นายกฯลุยตรวจบริหารจัดการน้ำบางระกำ พิษณุโลก ทุ่ม 655 ล้านเพิ่มเขตชลประทาน

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2567 เวลา 13.30 น. ที่ประตูระบายน้ำท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หารือประเด็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยมีนายบุญเหลือ บารมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกพร้อมด้วยผู้บริหารส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ 

น.ส. เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายหลังการรับฟังบรรยายสรุปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรีกล่าวพบปะกับประชาชนที่มาให้การต้อนรับว่า  จังหวัดพิษณุโลกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง แต่ยังประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมน้ำแล้ง รวมถึงปัญหาหนี้นอกระบบและปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และได้กำชับ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว ทั้งนี้ จังหวัดพิษณุโลกอยู่ในแผนการ ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของรัฐบาล ประจำปี 2568 โดยรัฐบาลพร้อมสนับสนุน ยกระดับจากจังหวัดเมืองรองให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยวเมืองหลัก ซึ่งจังหวัดพิษณุโลกมีความพร้อม มีสนามบิน มีวัฒนธรรมที่ดีงาม รวมถึงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามหลาย ๆ สถานที่

น.ส.เกณิกา กล่าวอีกว่า วันนี้นายกรัฐมนตรีได้มาดูเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรู้สึกยินดีที่ได้รับทราบข้อมูล รับทราบความต้องการของประชาชนในพื้นที่  ยืนยันรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร หากไม่มีน้ำทำการเกษตร ก็ไม่สามารถได้ผลผลิตที่ดี

ในส่วนของโครงการศึกษาความเหมาะสมในพื้นที่แม่น้ำยมฝั่งขวาอำเภอบางบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก นายกฯ ได้กล่าวถึงการลงพื้นที่วันนี้ ว่าต้องการมารับฟังข้อมูลพร้อมศึกษาความเป็นไปได้ ตนเองเข้าใจปัญหา รับทราบถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยได้สั่งการให้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ศึกษาความเป็นไปได้ ในพื้นที่แม่น้ำยมฝั่งขวา ให้อยู่ในเขตชลประทาน 2) เสริมคันป้องกันน้ำท่วม ป้องกันตลิ่งพัง และ 3) โครงการขยายถนน 4 เลน จากบางระกำไปลานกระบือ ซึ่งอนุมัติงบแล้ว

“สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสมในพื้นที่แม่น้ำยมฝั่งขวาอำเภอบางระกำ กรมชลประทานจะพิจารณาดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรและการพัฒนาโครงสร้างด้านการชลประทานเพื่อขยายเขตเป็นพื้นที่ชลประทาน พร้อมกับการพัฒนาแหล่งน้ำตามแผนหลักของกรมชลประทานควบคู่กันไป ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 665 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่ออุปโภค-บริโภค และการเกษตร ป้องกันภัยแล้งและอุทกภัยอย่างยั่งยืน” น.ส.เกณิกา กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...