“PEA” รุกแพลตฟอร์มคาร์บอน ขับเคลื่อนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายเสริมชัย จารุวัฒนดิลก รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจพลังงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ PEA กล่าวบรรยายหัวข้อ “PEA Centric Management of REC and Carbon FORM” ในงานสัมมนา Go Green 2024: The Ambition of Thailand จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 25 เม.ย.2567 ว่า การผลักดันประเทศไทยไปสู่สังคมไร้คาร์บอนเป็นเรื่องที่ภาครัฐให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้ไทยไปด้วยกันกับประชาคมโลก 

ทั้งนี้ กฟภ.เองเป็นหน่วยงานด้านพลังงานโดยภาครัฐ และส่วนสำคัญของการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมขององค์กรใน Scope 2 จากการใช้ไฟฟ้า จึงมีความพร้อมที่จะสนับสนุนภาคส่วนอื่นๆ ด้วย 4 โซลูชัน ประกอบด้วย 

1.การกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปลายปีนี้ สำหรับผู้ผลิตที่เลือกใช้ไฟฟ้าสีเขียวจะได้ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ใช้สำแดงการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นรายชั่วโมงตามมาตรฐานสากล

2.พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) โดย กฟภ.เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการพลังงานจากระบบ Solar Rooftop แบบครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจ ออกแบบ และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา

3.บริการ Carbonform by Buffer Box แพลตฟอร์มสำหรับจัดทำรายงาน และการบริหารจัดการ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

“ข้อมูลการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะเป็นกลไกลหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยมุ่งหน้าสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ โดยแพลตฟอร์ม Carbonform จะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล”

ทั้งนี้ ในตลาดปัจจุบันเองมีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ซึ่งแพลตฟอร์มของ กฟภ. มีความได้เปรียบจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ ตรงที่เป็นผู้ให้บริการไฟฟ้าด้วย จึงสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการใช้ไฟฟ้า และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ scope 2 ได้อย่างอัตโนมัติ รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลอื่นๆ ขององค์กรได้ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกการจัดเก็บข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรทั้งหมด

โดยการทำแพลตฟอร์ม Carbonform เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา (Pain Point) ให้ลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือในการจัดเก็บข้อมูล และจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดย กฟภ. ได้พัฒนาแพลตฟอร์มร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) การจัดทำรายงานจึงเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) รวมทั้งหากมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานในอนาคต ก็จะมีการปรับปรุงแพลตฟอร์มให้เป็นไปตามกฎระเบียบใหม่

นอกจากนี้ การจัดทำรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผ่านแพลตฟอร์มจะทำให้องค์กรสามารถมองเห็นภาพรวม และกระดานวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการบรรลุเป้าหมายเน็ต ซีโร่ รวมทั้งการให้บริการให้คำปรึกษา โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มให้บริการกับลูกค้าหลายรายทั้งภาครัฐ และเอกชน

4.การจัดหาใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) โดย กฟภ. ภายใต้มาตรฐาน I-REC (The International REC Standard) เพื่อตอบโจทย์การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ใน Scope 2 เพื่อตอบโจทย์ขององค์กรที่ต้องการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (RE100)

นอกจากนี้ กฟภ.ยังมีการให้บริการคิดคำนวณสำหรับผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน และต้องการใบรับรองเพื่อที่จะซื้อขายแลกเปลี่ยน

“ภารกิจของ กฟภ.พยายามที่จะผลักดันให้ทุกภาคส่วนในระดับนโยบาย เพื่อให้เข้าถึงบริการพลังงานหมุนเวียนได้มากขึ้นในหลายมิติ และพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการ และผู้ใช้ไฟในการจัดหาพลังงานสะอาด”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...