'ก้าวไกล' ยังแตะปม 'ทักษิณ' อภิสิทธิ์ชน 'โรม' ชี้สังคมคาใจป่วยจริงหรือไม่

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2567 ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีนัยทางการเมืองหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ใกล้เข้าสู่การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ว่า หลายฝ่ายมองถึงความเป็นไปได้ว่าสุดท้ายนายทักษิณ ต้องการไปทวงคืนพื้นที่หรือไม่ แต่ส่วนตัวก็มองว่านายทักษิณอาจจะอยากกลับบ้านหรือไม่ เนื่องจากเป็นคนเชียงใหม่ แต่สิ่งที่เราต้องมองมากไปกว่านั้นซึ่งเป็นสิ่งที่คาใจของสังคมคือเรื่องของสุขภาพ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลบอกมาตลอดว่านายทักษิณสุขภาพย่ำแย่ แล้วอยู่ๆ ผ่านไปเพียงไม่กี่วันนายทักษิณสามารถเดินทางออกจากโรงพยาบาลได้ และหลังจากอยู่บ้านเพียงไม่กี่วันสามารถเดินทางไปที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ จึงเกิดความคาใจว่าตกลงแล้วรัฐบาลหลอกเราหรือไม่ หากรัฐบาลหลอก ไม่ตรงไปตรงมากับประชาชน ก็ถือว่าเป็นรัฐบาลที่ใช้ไม่ได้ ดังนั้นหากนายทักษิณไม่ได้ป่วยจริง คิดว่าเมื่อรัฐบาลหลอกประชาชนก็ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ยอมรับว่านายทักษิณมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยแน่นอน เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ เช่นในอภิปราย เมื่ออภิปรายถึงนายทักษิณ กับการอภิปรายถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะเห็นว่าปฏิกิริยาของคนในพรรคเพื่อไทยที่มีต่อนายทักษิณและนายเศรษฐานั้นแตกต่างกันคนละเรื่อง จนเริ่มไม่แน่ใจว่าใครคือนายกฯ ใครไม่ใช่นายกฯ ดังนั้น ด้วยเหตุผลเหล่านี้ก็ต้องยอมรับว่านายทักษิณต้องมีบทบาทอย่างสำคัญ ส่วนจะมีบทบาทไปถึงอบจ. หรือไม่ หรือมีบทบาทต่อการเลือกตั้งอื่นๆ หรือไม่ก็ต้องดู หรือได้วางยุทธศาสตร์ในทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน หรือสุดท้ายอาจจะเป็นเพียงการอยากกลับบ้านก็ได้ ซึ่งเป็นไปได้หมด

"ผมอยากโฟกัสและให้ความสำคัญกับการตรงไปตรงมา ความซื่อสัตย์ของรัฐบาลมากกว่า เราไม่ต้องการเห็นรัฐบาลหลอกลวงประชาชน อยากเห็นรัฐบาลที่พูดความจริง แน่นอนหลายฝ่ายบอกว่านายทักษิณโดนกระทำมาก่อน ก็เห็นด้วยมีหลายข้อที่นายทักษิณไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่ทางแก้ไม่ใช่การหลอกกัน ไม่ใช่การโกหกกัน ทางแก้ที่ควรจะเป็นคือคุยกันโดยใช้กติกา คุยกันในเชิงระบบ ระบบแก้ได้กลไกต่างๆ แก้ได้” นายรังสิมันต์ กล่าว

เมื่อถามถึงข้อสังเกตที่พรรคก้าวไกลไม่ค่อยแตะเรื่องนายทักษิณ เมื่อเทียบกับกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกฯ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ไม่ใช่ว่าเราไม่แตะนายทักษิณ เราอภิปรายถึงหลายครั้ง แต่ที่เราโฟกัสกับกระบวนการ เพราะคิดว่ามันยั่งยืน และต้องยอมรับว่า มันเป็นคนละกรณี ซึ่งกรณีของ พล.อ.ประยุทธ์นั้นยึดอำนาจมา และมีการสืบทอดอำนาจ ส่วนกรณีนายทักษิณมีหลายเรื่องผสมกัน แต่กรณีเฉพาะหน้าที่สามารถกลับประเทศไทยได้ก็เป็นเรื่องกระบวนการที่ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะเป็นกระบวนการที่ไม่ได้เกิดกับทุกคน สังคมมองว่าเป็นเรื่องอภิสิทธิชน ที่ให้กับคนบางกลุ่ม จนเกิดความไม่ไว้วางใจกัน สุดท้ายกลายเป็นว่าใครอยากได้อภิสิทธิ์เช่นนี้ต้องมีเส้นสาย ต้องมีเครือข่าย ต้องเข้าถึงศูนย์กลางอำนาจได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

เวที Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

เมื่อ "ความยั่งยืน" กลายเป็นกติกาสำคัญต่อโลก ด้วยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย ทั้งการเปลี...

ผ่อนคลายโดยพร้อมเพรียง

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นการผ่อนคลายนโยบายเศรษฐกิจในสามประเทศสำคัญ อันได้แก่ สหรัฐ จีน และไทย ...

วอลุ่มเทรดคึก ‘ธุรกิจบล.’ ฟื้น การเมืองนิ่ง-กระตุ้นศก. หนุนเชื่อมั่นนักลงทุน

นับตั้งแต่สถานการณ์การเมืองมีความชัดเจน หลังได้นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 “แพทองธาร ชินวัตร” ส่งผลให้เกิดแ...

‘หนี้เสีย‘ แบงก์ทะลัก 5.3 แสนล้าน ’กรุงเทพ-กสิกร-กรุงศรี‘ หนี้ค้างยังไหลต่อ

หากดูสถานการณ์ “หนี้เสีย” หรือ “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” (NPL) ถือว่ายังคง “น่าห่วง” อย่างต่อเนื่...