‘เศรษฐา’ หารือผู้บริหาร ‘MUFG Bank’ สนปล่อยกู้ ‘โครงการแลนด์บริดจ์’ ให้ไทย

 

    

วันที่ (15 ธันวาคม 2566) ณ โรงแรมอิมพีเรียลโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พบหารือกับผู้บริหารภาคเอกชนรายสำคัญของญี่ปุ่น

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายจุนอิจิ ฮันซาวะ (Mr. Junichi Hanzawa) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MUFG Bank จำกัด และนายเคนอิจิ ยามาโตะ (Mr. Kenichi Yamato) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้หารือกับนายกรัฐมนตรี โดยให้ความสนใจที่จะขยายการลงทุน ทำการจับคู่ธุรกิจ (business matching) และเป็นแหล่งทุนให้กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (mega project) เช่นโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ (Landbridge) เป็นต้น

นอกจากนั้นยังหารือกับอีก 3 บริษัทได้แก่

  1. บริษัท Regional Fish Institute, Ltd. เป็น start up ด้านการพัฒนาสายพันธุ์ปลา ผ่านการทำ gene editing ปัจจุบันร่วมมือกับบริษัทไทยเริ่มทำการวิจัยแล้ว และสนใจจะใช้ไทยเป็น Regional Headquarter
  2. บริษัท Maruha Nichiro บริษัทผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารสัตว์และอาหารแปรรูปชั้นนำของโลก เป็นบริษัทแม่ของ King Fisher มีแผนที่จะขยายการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง
  3. บริษัท Medical Care Service บริษัทบ้านพักคนชราที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เน้นผู้ป่วยที่มีรายได้ระดับกลางและมีความเชี่ยวชาญ กับผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม (dementia)

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์นั้น มีมูลค่าการลงทุนถึงประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยการลงทุนจะเป็นรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรัฐ (PPP) ประกอบไปด้วยการลงทุน 4 ระยะ ครอบคลุมโครงการท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร และระนอง มอเตอร์เวย์ ท่อขนส่งน้ำมัน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน รองรับการขนส่งสินค้าจากทางเรือจากท่าเรือ 2 ฝั่ง

โดยการลงทุนในแต่ละเฟสของโครงการมีมูลค่าดังนี้

  1. ระยะที่ 1 มีการลงทุน 6.09 แสนล้านบาท
  2. ระยะที่ 2 มีการลงทุนใช้เงินลงทุน 1.647 แสนล้านบาท
  3. ระยะที่ 3 มีการลงทุนวงเงิน 2.28 แสนล้านบาท 
  4. การลงทุนในระยะที่ 4 ใช้เงินลงทุนประมาณ 8.51 หมื่นล้านบาท

สำหรับระยะเวลาการขับเคลื่อนโครงการนี้หลังจากที่ ครม.เห็นชอบให้เดินหน้าโครงการแล้วรัฐบาลจะเริ่มจาก โรดโชว์ลงทุนโครงการนี้ในต่างประเทศตั้งแต่เดือน พ.ย.2566 จนถึงเดือนม.ค.2567 จากนั้นรัฐบาลจะเร่งรัดในเรื่องของการทำกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ การร่างพ.ร.บ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ....

เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคใต้ (SEC) ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์จะอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ซึ่งเมื่อกฎหมายแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.2567 จะมีการตั้งสำนักงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการนี้

หลังจากนั้นขั้นตอนการเวนคืนที่ดินโดยจะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน (พ.ร.ฎ.) ในโครงการจะเริ่มในเดือน ม.ค.68 -ธ.ค.69

เมื่อกฎหมายและการตั้งสำนักงานเสร็จแล้ว รัฐบาลจะเริ่มเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอการลงทุนจากเอกชนทั่วโลกในเดือน เม.ย.- มิ.ย. 2568 จากนั้นจะเสนอ ครม.เห็นชอบรายชื่อผู้ชนะการประมูลในโครงการภายในเดือน ส.ค.2568

และให้เอกชนที่ชนะการประมูลเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ก.ย.2568 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี และคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในเดือน ต.ค.2573

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...