นายกฯ ชูบทบาทการเงินหนุนเศรษฐกิจยั่งยืน สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา UK-Thailand Financial Conference ภายใต้หัวข้อ “The Changing Roles of the Financial Sector in Thailand’s Economic Development” กล่าวว่า ภาคการเงินถูกมองว่าเป็นตัวกลางระหว่างผู้ฝากและผู้กู้ยืม ผู้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม และผู้จัดการความเสี่ยง อย่างไรก็ดี ภาคการเงินได้มีวิวัฒนาการกลายมาเป็นภาคส่วนที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ซึ่งประเด็นสำคัญบางประการที่ภาคการเงินมีต่อเศรษฐกิจซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่ฝ่ายบริหารของรัฐที่นำมาใช้ สิ่งแรกและสำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทุกวันนี้ ไม่สามารถปฏิเสธความจริงที่ว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกลายเป็นพลังปฏิวัติที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในทุกมิติ และภาคการเงินก็ไม่มีข้อยกเว้น ต่างจากอุตสาหกรรมที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง แต่ภาคการเงินยอมและกำลังเติบโตในสภาพแวดล้อมดิจิทัลใหม่ โดยเริ่มจากการชำระเงินซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในโลกที่นำระบบการชำระเงินระดับชาติแบบเรียลไทม์มาใช้อย่างเต็มที่ 

ทั้งนี้ระบบของบริษัทที่ได้เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วและความสะดวกสบายอย่างมาก ปัจจุบันประเทศไทยได้กลายเป็นประเทศชั้นนำในการทำธุรกรรมผ่านมือถือ ดังนั้นอุปกรณ์มือถืออีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินพร้อมกับบริการโอนเงินและชำระเงินฟรีจึงได้จ่ายให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้นและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ความสำเร็จไม่ได้จำกัดอยู่ที่ความเชื่อมโยงของ SMEs กับระบบแต่ละประเทศอื่นๆ 

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำความสำคัญบางประการของภาคการเงินต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ดังนี้

ความยั่งยืน (Sustainability)

รัฐบาลมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond), พันธบัตรเพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond), พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond), พันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) รวมถึงกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund) เพื่อสนับสนุนการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลยังได้ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนรุ่นแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ออกโดยรัฐบาล เมื่อปี 2563 ซึ่งสามารถระดมทุนได้ถึง 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังความสำเร็จดังกล่าว รัฐบาลได้เปิดตัวพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนชุดที่ 2 ซึ่งสามารถระดมทุนได้อีกกว่า 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรัฐบาลได้จัดสรรเงินเหล่านี้ไปสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการเริ่มเพื่อพัฒนาสังคมที่สำคัญ เช่น โครงการสนับสนุนการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้ รัฐบาลยังดำเนินการเพื่อสร้างตลาดคาร์บอนด้วย

ประชากรสูงวัยโลก (Global Aging Population)

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มที่ (Super Aged Society) ทำให้ในปี 2577 ไทยจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 28% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. แรงงานลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้การผลิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง 2. ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงวัยอยู่ในความเสี่ยง เนื่องจากเงินออมหลังเกษียณไม่เพียงพอ และ 3.การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้แก่ผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้น และอาจเป็นความท้าทายทางการเงินในระยะยาว

ระบบบำนาญของไทยครอบคลุมแรงงานทั้งในและนอกระบบ ผ่านโครงการภาคบังคับ (Mandatory) และภาคสมัครใจ (Voluntary) ตามแนวคิดเรื่องความมั่นคงทางรายได้แบบหลายเสา (multi-pillar income security) ของธนาคารโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับผู้เกษียณอายุที่เคยทำงานในภาครัฐและเอกชน โดยภาคการเงินมีบทบาทในการจัดการเงินบำนาญอย่างรอบคอบ พร้อมจัดหาผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุนที่เหมาะสม รวมถึงดึงดูดให้เกิดการออมมากขึ้น

การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หรือ Digitalization

ซึ่งในภาคการเงินมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของโลกที่นำระบบ PromptPay มาใช้ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกสบายในการชำระและโอนเงิน ส่งผลให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำด้านการทำธุรกรรมทางโทรศัพท์ (mobile transactions) และ E-commerce 

นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของระบบการชำระเงินได้ปูทางสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น และสร้างโอกาสใหม่ให้แก่ธุรกิจ ผ่านการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินของไทยกับญี่ปุ่น สิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ทำให้เกิดการเชื่อมโยงทางธุรกิจและผู้คน โดยรัฐบาลมุ่งมั่นขยายความเชื่อมโยงให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมถึงผลักดันกรอบการดำเนินงานที่ครอบคลุมการออกใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) โดยที่ภาคส่วนอื่น ๆ สามารถมีส่วนร่วมได้

ทั้งหมดนี้คือการเปลี่ยนแปลงในภาคการเงินของไทยเป็นข้อพิสูจน์ถึงนวัตกรรมและความมุ่งมั่นร่วมกัน และเมื่อมองไปยังอนาคต ไทยจะยังคงใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และไม่แบ่งแยก โดยพร้อมทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยยังคงแข็งแกร่งและฟื้นตัวได้

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...