IFRS มาตรฐานรายงานการเงินเผยความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศ ตลาดทุนควรรู้


ปัจจุบันหากกล่าวถึง Global Megatrends แล้ว “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เป็นหนึ่งในประเด็นที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นความเสี่ยงทั้งทางด้านกายภาพ 

เช่น ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่านต่างๆ เช่น กฎหมายและนโยบายที่เปลี่ยนแปลงทำให้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่หยิบยกประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผนวกไว้ในวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร เพื่อกำหนดทิศทาง นโยบาย กลยุทธ์ การบริหารจัดการความเสี่ยง และกระบวนการทำงาน 

โดยจะเห็นได้จากแนวโน้มการประกาศ เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ขององค์กรต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศไทยที่ได้ประกาศเป้าหมายในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP 26 เช่นกัน  

นอกจากนี้ International Sustainability Standards Board หรือ ISSB ซึ่งเป็นหน่วยงานในการพัฒนามาตรฐานที่ช่วยให้การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทมีความครอบคลุมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุน

 โดยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ได้ออกมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (International Financial Reporting Standards: IFRS) เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนออกมา 2 ฉบับ คือ 

“IFRS S1” มาตรฐานเรื่องข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืน 

และ “IFRS S2” มาตรฐานเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (คาดว่าจะเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป) 

IFRS ทั้งสองฉบับมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของบริษัทและการเข้าถึงเงินทุน ทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ครอบคลุมการป้องกันความเสี่ยงในด้านกายภาพและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน 

รวมถึงกระบวนการด้านการกำกับดูแล การกำหนดกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง และการกำหนดตัวชี้วัด และเป้าหมายขององค์กรที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(https://shorturl.asia/w5jzJ) รวมทั้ง เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดทุนตลอดจนผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องมั่นใจว่าการดำเนินงานต่างๆ นั้นไม่ได้เป็นการฟอกเขียว (Greenwashing) หรือมีการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนตามจริงหรือบิดเบือนเกินจริง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน 

สำหรับประเทศไทย ก.ล.ต. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างตลาดทุนไทยมีความยั่งยืน จึงกำหนดให้ภาคธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งด้านการเงิน และการดำเนินการที่สอดคล้องกับแนวคิดเพื่อความยั่งยืนทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งรวมไว้ในแบบรายงานฉบับเดียว (56-1 One Report) หรือ “One Report” 

นับว่าสอดคล้องกับมาตรฐาน IFRS ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งในส่วนของนโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนการจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ดังนั้น การรายงาน One Report รวมถึงตามมาตรฐานสากลในการรายการข้อมูล IFRS ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับภาคธุรกิจในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ และการรายข้อมูลก๊าซเรือนกระจก 

นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว (Green Finance)1 เสริมสร้างความเชื่อต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ 

รวมทั้งช่วยเสริมการดำเนินงานด้านความยั่งยืน อันจะนำพาประเทศเปลี่ยนผ่านสู่ “เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ” ที่สอดคล้องกับบริบทสากลอีกด้วย
                                                                                                                                                         ******************************
เอกสารอ้างอิง
1. How megatrends can impact the global investment landscape | World Economic Forum (weforum.org)
https://www.weforum.org/agenda/2023/01/megatrends-and-their-impact-on-global-investing-davos23/ 
2. IFRS - IFRS S2 Climate-related Disclosures
https://www.ifrs.org/issued-standards/ifrs-sustainability-standards-navigator/ifrs-s2-climate-related-disclosures/#:~:text=IFRS%20S2%20requires%20an%20entity%20to%20disclose%20information,reasonably%20be%20expected%20to%20affect%20the%20entity%E2%80%99s%20prospects%E2%80%99%29.  

หมายเหตุ: * แหล่งเงินทุนสีเขียว (Green Finance) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ให้ความหมายไว้ว่าคือ การเพิ่มกระแสการเงิน ไม่ว่าจะจากธนาคาร การให้สินเชื่อ การประกันภัย และการลงทุน ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน ให้ไหลไปสู่กิจกรรมของโลกธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีจุดสำคัญอยู่ที่การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมให้ดีขึ้น คว้าโอกาสในการ “ให้ผลตอบแทน” และ “ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม” ไปพร้อมๆ กัน นำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น

 

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...