‘เศรษฐา’ พาผู้บริหารค่ายรถ ‘ฮอนด้า’ - ‘โตโยต้า’ ร่วมทีมโรดโชว์ญี่ปุ่น

วันนี้ (14 ธันวาคม 2566) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 (บน.6) เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 (บน.6)

ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทรถยนต์ที่จะไปพบในครั้งนี้ นักธุรกิจที่จะร่วมเดินทางไปพูดคุยเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่น โดยเดินทางไปเอง ได้แก่ นายพรวุฒิ สารสิน ประธาน บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจะไปช่วยเจรจาให้ และนายกลินท์ สารสิน ประธานบริษัท โตโยต้า ที่จะเดินทางไปด้วย และยังมีอีกหลายท่านที่จะไปช่วยเจรจาเพื่อนำผลประโยชน์กลับมาสู่ประเทศ

เตรียมพบ 8 ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น 

โดยภารกิจแรกจะมีขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.66 นายกฯ พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น  พร้อมกล่าวปาฐกถาในงาน Thailand-Japan Investment Forum จากนั้นนายกฯ พบหารือบริษัทเอกชนรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น 8 บริษัท อาทิ บริษัท Toyota Motor Corporation  , บริษัท Honda Motor  จำกัด  บริษัท Suzuki, บริษัท Nissan ,บริษัท Mitsubishi ,บริษัท Mitsui, บริษัท Isuzu และบริษัท Kubota เป็นต้น

โดยนายกรัฐมนตรีตอบคำถามถึงความคาดหวัง ในการเดินทางครั้งนี้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนสูงสุดในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา จึงจะมีการพูดคุยเพื่อให้การค้าการลงทุนเข้มแข็งมากขึ้น และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งสองประเทศสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งทางการค้าและการลงทุน

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า จะมีการพบปะกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และรับประทานอาหารค่ำส่วนตัว กับ เจ้าชายอับดุล มาร์ติน แห่งบรูไน ซึ่งกำลังจะเข้าพิธีอภิเษกสมรสด้วย

โดยการเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น (The Commemorative Summit for the 50th Year of ASEAN-Japan Friendship and Cooperation) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 14-18 ธันวาคม 2566

โดยในการประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสในการฉลองวาระ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งมีการเริ่มอย่างไม่เป็นทางการในปี 2516 และในปีนี้เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น และมีการประกาศตราสัญลักษณ์ทางการและคำขวัญ “Golden Friendship, Golden Opportunities”

รวมทั้งการเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งแรก จึงมีเรื่องต้องพูดคุยกับหลายภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็ทรอนิกส์ โดยในส่วนของบริษัทยานยนต์จะหารือ และสนับสนุนให้มีการลงทุนเพิ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งยานยนต์อีวี ส่วนบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ที่จะพบเช่น บริษัท Panasonic ส่วนการพูดคุยกับนักธุรกิจในส่วนของการพูดคุยกับนักธุรกิจรายใหญ่อีกหลายราย

นอกจากกรอบการประชุมฯ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้แสดงวิสัยทัศน์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศไทย และเป็นประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค นายกรัฐมนตรีตั้งใจจะใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดจากโอกาสการพบปะกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายคิชิดะ ฟูมิโอะ (H.E. Mr. Kishida Fumio) ในส่วนของทางเศรษฐกิจ เชิญชวนญี่ปุ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคและไทย โดยเฉพาะการเติบโต สีเขียว การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและดิจิทัล

 รวมถึงประชาสัมพันธ์นโยบายและโครงการสำคัญของไทย เช่น Landbridge การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และ soft power รวมทั้งในทางการเมือง โน้มน้าวให้ญี่ปุ่นเพิ่มบทบาทเชิงสร้างสรรค์กับอาเซียนเพื่อลดความขัดแย้ง ลดการเผชิญหน้า และร่วมกันส่งเสริมสภาพแวดล้อม ที่สงบ สันติมีเสถียรภาพ ซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ 

เปิดกำหนดการนายกฯ เยือนญี่ปุ่น

ส่วนภารกิจแรกจะมีขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.66 นายกฯ พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น  พร้อมกล่าวปาฐกถาในงาน Thailand-Japan Investment Forum จากนั้นนายกฯ พบหารือบริษัทเอกชนรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น 8 บริษัท อาทิ บริษัท Toyota Motor Corporation  , บริษัท Honda Motor  จำกัด  บริษัท Suzuki, บริษัท Nissan ,บริษัท Mitsubishi ,บริษัท Mitsui, บริษัท Isuzu และบริษัท Kubota เป็นต้น

ขณะที่วันที่ 16 ธ.ค.66 นายกฯ พบหารือกับประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ก่อนที่ช่วงค่ำ ที่พัก นายกฯ เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ โดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและภริยา เป็นเจ้าภาพ ต่อมาวันที่ 17 ธ.ค.66 นายกฯ พบหารือทวิภาคีกับนายกฯ ญี่ปุ่น จากนั้นในช่วงเย็น นายกฯ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50  ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น (The Commemorative Summit for the 50th Year of ASEAN-Japan Friendship and Cooperation) โดยนายกฯ จะกล่าวถ้อยแถลง และร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ และจะร่วมประชุมหารือโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างทะเลอ่าวไทย และอันดามัน ในวันที่ 18 ธ.ค.66

ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายวันที่ 18 ธ.ค.66 นายกฯ มีกำหนดการเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินี แห่งญี่ปุ่น ที่พระราชวังอิมพีเรียล ก่อนเดินกลับช่วงดึกคืนวันที่ 18 ธ.ค.66 นี้

 

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...