ 500 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบัน มีช่องทางจำหน่ายหลักรวม 70 จุดแบ่งเป็น จุดจำหน่ายในห้าง 53 จุด และ มีชอปในห้าง 17 ชอป โดยบริษัทยังไม่มีแผนขยายชอปเพิ่มเติม

“ภาพรวมกำลังซื้อในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ทั้งจากเศรษฐกิจจีน ทำให้นักท่องเที่ยวจีนยังไม่มาเต็มที่ มีผลต่อกำลังซื้อของลูกค้ากลุ่มนี้ได้ บริษัทยังเดินหน้ากลยุทธ์ที่วางไว้ เพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อแบรนด์เป็นอันดับหนึ่ง และมุ่งขยายผ่านออนไลน์ ที่กำลังเติบโตต่อเนื่อง และบริษัทมีฐานลูกค้าสมาชิกมากกว่า 30,000 คน ที่ซื้อสินค้าต่อเนื่อง เฉลี่ยซื้อซ้ำมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป”

อีกแนวทางที่บริษัทได้วางกลยุทธ์เร่งโตในระยะยาว คือ การนำแบรนด์ใหม่จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในไทย จากในปัจจุบันบริษัทเป็นพันธมิตรกับ บริษัท VF corporation เจ้าของแบรนด์ คิปลิงก์ จากสหรัฐ ที่มีแบรนด์ดังในเครือหลากหลายแบรนด์ รวมถึงบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มลักชัวรีไฮเอนด์เข้ามาทำตลาด โดยสนใจกลุ่มแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ และคอสเมติคส์ ซึ่งจะเห็นความชัดเจนภายใน 1-2 ปีนับจากนี้ ซึ่งจะทำให้พอร์ตฟอลิโอของบริษัทมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

สองผู้บริหารแบรนด์ คิปลิงก์

ทั้งนี้ประเมินว่า หากมีการนำแบรนด์ใหม่ที่ไม่เคยทำตลาดมาก่อนในไทย เข้ามารุกตลาดอย่างจริงจัง คาดว่า 2 แบรนด์ในอนาคต จะสร้างยอดขายเฉลี่ยประมาณ 100-150 ล้านบาท จะมีโอกาสทำให้ยอดขายรวมของบริษัท แตะระดับ 800 ล้านบาทได้ใน 3 ปีข้างหน้า

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...