“เทคโนโลยีลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ขับเคลื่อนธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวในงานเวที “เสวนา Sustainable Executive Forum ความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ พร้อมแนะภาคธุรกิจไทยปรับตัวเพื่อความยั่งยืน” จัดโดย RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ว่า การที่จะลดคาร์บอน หรือก๊าซเรือนกระจกนั้น องค์กรจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยเฉพาะการหาเทคโนโลยีมาดิสรัปชัน ด้วยการทำการจัดเก็บคาร์บอนในอากาศ ให้กลายมาเป็นคาร์บอนเหลว และกักเก็บลงใต้พื้นดิน รวมถึงตรวจวัดการปล่อยคาร์บอน เพื่อให้รู้ว่าปล่อยไปเท่าไร และจะต้องหามาชดเชยเท่าไร ผ่านโปรเจกต์ Northern Lights เป็นความพยายามร่วมกันของรัฐบาลนอร์เวย์ และบริษัทพลังงาน Equinor, Shell และ Total ซึ่งแต่ละโครงการมีรากฐานที่หยั่งรากลึกในการทำงานร่วมกับ ไมโครซอฟท์

“ความร่วมมือดังกล่าวกำลังพยายามสร้างมาตรฐานและปรับขนาดการดักจับและจัดเก็บคาร์บอนหรือ CCS:Carbon capture and storage(CCS)ทั่วยุโรป และใช้พลังงานสะอาดเพื่อเป็นแหล่งพลังงานใน Data centerในปี 2568 อีกด้วย”

ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals :SDGs  คือการให้ความสำคัญในด้านพลังงาน ด้านน้ำ และด้านการปล่อยของเสีย เป็นอย่างมาก แน่นอนว่าต่อไปองค์กรจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบหรือ วิกฤติสภาพอากาศ เพราะเราอยู่ใน Ecosystemเดียวกัน

ดังนั้นการทำธุรกิจจะต้องคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

สำหรับแนวทางการทำธุรกิจในรูปแบบ ความยั่งยืนของไมโครซอฟท์ มองเรื่องผลประโยชน์มากกว่า โดยความยั่งยืนนั้นไม่ใช่การทำสังคมสงเคราะห์ ไมโครซอฟท์จึงมีการทำระบบข้อมูลผ่านมาตรการ 5R คือRecord , Report, Reduce, Remove, Replace ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะให้สามารถรู้สถานะคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของตนเอง และปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนได้ตรงตามเป้าหมาย

สำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับการลดคาร์บอน องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้รวบรวมเทคโนโลยีเพื่อลดคาร์บอนไว้ 3 ส่วนคือ เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน (17 เทคโนโลยี) เช่น  พลังงานทดแทนและการจัดการของเสีย ,เทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (19 เทคโนโลยี) เช่น CSTR (Continuous Stirred Tank Reactor) ,Dry Fermentation และเทคโนโลยีส่วนเสริม(4 เทคโนโลยี) เช่น การกักเก็บพลังงานทางด้านเคมี (Chemical Energy Storage) ได้แก่ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ,แบตเตอรี่ลิเทียมซัลเฟอร์,รีดอกซ์แบตเตอรี่ , เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานแบบฟลายวีล (Flywheel Energy Storage) เป็นต้น 

เทคโนโลยีต่างๆ จะมีส่วนช่วยภาคธุรกิจเข้าใกล้เป้าหมายลดคาร์บอนได้ง่าย และเร็วขึ้นแต่ก่อนจะถึงจุดนั้นการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นการปรับตัวก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน

 

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า หากภาคธุรกิจยังไม่เร่งปรับตัวจะได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะ วิกฤติสภาพภูมิอากาศ ส่งผลมาถึงระบบซัพพลายเชน ถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นน้ำทะเลจะหนุนสูงทำให้น้ำท่วมจนหลายๆ พื้นที่อาจจะหายไปในอนาคตอย่างกรุงเทพฯ เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น ส่งผลให้หลายประเทศ เริ่มที่จะออกมาตรการเพื่อทำการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น  EU (สหภาพยุโรป)ที่เริ่มมีการออกมาตรการ CBEM : Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรปทำให้ หลายๆ บริษัทฝั่งยุโรป และสหรัฐเริ่มมีการตื่นตัว และกำหนดให้การปล่อยคาร์บอนเป็นหนึ่งในข้อตกลงที่จะทำการค้า

"การค้าการลงทุนนับจากนี้จะต้องดำเนินการตามมาตรการลดอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ภาคธุรกิจปฏิเสธที่จะไม่ทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของโลกใบนี้ไม่ได้อีกแล้ว"

การเข้าใกล้เป้าหมายเป็นสิ่งที่จำเป็น และอาจจะจำเป็นมากกว่าการเข้าถึงเป้าหมายแล้ว เพราะระหว่างทางการทำงานไม่ว่าจะเรื่องใดองค์ประกอบ และเครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญอย่างเทคโนโลยีกับเป้าหมายการความเป็นกลางทางคาร์บอนสูงสุดคือ คาร์บอนเป็นศูนย์

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...