กสม.ชงข้อเสนอถึง รมว.ยุติธรรม ปฏิบัติผู้ต้องขังตามหลักสากล

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงกรณี กสม.ทำข้อเสนอแนะไปยัง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เรื่องการเน้นการปฏิบัติให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ต้องขังให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล หลังได้มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวของกรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ห้องกักตรวจคนเข้าเมือง และห้องซักถามในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเรือนจำกลางจังหวัดสงขลา โดยรับทราบข้อเท็จจริง และปัญหาพบว่าสภาพความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังสูงอายุซึ่งเป็นผู้ป่วยอยู่ระหว่างเตรียมออกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลภายนอกเรือนจำไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างปกติ จากอาการบาดเจ็บและถูกใส่กุญแจข้อเท้าทั้งสองข้าง

นายวสันต์ กล่าวว่า อีกทั้งพื้นที่เรือนจำสงขลารองรับผู้ต้องหาที่ความจุ 1.2 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่ามาตรฐานของกรมราชทัณฑ์ที่กำหนดไว้ 1.6 ตารางเมตรต่อคน และต่ำกว่ามาตรฐานสากล ที่ 2.25 ตารางเมตรต่อคน และไม่มีห้องสำหรับปรึกษาคดีโดยเฉพาะเพื่อให้บริการแก่นักโทษและทนายความ และเจ้าหน้าที่เรือนจำสงขลาต้องการให้เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินค่าอาหารผู้ต้องขังให้ทันตามกำหนด และเพิ่มงบค่าอาหารผู้ต้องขัง

นายวสันต์ กล่าวอีกว่า กสม.พิจารณาข้อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนแล้วเห็นว่าการดูแลและปฏิบัติต่อผู้ต้องขังต้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศถือว่ามีความสำคัญ เพื่อไม่ให้กระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศและเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองกับประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ และไม่ห่างผลกระทบต่อการเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สหประชาชาติ วาระปี 2568-2670 กสม.จึงมีมติให้ส่งข้อเสนอแนะหรือแนวทางในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยธรรมไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบหมายให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการในการดูแลผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างปกติ ควรให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยอย่างใกล้ชิดแทนการใช้เครื่องพันธนาการ ซึ่งเป็นมาตรการที่เพียงพอและเหมาะสมแก่กรณี

นายวสันต์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่เรือนจำกลางสงขลาควรเพิ่มพื้นที่ห้องควบคุมให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล โดยการบริหารจัดการในทางกายภาพ เช่น การกระจายผู้ต้องขังไปยังเรือนจำอื่น และจัดห้องทนายความเพื่อให้ผู้ต้องขังปรึกษาหารือกับทนายความของตนได้เป็นการเฉพาะและเป็นส่วนตัว นอกจากนี้ กรมราชทัณฑ์ควรเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกำหนดเวลาไม่ให้ค้างจ่าย อีกทั้ง พิจารณาค่าอาหารผู้ต้องขังให้เหมาะสมกับการส่งเสริมโภชนาการและค่าครองชีพในปัจจุบันด้วย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...