จับทิศทางหุ้นญี่ปุ่น นักวิเคราะห์คาด ดัชนีนิกเกอิ ขึ้นแตะ 55,000 จุด สิ้นปี 68

หลังจากที่ดัชนี Nikkei 225 ทะลุระดับ 40,000 จุด ทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกสำหรับ เจสเปอร์ โคลล์ ( Jesper Koll) ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญของบริษัทให้บริการทางการเงิน Monex Group ที่คาดว่าราคาหุ้นจะมีการอัพไซด์ถึง 37% หรือ ราคาที่หุ้นอาจขึ้นไปถึง จากดัชนีอ้างอิง (Index) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดให้นักลงทุนเห็นความเคลื่อนไหวของหุ้นแต่ละกลุ่ม และในเดือนกรกฎาคมปี 2566 โคลล์เคยคาดการณ์ว่า Nikkei จะแตะ 40,000 “ในอีก 12 เดือนข้างหน้า”

และเมื่อถึงจุดนี้ โคลล์ มองว่า Nikkei 225 จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 55,000 จุด ภายในสิ้นปี 2568  โดยอ้างถึงเหตุการณ์ฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆรวมทั้งหุ้นญี่ปุ่นในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ซึ่งส่งผลให้ Nikkei แตะระดับสูงสุดในปี 1989 และแล้ว ฟองสบู่ก็"แตก"ในปี 1990  จนตกอยู่ในยุค "เศรษฐกิจซบเซา" ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "ทศวรรษที่สูญหาย" ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีดัชนี Nikkei สูญเสียมูลค่าไปกว่าครึ่งหนึ่ง

ญี่ปุ่นมีความสารมรถในการเป็น“มหาอำนาจที่สร้างมูลค่าทุน” เป็นหนึ่งในปัจจัยบวกที่ โคลล์  คาดว่าจะสามารถผลักดันดัชนีได้ คือ “จุดแข็ง"ของญี่ปุ่นนั้นมาจากภาคเอกชน มากกว่าผลการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ สนับสนุนการปรับโครงสร้างตลาดทุน

"ทว่าบริษัทของญี่ปุ่นมีความสามารถในการสร้างรายได้ที่เหนือกว่า ระยะเวลาตลอด 20 ปี ญี่ปุ่นใช้การปรับโครงสร้างแบบ "ไคเซ็น"   กลยุทธ์การบริหารแบบญี่ปุ่น เน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทีละเล็กทีละน้อย เปลี่ยนบริษัทญี่ปุ่นให้กลายเป็น "มหาอำนาจที่สร้างมูลค่าทุน" จนไม่ต้องสงสัยเลยว่า 'ซีอีโอมนุษย์เงินเดือน' ของญี่ปุ่น สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานได้มากกว่าซีอีโอซูเปอร์สตาร์แห่งวอลล์สตรีทได้"

ความเสี่ยงที่อาจฉุดรั้งดัชนี

ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและช่วยเหลือภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อ รวมถึงการขึ้นเงินอุดหนุนช่วยเหลือดูแลเด็ก และเพิ่มการใช้จ่ายในการวิจัยและการป้องกันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี แต่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้นำเสนอแผนเกี่ยวกับวิธีการหาเงินมาจ่ายสำหรับโครงการเหล่านี้

ด้วยเหตุนี้ จึงคาดว่าจะมีการปรับอัตราภาษีในปี 2568 หรือ 2569  ซึ่งการเพิ่มภาษีถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่นมาโดยตลอด

รวมทั้งสงครามการค้าที่มีความเสี่ยงในระดับโลก โดยผู้เชี่ยวชาญของญี่ปุ่นเรียกว่า “สงครามค่าเงินที่ผลิตในจีน” หากทางการจีนถูกบังคับให้ลดค่าเงินหยวนของจีน ประมาณ 20% ถึง 30% มันจะเป็นความท้าทายอย่างมากต่อความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นได้รับบาดเจ็บในสงครามการค้าโลก

อ้างอิง CNBC

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...