ภาวะ ‘เงินฝืด’ ไม่น่าห่วง ดอกเบี้ยนโยบายไม่ลด

ความหวังของ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ที่ต้องการให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ต่อปีเหลือ 2.25% ต่อปี เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อ หลังจาก “เงินเฟ้อ” ติดลบติดต่อกันมาหลายเดือนเป็นอันต้องอับปางลง วานนี้ (7 ก.พ.) เมื่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปีต่อไป โดยมี 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี เหลือ 2.25% ต่อปี

เลขานุการ กนง. “ปิติ ดิษยทัต” ให้เหตุผลว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวของประเทศไทยแล้ว โดย กนง. เห็นว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้าจากปัจจัยวัฏจักรเศรษฐกิจและปัจจัยเชิงโครงสร้าง ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ 

เพราะแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำในปัจจุบัน แต่ราคาสินค้าไม่ได้ปรับลดลงเป็นวงกว้าง หากหักผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงเป็นบวก ที่สำคัญยังไม่มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงของภาวะเงินฝืด กรรมการ กนง. ส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปีตามเดิม 

แม้ว่าก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะออกมาระบุว่า “ถึงเวลาแล้วที่ต้องลดดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.5% เหลือ 2.25% เพราะวันนี้กรอบเงินเฟ้อยังติดลบอยู่ แต่ปัญหาจะเป็น deflation (เงินฝืด) แล้ว” แต่ก็ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการ กนง. 7 คน ที่มีตัวแทนแบงก์ชาติ 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอีก 4 คน เป็นกรรมการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ติดต่อกันได้ไม่เกินสองวาระ

คณะกรรมการ กนง. มี “เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ เป็นประธานกรรมการและรองผู้ว่าฯ แบงก์ชาติอีก 2 คน คือ อลิศรา มหาสันทนะ เป็นรองประธานกรรมการ และ รุ่ง มัลลิกะมาส เป็นกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ, ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน, รพี สุจริตกุล  ซึ่ง รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส และสันติธาร เสถียรไทย ซึ่งเป็นกรรมการเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมี ปิติ ดิษยทัต เป็นเลขานุการ กนง. และหากย้อนกลับไปดูจะเห็นว่าการประชุม กนง. ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2565 มีการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 8 ครั้ง จาก 0.50% เป็น 2.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี 

กนง. อธิบายว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงของภาวะเงินฝืด ที่สำคัญเข้าใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่แบงก์ชาติใช้เป็นปัจจัยกำหนดดอกเบี้ยนโยบายยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยลง ซึ่งการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วยไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ และ GDP ประเทศอีกด้วย 

ดังนั้นภาคเอกชนจึงต้องเตรียมรับมือสิ่งที่จะตามมาหลังจากไม่ลดดอกเบี้ยนโยบายลง โดยเฉพาะผลกระทบที่แบงก์ชาติมองว่า “อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังสอดคล้องกับการขยายตัวเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวของประเทศไทยแล้ว”

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...