โวลเทอิคฯ ลุย โซลาร์รูฟ 'ลดค่าไฟ' กลุ่มธุรกิจ 70% เล็งตั้งโรงงานรีไซเคิล

นายภูวดล คำแหง กรรมการบริหาร บริษัท โวลเทอิค อินเทลลิเจนท์ จำกัด หรือ VOLTAIC เปิดเผยว่า จากเทรนด์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การมุ่งสู่การใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะการติดตั้งโซลาร์เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและสามารถผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังตลาดยุโรปตามมาตรการการกีดกันทางการค้า หรือ มาตรการ CBAM ที่เข้มงวดมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มนิยมหันมาลงทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลใช้เอง

"จากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลให้ราคาพลังงานมีความผันผวน จะเห็นได้จากในช่วงที่ผ่านมา ราคานำเข้าก๊าซ LNG มีราคาสูงมากขึ้น ส่งผลให้ค้าไฟฟ้าทะลุกว่า 4 บาทต่อหน่วย อีกทั้ง ปัญหาอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้การใช้พลังงานพุ่งสูงขึ้น ค่าไฟฟ้าก็สูงขึ้นเช่นกัน ทั้งประชาชนและกลุ่มโรงงานจึงอยากลดต้นทุนในส่วนนี้มากขึ้น"

ทั้งนี้ จากความชอบส่วนตัว ทำให้หลังจบวิศวกรรมเครื่องกล ในระหว่างทำงานได้เรียนรู้หลายด้าน ทั้งวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า รวมไปถึง Solar Power ประกอบกับมองว่าพลังงานสะอาดจะเป็นเทรนด์ในอนาคต จึงได้จัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้งระบบ Solar Rooftop ทุกขนาด ครบวงจร

“โวลเทอิค อินเทลลิเจนท์ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 ด้วยวิสัยทัศน์มุ่งสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดยยึดมั่นนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ พร้อมให้ข้อเท็จจริงไม่ปิดบัง ที่ออกแบบ ควบคุมการติดตั้ง โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินโครงการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมผู้บริหารโดยตรง" 

นายภูวดล กล่าวว่า จากการที่ดำเนินการเองส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าทั้งเก่าและใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยการติดตั้ง Solar Rooftop ถือเป็นนวัตกรรมระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาที่บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญและสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งตอนนี้ก็ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่มาช่วยเสริม และสามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันได้ดี แต่หากลูกค้าต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางคืนบริษัทก็สามารถติดตั้งแบตเตอรี่ให้ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม จากการที่มีลูกค้าเก่าติดต่อให้บริษัทเข้าไปติดตั้งเพิ่มขนาดกำลังการผลิตเพิ่มนั้น มาจากการที่บริษัทดำเนินธุรกิจในลักษณะเทิร์นคีย์ โดยใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงจากพันธมิตรระดับโลก ที่มีสำนักงานประจำประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นแผงโซลาร์เซลล์ แบรนด์ TRINA SOLAR ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์คุณภาพสูง ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก 

ในขณะที่ อินเวอร์เตอร์ หรือ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้าบริษัทฯ เลือหใช้แบรนด์ HUAWEI ถือเป็นผู้พัฒนาและผลิตอินเวอร์เตอร์คุณภาพสูง อันดับ 1 ของโลก ส่วน Solar Mounting หรือ อุปกรณ์ยึดจับแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา ใช้แบรนด์ Clenergy ผู้ผลิต Solar Mounting คุณภาพสูง ด้วยมาตรฐานวิศวกรรมของออสเตรเลีย เป็นต้น

นอกจากนี้ สายไฟงาน Solar Rooftop คุณภาพสูง แบรนด์ Lapp Kabel ผู้ผลิตสายไฟคุณภาพสูงรายใหญ่ของโลก มีสำนักงานประจำประเทศไทย ในชื่อ บริษัท JJ Lapp (T) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนบริษัททั้งการให้ข้อมูลทางการตลาด ด้านเทคนิค และอุปกรณ์คุณภาพสูง

สำหรับภาพรวมธุรกิจ บริษัทตั้งเป้าปี 2567 รายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปีก่อน ที่มีรายได้อยู่ที่ 10 ล้านบาท และตั้งเป้ารายได้เติบโต 50% ภายใน 3-5 ปีจากนี้ เนื่องจากบริษัทมีแผนขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงงานประมาณ 6 แห่ง กำลังผลิตรวม 1 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย

โรงงานเครื่องสำอาง, โรงกลึง, โรงงานขึ้นรูปยาง และโรงงานขึ้นรูปแพกเกจจิ้ง ติดตั้งขนาดตั้งแต่ 30-264 กิโลวัตต์ ขณะที่ลูกค้าที่เป็นบ้านที่พักอาศัย คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 5% และรักษาฐานลูกค้าเดิม ที่พร้อมขยายการติดตั้งเพิ่มเติม จากเฟสแรกๆ ที่ลูกค้าทดลองติดตั้งและสามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ 

นอกจากนี้ บริษัทยังขยายพื้นที่ในการติดตั้งมากขึ้นด้วย จากปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ใน จ.นนทบุรี เจาะกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SME, สำนักงาน, โรงงานทุกขนาด ใน จ.ฉะเชิงเทรา รวมไปถึงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ผ่านกลยุทธ์การให้ข้อเท็จจริงโดยไม่ปิดบังในการดึงดูดลูกค้า และสื่อสารให้ความรู้ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น  

ขณะเดียวกัน ยังใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้มีคุณภาพสูง มาตรฐานสากล ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ จากพันธมิตรระดับโลก ที่มีสำนักงานประจำประเทศไทย อีกทั้งเจ้าของบริษัทเป็นผู้ให้คำปรึกษา ควบคุมงานออกแบบ ติดตั้งเองทุกขั้นตอน คุณภาพในงานติดตั้งจึงมีความปลอดภัยสูง 

ทั้งนี้ บริษัทมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าโรงงาน เพราะบริษัทมีจำนวนพนักงานติดตั้งเพียง 12 คน จึงอยากให้ความสำคัญในการดูแลลูกค้าอย่างทั่วถึง และเน้นให้ข้อมูลลูกค้าแบบตรงไปตรงมา อย่างลูกค้าโรงงาน จะแนะนำให้ระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เพื่อลดค่าไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากกว่า ซึ่งลูกค้าใช้งบลงทุนในการติดตั้งถูกกว่า และคืนทุนภายใน 4-5 ปี เร็วกว่าแบบใช้แบตเตอรี่ โดยลูกค้าของบริษัทปัจจุบันลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 40-70%

นายภูวดล กล่าวว่า บริษัทยังมีแผนในการต่อยอดธุรกิจไปสู่โรงกำจัดขยะโซลาร์เซลล์ เบื้องต้นใช้งบลงทุนเริ่มต้นประมาณ 2 ล้านบาท และศูนย์บริการซ่อมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) งบลงทุนเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านบาท คาดจะมีความชัดเจนภายใน 3-5 ปี สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน เนื่องจากเทรนด์การใช้พลังงานสะอาดมีการขยายตัวอย่างมาก อนาคตเราจะสามารถนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้มาสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...