จิตแพทย์แนะ 7 วิธีรับมือ หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงกระทบจิตใจ

จากเหตุการณ์นักเรียนแทงกัน จนเป็นกระแสติดเทรนด์ในโซเชียลในวันนี้ และทำให้คนในสังคมเกิดความสนใจข่าวนี้ในวงกว้าง แต่ในมุมกลับกันสำหรับนักเรียน หรือคนที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว อาจได้รับผลกระทบทางจิตใจแบบเฉียบพลัน ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงอย่างคาดไม่ถึง เราจะมีวิธีรับมือกับเหตุการณ์นี้อย่างไรได้บ้าง

เมื่อคนที่เจอเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องที่คาดไม่ถึง และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต จะทำให้เกิดความกลัว กังวล รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต ซึ่งแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการเผชิญเหตุการณ์ความรุนแรงที่แตกต่างกัน จนทำให้มีความรู้สึกกังวล เศร้า โกรธ นอนไม่หลับ เสียสมาธิ คิดวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คนส่วนใหญ่จะมีอาการค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเหตุการณ์ผ่านไประยะหนึ่ง แต่บางคนยังคงมีอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดเป็นโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง posttraumatic stress disorder (PTSD), หรือ โรคเครียดฉับพลัน Acute stress disorder (ASD)

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital

...

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital เผยว่า อาการที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ กังวล เศร้า หรือกลัวมาก, ร้องไห้บ่อย, โกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจมาก, สมาธิความจำไม่ดี, ฝันร้าย นอนไม่หลับ, คิดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กลัวว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอีก, หลีกเลี่ยงสถานที่ ผู้คน หรือสิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น, แยกตัวจากสังคม, มีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เหงื่อแตก ใจสั่น และตื่นตกใจง่าย

7 วิธีรับมือความเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงกระทบจิตใจ

  1. เมื่อเริ่มรู้สึกว่ามีความเครียด มีอารมณ์ร่วมกับข่าวมากไป ให้ดึงตัวเองออกจากการรับรู้ข่าวสาร งดการเข้าไปมีส่วนร่วมกับข่าว ทั้งการแชร์ การคอมเมนต์ที่รุนแรงเกรี้ยวกราด เนื่องจากเป็นการส่งต่อความรุนแรง
  2. ใช้เวลาอยู่กับคนที่คุณอยู่ด้วยแล้วสบายใจ ไว้ใจ พูดคุย ระบายความรู้สึก อย่าแยกตัวไปอยู่คนเดียว
  3. สงบจิตใจตัวเองด้วยการทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิกำหนดลมหายใจ เข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูง ออกกำลังกาย
  4. ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ดูแลตัวเอง นอนพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่ควรใช้สุรายาเสพติด
  5. ถ้ามีความรู้สึกอยากร่วมช่วยเหลือในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถมีส่วนร่วมได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น บริจาคเงิน
  6. ถ้ามีคนรู้จักมีความเครียดมากในเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยเขาได้โดยการเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างไม่ตัดสินความคิดความรู้สึกของเขา ช่วยเหลือเขาเท่าที่คุณสามารถทำได้
  7. สังเกตอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง หากเครียดมากไป ไม่สามารถรับมือได้ ให้ปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา

ทั้งนี้ การจัดการความเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา และอาศัยความอดทน ผู้ที่พบเจอเหตุการณ์ความรุนแรงควรใจเย็น และค่อยๆ เรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม แต่ถ้าไม่สามารถจัดการความเครียดได้ แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อิสราเอลโจมตีพุ่งเป้าสำนักงานใหญ่ข่าวกรองฮิซบอลเลาะห์ในเบรุต

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานตามปากคำผู้เห็นเหตุการณ์ว่า ได้ยินเสียงระเบิดหนึ่งครั้งและเห็นกลุ่มควันลอยเห...

กองทัพ ‘สหรัฐ’ เคลื่อนทัพทลายแหล่ง ‘กบฏฮูตี’ 15 แห่งใน ‘เยเมน’

กองบัญชาการกลางสหรัฐได้โพสต์ใน X ว่า การโจมตีฮูตี มีขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นวานน...

บัณฑิตจีนหางานยากมาก สมัครไป 50 แห่ง แต่ไร้คำตอบ เลยหันไป ‘เกษียณอายุ’ ในชนบทแทน

หากคิดว่าหางานใน “ไทย” ยากแล้ว ใน “จีน” กลับยิ่งหางานยากกว่ามาก แม้มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก...

รู้จัก ‘สายมู’เบลเยียม ท่องสำนักไล่ปีศาจแห่งบรัสเซลส์

เทียร์รี โมเซอร์ ผู้เป็นทั้งนักบวชคาทอลิกและหมอผีมีพันธกิจสองอย่าง นั่นคือการบรรเทาความทุกข์ของผู้คน...